จากประชาชาติธุรกิจ
ผึ้งหยดเดียว กำลังจะสร้างปมปัญหาให้เพื่อไทย เมื่อ จตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำเสื้อแดง สมาชิกพรรค ประกาศศึกกับฝ่ายตุลาการ ขับเคลื่อน 2 ทางทั้งใน-ต่างประเทศ หวังผล 2 ด้าน ทั้งในระบบศาลไทยและศาลโลก
คนเสื้อแดงทั้ง "ธิดา ถาวรเศรษฐ" ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และ "น.พ.เหวง โตจิราการ" ส.ส.บัญชี
รายชื่อพรรคเพื่อไทย ไปส่งสัญญาณความพร่องของฝ่ายตุลาการไทยในศาลอาญาระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
โดยมี "โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม" ทนายความของ นปช.เป็นตัวเดินเรื่อง "ข้อเท็จจริงกรณีการเสียชีวิตของคน
เสื้อแดง" และประชาชนคนไทย รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐทั้ง 98 ศพ ในเหตุการณ์พฤษภาคมปี 2553
ขับ เคลื่อนพร้อม ๆ กับคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรที่ "สุนัย จุลพงศธร" ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยเป็นประธานกรรมาธิการและคณะ ใช้ช่วงเวลาปิดสมัยประชุมสภาร่วมเดินทางไปตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายนด้วย
เบื้อง หลังการไปเหยียบตีนบันไดศาลถึงกรุงเฮก มีเป้าประสงค์เพื่อเทียบเชิญตัวแทนศาลให้บินข้ามทวีปมาสัมมนา-ถกรายละเอียด การเข้าเป็นภาคีธรรมนูญ
กรุงโรมว่าด้วยการก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศถึงเมืองไทย
หลังจากไทยได้ลงนามสนับสนุนธรรมนูญกรุงโรม ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2543 ในยุครัฐบาลชวน 2
ขาด เพียงการให้คำ "สัตยาบัน" ยอมรับตามบทบัญญัติของอนุสัญญาดังกล่าวข้อที่ 126 ที่ระบุว่า "การมีผลบังคับใช้ของอนุสัญญาแก่รัฐนั้น รัฐสามารถแสดงเจตนาเข้าผูกพันพันธกรณีของอนุสัญญาได้ด้วยการให้สัตยาบัน หรือให้ความยอมรับ หรือให้ความเห็นชอบหรือภาคยานุวัติ" เท่านั้น ก็จะทำให้ไทยเป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศโดยสมบูรณ์
ช่วงเวลาครบ รอบ 2 ปี เหตุสลายการชุมนุมแยกราชประสงค์ ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2555 ในหมู่คนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทย ได้สนทนาถึงการนำตัว "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี และ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" ส.ส.สุราษฎร์ธานี ในฐานะ ผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ขึ้นดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ หลังไทยประกาศ "สัตยาบัน" เป็นภาคีในธรรมนูญกรุงโรม
แต่ "สุนัย" ชี้แจงว่า ระหว่างการให้ไทยเป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศ กับให้ "อภิสิทธิ์" และ "สุเทพ" ขึ้นศาลไม่เกี่ยวข้องกัน
"การไปเชิญตัวแทนศาลมาสัมมนาในประเทศไทย เพื่อเผยแพร่การเข้าร่วมการเป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศให้กับประชาชนได้รับทราบ"
"เรื่อง การประกาศสัตยาบันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การเอาคนผิดขึ้นศาลก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะการผลักดันให้ไทยเข้าเป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นเรื่องใหญ่ กว่า"
"ต้องทำให้ประชาชนเห็นว่าการเป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศ ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่เป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้จะไม่มีการฆ่าประชาชนได้อีก"
ดังนั้น ในการประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปที่จะเปิดฉากในเดือนสิงหาคม งานที่พรรคเพื่อไทยจะดำเนินการถัดจากวาระร้อนอย่างรับมืออภิปรายไม่ไว้วางใจ ฝ่ายค้าน-โหวตรัฐธรรมนูญวาระ 3-การพิจารณา พ.ร.บ.ปรองดองฯ ในวาระที่ 1 ก็คือให้ ครม.ออกมติส่ง "อภิสิทธิ์" และ "สุเทพ" ขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ
