สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ศูนย์วิจัย มธบ.ชี้ ค่าแรง 300 บาท กระทบ SMEs ตกงาน 1.2 ล้านคน

จากประชาชาติธุรกิจ

ต้องยอมรับว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทใน 7 จังหวัดนำร่อง ดูเหมือนยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อยู่มาก ล่าสุด ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPURC) เผยผลการศึกษานโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ

ซึ่งมี "ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้ศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาล พบว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั้งประเทศ จะทำให้ค่าแรงขั้นต่ำคิดเป็น 58.7% ของค่าแรงเฉลี่ยของประเทศ กระทบกับสภาพเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ และภาพรวมของประเทศในช่วง 18 เดือนหลังจากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปี 2556

โดยเฉพาะการเลิก จ้างแรงงานที่เป็นเยาวชน และแรงงานของธุรกิจเอสเอ็มอี มีกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบอยู่ 1.2 ล้านคน ทั้งนี้ค่าแรงขั้นต่ำไม่ควรเพิ่มขึ้นเกินกว่า 40% ของค่าแรงเฉลี่ย (เช่น ถ้าค่าแรงเฉลี่ยเท่ากับ 500 บาทต่อวัน 40% ของค่าแรงเฉลี่ยจะเท่ากับ 200 บาทต่อวัน)

"ดร.เกียรติอนันต์" จึงเสนอว่า การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ ควรมีความแตกต่างกันไปตามภูมิภาค เพราะเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน หากกำหนดค่าแรงขั้นต่ำให้เท่ากันในทุกพื้นที่ จะส่งผลเสียในระยะยาวต่อผลิตภาพการผลิตในพื้นที่ที่มีผลิตภาพต่ำ

ส่วน ประเด็นที่น่าเป็นห่วงในแง่ของภาพรวมของการจ้างงาน คือแม้ว่าอัตราการว่างงานของไทยในเดือนกรกฎาคม 2555 จะต่ำเพียง 0.6% แต่ตัวเลขนี้ไม่ได้สะท้อนภาวะที่แท้จริงของตลาดแรงงาน โดยปกติแล้ว การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายที่มีต่อการจ้างงาน จะใช้อัตราการว่างงานตามนิยามปกติเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการวิเคราะห์อัตราการว่างงาน โดยใช้นิยามการว่างงานอย่างกว้าง ซึ่งเรียกว่า U-6 มาคำนวณ (ผู้ว่างงาน+ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะตกงาน+ผู้ที่มีชั่วโมงทำงานต่ำ) จะพบว่าอัตราการว่างงานของไทยสูงถึง 5.9% คิดเป็น 10 เท่าของอัตราการว่างงานตามนิยามปกติ

จาก 70 จังหวัดที่ศึกษา จังหวัดที่มีสัดส่วนค่าแรงขั้นต่ำต่อค่าแรงเฉลี่ยสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ นราธิวาส (83.9%) ตาก (79.8%) ลำพูน (78.9%) สระแก้ว (75.9%) ราชบุรี (75.4%) ประจวบคีรีขันธ์ (75.3%) ปัตตานี (74.3%) ลพบุรี (72.7%) หนองบัวลำภู (72.0%) และอ่างทอง (71.9%)

ส่วนจังหวัดที่คาดว่าจะได้ รับผลกระทบน้อยที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ นครพนม (42.5%) ยโสธร (42.6%) ร้อยเอ็ด (45.9%) สกลนคร (47.2%) น่าน (47.6%) กาฬสินธุ์ (48.4%) พัทลุง (49.4%) มุกดาหาร (50.0%) ศรีสะเกษ (50.9%) และพังงา (51.1%)

สำหรับ การเตรียมตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ "ดร.เกียรติอนันต์" มีข้อเสนอให้กับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ ผู้ประกอบการ และแรงงานว่า หน่วยงานของรัฐในพื้นที่ควรเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือในการบรรเทาผลกระทบ โดยในเบื้องต้นจะต้องพูดคุยกับผู้ประกอบการเกี่ยวกับแนวทางการปรับตัว รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความช่วยเหลือที่ผู้ประกอบการต้องการ

ส่วนผู้ประกอบการต้องใช้กลยุทธ์ "ลด เสริม คล่อง" ซึ่งหมายถึงการลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตและการทำงานในภาพรวม

นอก จากนี้ผู้ประกอบการควรจะเตรียมสำรองเงินสดหรือวงเงินสินเชื่อไว้สำหรับใน ช่วง 3 เดือนแรกของปี 2556 ซึ่งจะเป็นช่วงที่สภาพคล่องได้รับผลกระทบมากที่สุด

"ดร.เกียรติ อนันต์" กล่าวในตอนสุดท้ายว่า ประสบการณ์จากละตินอเมริกา, สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และยุโรป ชี้ให้เห็นว่า นอกจากปัญหาการเลิกจ้าง และการเพิ่มขึ้นค่าครองชีพแล้ว การชะลอการจ้างงานเพิ่ม และโอกาสได้งานทำของเยาวชน ก็เป็นเรื่องไม่ควรมองข้าม

เพราะปัญหาทั้งสองเรื่องส่งผลให้คุณภาพชีวิตของแรงงานที่ต้องการทำงาน แต่หางานทำไม่ได้ ที่สำคัญ การปล่อยให้มีแรงงานกลุ่มนี้มากขึ้น

ยัง หมายถึงการเพิ่มขึ้นของภาระทางการคลังของรัฐบาล และการลดลงของขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวซึ่งอาจทำให้เกิด การผันผวนได้ในที่สุด !


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ศูนย์วิจัย มธบ. ค่าแรง 300 บาท กระทบ SMEs ตกงาน 1.2 ล้านคน

view