สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คู่มือ รับสถานการณ์น้ำท่วม

คู่มือ!รับสถานการณ์น้ำท่วม


 

- สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นราย ๆ ไป

ข้อมูลจาก <http://www.cendru.net>


 

ย้อนรอย! 11ครั้งน้ำท่วมกทม.ใยปีนี้ถึงเสี่ยงซ้ำปี 2538

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ย้อนรอยน้ำท่วมใหญ่กทม. 11ครั้ง มองสถานการณ์วันนี้ ปรากฎการณ์คล้ายท่วมใหญ่ ปี 2538 โดนทั้งพายุและน้ำเหนือทะลักเข้ามา
"กรุงเทพ น้ำจะท่วมไหม๊?" เป็นคำถามที่เชื่อว่าคนเมืองหลวงต้องการให้ตอบว่า"ไม่"...แต่หากประเมินจากปัจจัยแวดล้อมรอบด้านแล้วต้องยอมรับสภาพความจริงว่า"เสี่ยงจะท่วมหนัก"

ที่สำคัญเมื่อคนระดับนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถึงกับออกทีวีพูล ประกาศออกมาชัดเจนเลยว่ากทม.มีโอกาสที่จะท่วม ระดับรุนแรงเทียบปี 2538 ....ได้ยินเช่นนี้แล้วต้องเตือนประชาชนชาวเมืองหลวงไว้เลยว่าต้องเตรียมพร้อมกันแล้ว

เพราะในปี 2538 นั้นถือเป็นระดับรุนแรงครั้งหนึ่ง จากน้ำท่วมใหญ่กทม. 11 ครั้งที่ผ่านมา ความหวังจึงอยู่ที่แผนรับมือ..ของกทม.ที่ทำงานอย่างหนักอยู่ในวันนี้ว่า จะสามารถบรรเทาได้มากน้อยแค่ไหน

หากย้อนรอยเหตุน้ำท่วมกรุงที่ผ่านมา นับจากกทม.เป็นเมืองหลวง จะพบว่าสาเหตุที่กรุงเทพฯ ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากมาโดยตลอดนั้น มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ราบลุ่มตอนปลายอ่าวไทย และเพราะความเจริญเติบโตของเมือง จึงมีการพัฒนาพื้นที่จากที่เคยเป็นบึง สระ คลอง ได้ถูกถมเปลี่ยนสภาพเป็นอาคารบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ จึงทำให้ระบายน้ำได้ยากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุที่สำคัญคือ น้ำฝนที่ตกลงมาในปริมาณที่มากเกินไป น้ำเหนือไหลหลาก น้ำทะเลหนุน และแผ่นดินทรุดตัว จึงกล่าวได้ว่า ฝนตกน้ำท่วมอยู่คู่กับกรุงเทพฯ มานานแล้ว โดยสรุปเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งสำคัญในกรุงเทพฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ผ่านมาได้ดังต่อไปนี้....

พ.ศ.2485

ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ เนื่องจากฝนตกหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงมาก ไหลล้นคันกั้นน้ำทั้งสองฝั่งแม่น้ำตลอดแนว โดยวัดระดับน้ำท่วมที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ 2.27 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งถือว่าเป็นน้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ก่อนที่จะมี การก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่คือ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์

พ.ศ.2518

เนื่องจากพายุดีเปรสชั่นพาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน เป็นเหตุให้น้ำไหลล้นเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร

พ.ศ.2521

เกิดจากพายุ 2 ลูก คือ "เบส" และ "คิท" พาดผ่านพื้นที่ตอนบนลุ่มน้ำปริมาณสูง ขณะเดียวกันมีปริมาณน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร

พ.ศ.2523

เกิดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ 2.00 เมตร ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วง 4 วัน สูงถึง 200 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง

พ.ศ.2526

น้ำท่วมในปีนี้มีสภาพรุนแรงมาก เนื่องจากมีพายุพัดผ่านภาคเหนือและภาคกลางในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ประกอบกับมีพายุหลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนตุลาคม โดยวัดปริมาณฝนตลอดทั้งปีได้ 2119 มม. ซึ่งสูงกว่าค่าฝนเกณฑ์เฉลี่ยมาก(ฝนเกณฑ์เฉลี่ยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปริมาณ 1,200 มม.) เป็นผลให้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นเวลานานที่สุดถึง 4 เดือน ซึ่งได้ประเมินความเสียหายสูงถึง 6,598 ล้านบาท

พ.ศ.2529

ได้เกิดฝนตกหนักมากและตกติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 8 - 10 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากได้มีพายุจรนำฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีฝนตก 254 มม. ที่กรมอุตุนิยมวิทยา(บางกะปิ) และ 273 มม. ที่เขตราษฎร์บูรณะ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นที่ถนนวิภาวดีตั้งแต่ช่วงสะพานลอยเกษตรเข้าไป ย่านถนนสุขุมวิท ย่านรามคำแหง ย่านบางนา ทำให้การจราจรติดขัดมาก แต่ไม่อยู่ในช่วงน้ำทะเลหนุน ทำให้การระบายน้ำออกจากพื้นที่เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาประมาณ 2 วัน นับจากฝนหยุดตก