"น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์" ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะสมาชิกเสียงข้างใน กมธ.กลับเชื่อว่า "ไม่มีทางทำได้"
ก่อนหน้านี้ "สุเทพ" ถาม "ดร.คณิต ณ นคร" ว่า "การที่เขาจะเอาคดีที่เกิดขึ้นไปฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศทำได้ไหม"
ซึ่ง "ดร.คณิต" พูดตอบเชิงหลักการเพียงสอง-สามประโยค จากนั้น "สมชาย หอมลออ" กรรมการ คอป.ได้ชี้แจงแทนว่า "เวลานี้ไทยยังไม่ได้ประกาศสัตยาบันต่อภาคีธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญา ระหว่างประเทศ ไทยแค่ยอมรับในหลักการของตัวธรรมนูญเท่านั้น หากหลังจากนี้ไทยประกาศสัตยาบัน ก็จะไม่มีผลย้อนหลังไปดำเนินคดีที่เกิดขึ้นก่อนการประกาศสัตยาบันได้"
"เทียบ กับกรณีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศกัมพูชา คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมาดำเนินการเรื่องนี้ไปศาลโลกได้ เพราะกลไกกระบวนการในประเทศมันเดินไปไม่ได้ แต่การดำเนินการของคณะมนตรีความมั่นคงจะเข้าแทรกแซงได้ต่อเมื่อเป็นมติของ สมาชิกสหประชาชาติ และในแต่ละกรณีจะต้องมีความรุนแรงมาก ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคเท่านั้นถึงจะลงมาทำเรื่องนี้ได้ แต่เรื่องที่จำกัดเฉพาะในประเทศคณะมนตรีความมั่นคงจะไม่เข้ามาแทรกแซง"
"สม ชาย" กล่าวถึงกรณีที่คนเสื้อแดงเดินทางไปชี้แจงกรณี 91 ศพ ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศให้ "สุเทพ" ฟังว่า "ทั้งเรื่องปราบปรามยาเสพติด พฤษภาทมิฬ ปี 2353 หรือพฤษภา 2553 มันไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลโลก"
ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงที่ถูกบันทึกหลังความวุ่นวาย และควันไฟสงบลงในวันที่ 20 พฤษภาคม 2553 คือการจับกุมดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม
ตามข้อมูลของกรมสอบสวนคดีพิเศษบันทึกไว้ว่า มีคดีที่รับไว้สอบสวนเป็นคดีพิเศษทั้งสิ้น 261 คดี แบ่งเป็น 4 กลุ่ม
1.คดี ก่อการร้าย (เหตุต่าง ๆ อาทิ วางเพลิง) 148 คดี 2.การขู่บังคับให้รัฐบาลกระทำการใด ๆ 22 คดี 3.การทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ 71 คดี และ 4.การกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของราชการ 60 คดี มีผู้ต้องหา 640 คน จับกุมได้ 290 คน หลบหนี 358 คน (เสียชีวิตแล้ว 2 คน)
ขณะเดียวกัน สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย และหน่วยงานสิทธิมนุษย์อื่น ๆ ก็มีการทยอยช่วยเหลือคนเสื้อแดงที่ยังอยู่ในห้องขังเป็นระยะ ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน มีการปล่อยตัวผู้ต้องขังจาก จ.มุกดาหาร ที่ย้ายมาอยู่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่
ทั้งสิ้น 13 คน ซึ่งเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับการวางเพลิง
อย่าง ไรก็ตาม ขณะนี้ยังเหลือคนเสื้อแดงที่ยังอยู่ในเรือนจำประมาณ 40 ราย อาทิ มหาสารคาม 9 ราย อุบลราชธานี 4 ราย อุดรธานี 5 ราย กทม. 19 ราย ศาลทหาร 1
ขณะ ที่แกนนำเสื้อแดงนำโดย "ธิดา ถาวรเศรษฐ" เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการเสียชีวิตของคนเสื้อแดงและประชาชนคนไทย รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐทั้ง 98 ศพ ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ
พรรคเพื่อไทยใช้กลไก กมธ.
การ ต่างประเทศ เดินหน้าให้ไทยประกาศสัตยาบันเป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่างประเทศ พร้อมกับดันเรื่องให้ ครม.ยิ่งลักษณ์ออกมติ ส่งตัวคนที่อยู่
เบื้องหลังการสั่งสลายการชุมนุม พฤษภาคม 2553 ขึ้นพิจารณาดำเนินคดี ณ กรุงเฮก
สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน