สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การดำเนินกลยุทธ์อย่างรวดเร็ว-บทบาทของ HR

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์

โดย จอห์น ไดโดมินิก บรษัทที่ปรึกษา APM Group


การ ดำเนินกลยุทธ์อย่างรวดเร็ว เป็นความท้าทายอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารในยุคปัจจุบันต้องเผชิญ การมีกลยุทธ์ที่ดีอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะการที่องค์กรจะประสบความสำเร็จได้ จะต้องสามารถแปลงกลยุทธ์ที่ดีมาสู่ผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล อีกทั้งยังต้องเร็วกว่าคู่แข่งด้วย

ข้อมูลจากหน่วยงานและการศึกษา จำนวนมากแสดงให้เห็นว่า การขาดกลยุทธ์ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ผู้บริหารต้องโหมทำงานหนักจนไม่ได้พัก ผ่อน แต่เป็นผลจากการที่องค์กรขาดความสามารถในการนำกลยุทธ์มาใช้ปฏิบัติ

นอก จากนี้แล้วในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เกือบ 40% ของผู้บริหารระดับสูงต้องหลุดโผไปจากตำแหน่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะพวกเขาไม่สามารถนำกลยุทธ์มาปฏิบัติได้

การ ดำเนินกลยุทธ์จึงเป็นงานที่คาบเกี่ยวหลายมิติ เพราะเป็นการเชื่อมโยงกลยุทธ์ธุรกิจเข้ากับหน่วยงานภายในและภายนอกด้วยการ ปรับกระบวนการดำเนินธุรกิจที่สำคัญ อันได้แก่ กลยุทธ์, การปฏิบัติงาน และบุคลากรให้สอดคล้องกัน การสร้างความสอดคล้องระหว่างกลยุทธ์และการปฏิบัติงาน เป็นงานที่ไม่ซับซ้อน และสามารถลงมือทำได้อย่างค่อนข้างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม การปรับบุคลากรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์เป็นงานที่มักดำเนินไปอย่างช้า ๆ และต้องใช้ตรรกะอีกชุดหนึ่ง ความสำเร็จและความรวดเร็วในการดำเนินกลยุทธ์ขึ้นอยู่กับบุคลากร ซึ่งมักเป็นองค์ประกอบที่ยากที่สุดที่จะปรับให้สอดคล้องกับกลยุทธ์

ด้วย เหตุนี้ HR จึงมีส่วนสำคัญที่จะก่อให้เกิดผลกระทบได้อย่างแท้จริง และการดำเนินกลยุทธ์มักประสบความล้มเหลว เนื่องจากผู้นำไม่มุ่งเน้นไปที่การปรับบุคลากรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และ กระบวนการ ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญ

คำถามสำคัญที่สุดที่ซีอีโอกำลัง เผชิญอยู่ในทุกวันนี้ ได้แก่ ก) จะทราบได้อย่างไรว่าองค์กรสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว ข) จะสร้างความสอดคล้องที่ต้องการได้อย่างไร ค) จะรักษาความสอดคล้องตามที่ต้องการได้อย่างไร HR อยู่ในตำแหน่งที่มีมุมมองเชิงองค์กรในแง่ของบุคลากร ซึ่งเข้าใจถึงบุคลากรในทุกตำแหน่ง หน่วยงาน และบริบท

ดังนั้น HR จึงเหมาะที่จะเป็นผู้ตอบคำถามสำคัญให้แก่องค์กร ในเรื่องความสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันของบุคลากร

"กระบวน การเกี่ยวกับบุคลากรมีความสำคัญมากกว่ากลยุทธ์ หรือกระบวนการปฏิบัติงาน เพราะบุคลากรเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตลาด สร้างกลยุทธ์ตามผลการตัดสิน และแปลกลยุทธ์มาสู่การปฏิบัติจริง หากไม่ปรับบุคลากรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์แล้ว จะไม่สามารถเติมเต็มศักยภาพของธุรกิจได้จาก Larry Bossidy and Ram Charan in Execution.

องค์กรจะทราบได้อย่างไรว่า ทุนบุคลากรของตนสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ การวัดผลการดำเนินกลยุทธ์ผ่านโครงการริเริ่มต่าง ๆ เช่น การวัดผลแบบ Balanced Scorecard และการใช้แผนที่กลยุทธ์ (Strategy Maps) มีความซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน อย่างไรก็ตาม โครงการริเริ่มเหล่านี้ไม่ครอบคลุมถึงการวัดความสอดคล้องของบุคลากร การวัดผลที่มีประสิทธิผลจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร และวิธีการวัดผลทั้งหมดจะต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน

เพื่อให้ เกิดความสอดคล้อง เครื่องมือการวินิจฉัยองค์กรที่มีประสิทธิผลจะต้องวัดผล และตรวจสอบความสอดคล้องของบุคลากรกับกลยุทธ์ และแสดงให้เห็นว่าองค์กร แผนก หรือหน่วยงานส่งเสริมกลยุทธ์ได้ในระดับใด และหากไม่เป็นเช่นนั้น จะต้องเผยให้เห็นถึงสาเหตุได้ จากนั้นจึงค่อยก้าวสู่ขั้นตอนการดำเนินกลยุทธ์ที่เหมาะสม