พ.ศ.2533

เนื่องจากในเดือนตุลาคมพายุโซนร้อน "อีรา" และ "โลล่า" พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางจังหวัดบุรีรัมย์, สุรินทร์ ทางภาคตะวันออกและภาคกลาง ทำให้ฝนตกหนักที่กรุงเทพมหานครถึง 617 มม. ซึ่งวัดที่ สน.บางชัน โดยปริมาณฝนตกหนักอยู่บริเวณด้านคันกั้นน้ำตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ทำให้น้ำท่วมขังสูงมากประมาณ 30-60 ซม. ซึ่งทำความเสียหายแก่ประชาชน บริเวณเขตมีนบุรี, หนองจอก, บางเขน, ดอนเมือง, บางกะปิ, พระโขนง, ลาดกระบัง, ลาดพร้าว, บึงกุ่มและปริมณฑลโดยน้ำท่วมขังเป็นเวลานานประมาณเดือนครึ่ง ซึ่งส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายประมาณ 177 ล้านบาท

พ.ศ.2537

ได้เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเมื่อวันที่ 7 และ 8 พฤษภาคม 2537 วัดปริมาณฝนได้มากที่สุด คือ เขตยานนาวาได้ 457.6 มม. โดยเฉลี่ยในทั่วเขตกรุงเทพฯ มีปริมาณน้ำฝน 200 มม. มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกได้ว่าเป็น "ฝนพันปี" ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันที่บริเวณถนนจันทร์ เขตยานนาวา ถนนพหลโยธินตั้งแต่ย่านสะพานควาย ถนนประดิพัทธิ์ สวนจตุจักรถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซอยสุทธิสารตลอดทั้งซอย ถนนวิภาวดีรังสิตและรัชดาภิเษก ถนนลาดพร้าว ถนนสุขุมวิทตั้งแต่ย่านพระโขนงจนถึงอำเภอสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ถนนสาธรเฉพาะซอยเซ็นต์หลุยส์ มีน้ำท่วมขังมากที่สุดประมาณ 50 ซม. ผลจากน้ำท่วมขังอย่างหนักในครั้งนี้ ส่งผลให้จราจรในกรุงเทพมหานครเกือบทั้งเมืองเป็นอัมพาตไปทันทีและทำให้เกิดไฟฟ้าดับหลายจุด สร้างความเดือดร้อนไปทั่วกรุงเทพมหานคร

 พ.ศ.2538

ในช่วงที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ยังเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร น้ำเหนือหลากท่วมอยุธยา ปทุมธานี หมู่บ้าน white house ตอนเหนือของกรุงเทพฯ น้ำท่วมร่วม 2 เดือน

ทั้งนี้มีฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และมีสภาพฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากพายุ "โอลิส" ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 มีค่าระดับสูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง 50 - 100 ซ.ม บริเวณถนนจรัลสนิทวงศ์ เขตบางพลัด บางกอกน้อย และถนนเจริญกรุง เขตคลองสาน รวมระยะเวลาน้ำท่วมประมาณ 2 เดือน สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนและสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก สภาพน้ำท่วมที่เกิดขึ้นกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการวัดระดับน้ำสูงสุด เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2538 ไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายที่ฝั่งพระนคร ตามถนน 22 สาย รวม 69 จุดและฝั่งธนบุรี ตามถนน 11 สาย รวม 105 จุด ปี พ.ศ. 2538 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กรุงเทพฯ ประสบกับน้ำท่วม

พ.ศ.2539

มีฝนตกหนักในภาคเหนือและภาคกลางทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณมาก ทำให้ระดับน้ำสูงล้นแนวป้องกันน้ำท่วมเข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำฝั่งธนบุรี บริเวณถนนจรัลสนิทวงศ์ ถนนเจริญนคร ฝั่งพระนคร บริเวณถนนสามเสนถนนพระอาทิตย์ โดยมีระยะเวลาท่วมขังตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน -ธันวาคม 2539 ตั้งแต่หลังปี 2539 เป็นต้นมา ยังไม่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในเขตกรุงเทพมหานคร มีเพียงน้ำท่วมขังในเวลาไม่นานก็ระบายออกได้สู่ภาวะปกติ

พ.ศ.2541

น้ำท่วมเกิดจากฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร วัดน้ำฝนได้สูงสุดที่สถานีดับเพลิงพญาไท 2541 มม. จุดที่น้ำในถนนแห้งช้าที่สุดที่ถนนประชาสงเคราะห์(จากแยกดินแดงยาวตลอดสาย) เขตดินแดงท่วมสูง 20 ซม. นาน 19 ชม. โดยท่วมสูงสุดที่ถนนเพลินจิต และถนนราชดำริ เขตปทุมวัน ท่วมสูง 20 - 40 ซม. นาน 11 ชม.


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : คู่มือ!รับสถานการณ์น้ำท่วม

view