การวัดความสอดคล้องของบุคลากร ไม่มีทางไหนที่จะส่งเสริมกลยุทธ์ขององค์กรได้ดีไปกว่าการสร้างเครื่องมือวัด ผลที่เผยให้เห็นว่า องค์กรประสบความสำเร็จในการดำเนินกลยุทธ์หรือไม่ การวิจัยที่จัดทำโดย HRI เผยให้เห็นถึงองค์ประกอบ 5 ประการที่เกี่ยวข้องกันสำหรับการประเมินความสอดคล้องของบุคลากรกับกลยุทธ์ ธุรกิจ ดังนี้

1.ความเป็นหนึ่งเดียวกับกลยุทธ์ : พนักงานเข้าใจและเห็นด้วยกับกลยุทธ์ธุรกิจหรือไม่ พนักงานเข้าใจถึงความสำคัญของกลยุทธ์ธุรกิจที่มีต่องานของตัวเองหรือไม่

2.ลูกค้า : พนักงานเข้าใจความต้องการของลูกค้า และความสัมพันธ์ของเรากับลูกค้าหรือไม่

3.ผู้นำ : ผู้นำในองค์กรสื่อสารภาพอนาคตที่ต้องการก้าวไปถึงได้ดีเพียงใด

4.การปฏิบัติงาน : พนักงานมองว่าการทำงานในแต่ละวันของตัวเองสอดคล้อง สนับสนุนกลยุทธ์ธุรกิจ และความสัมพันธ์กับลูกค้าหรือไม่

5.วัฒนธรรม : ทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อของพนักงานสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรหรือไม่

การจัดการกับองค์ประกอบดังกล่าวจะช่วยให้ HR และองค์กรมีข้อได้เปรียบหลายประการ

ลำดับ แรก คือจะช่วยให้ได้ภาพสมบูรณ์ขององค์กร ซึ่งเป็นภาพที่เผยมุมมองที่หลากหลาย ทั้งจากในเชิงของกลยุทธ์ จนถึงสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นจริง อันจะช่วยให้องค์กรได้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองของแผนก, หน่วยงาน, พนักงานรายบุคคล และทีม สอง องค์กรจะสามารถมองเห็นอุปสรรคที่ขัดขวางการดำเนินกลยุทธ์และวิธีการแก้ไข และกำจัดอุปสรรคนั้น ๆ สาม องค์กรจะทราบได้ว่าปัจจัยควบคุมการดำเนินกลยุทธ์อยู่ ณ จุดใด

ปัจจัย เหล่านี้เป็นสิ่งที่องค์กรและผู้บริหารสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เมื่อมี การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ และสี่ องค์กรจะทราบได้ถึงจุดแข็งซึ่งองค์กรสามารถต่อยอดให้เกิดการเติบโตได้จากจุด แข็งที่ตัวเองมีอยู่แล้ว

วิธีการวัดผลแบบ HR สามารถขับเคลื่อนการตัดสินใจ และการลงทุนเกี่ยวกับกลยุทธ์ธุรกิจได้อย่างแท้จริงหรือไม่

วิธีการวัดผลแบบ HR สามารถและควรจะขับเคลื่อนการตัดสินใจ และการลงทุนเกี่ยวกับกลยุทธ์ธุรกิจได้อย่างแท้จริง

เป้า หมายสำคัญ 2 ประการสำหรับการวัดผลแบบ HR ควรจะเป็นไปเพื่อการยกระดับการตัดสินใจเกี่ยวกับบุคลากร และการเชื่อมโยงทรัพยากรบุคลากรเข้ากับกลยุทธ์

การทราบจำนวนเวลาที่ ใช้ไปกับการฝึกอบรมภายใต้กรอบงบประมาณ ก็เหมือนกับฝ่ายการตลาดทราบจำนวนโฆษณาที่มีการเผยแพร่อยู่ ซึ่งทั้งสองกรณีไม่ได้พูดถึงผลกระทบของการลงทุนที่มีต่อการบรรลุผลทาง กลยุทธ์ขององค์กร

เช่นเดียวกับที่ฝ่ายการตลาดต้องการทราบถึงผลกระทบ ของกิจกรรมทางการตลาดที่มีต่อยอดขาย และการตระหนักถึงแบรนด์ในกลุ่มลูกค้า HR จำเป็นต้องทราบถึงว่าการฝึกอบรมส่งผลกระทบอย่างไรต่อธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ HR จะต้องพิจารณานอกเหนือไปจากการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน เพื่อวัดผลว่าบุคลากรทางด้าน HR ช่วยให้องค์กรปรับความสอดคล้องของบุคลากร ติดตามความคืบหน้า ระบุ และแก้ไขอุปสรรค ตลอดจนช่วยให้องค์กรดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็วได้ดีเพียงใด


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : การดำเนินกลยุทธ์ รวดเร็ว บทบาทของ HR

view