จากประชาชาติธุรกิจ
โดย ศุภนิตย์ มานะจิตต์ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
คง ไม่มียุคสมัยใดที่การบริหารทรัพยากรบุคคลจะมีความสำคัญเท่ากับยุคปัจจุบัน แนวความคิดด้านการจัดการได้พัฒนาจากการจัดการในเชิงอุตสาหกรรมครัวเรือน (craft production) สู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม (industrial revolution) ที่มุ่งเน้นผลิตสินค้าปริมาณมาก ๆ เพื่อลดต้นทุน (mass production) และพัฒนามาเป็นการบริหารจัดการแบบมุ่งเน้นคุณภาพ (lean production) และกำลังพัฒนาไปสู่การผลิตที่มุ่งเน้นตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของ ลูกค้าอย่างแท้จริง (custom production)องค์กรหลายองค์กรจึงต้องประสบความล้มเหลวจนถึงขั้นล้มเลิกกิจการ เช่น Kodak, Arthur Anderson เป็นต้น
เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวให้ เข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ ขณะเดียวกัน ก็มีหลายองค์กรที่เกือบล้มเหลวแต่สามารถพลิกฟื้นจนกลับมาเป็นผู้นำธุรกิจได้ อีกครั้ง เช่น IBM และ Apple นักวิเคราะห์ด้านการบริหารจัดการที่ได้ศึกษาองค์กรเหล่านี้ พบว่าองค์กรที่ประสบความสำเร็จที่สามารถปรับตัวไปกับความเปลี่ยนแปลงได้ อย่างยั่งยืน เนื่องจากสามารถดึงดูดและพัฒนาคนเก่ง คนดีให้ทำงานกับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคนิคการบริหารคนในแต่ ละยุคสมัยอาจแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการสรรหาบุคลากร การบริหารค่าจ้าง หรือการพัฒนาพนักงาน อย่างไรก็ดี โจทย์พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรบุคคลยังคงเหมือนเดิมนั่นคือ ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถสรรหา พัฒนา ตลอดจนรักษาคนเก่ง คนดีให้สามารถทำงานให้กับองค์กรได้อย่างเต็มศักยภาพ
จากการตระหนัก ถึงความสำคัญดังกล่าว กลุ่ม People Development Group (PDG) ซึ่งเป็นกลุ่มด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสมาคมการจัดการธุรกิจแห่ง ประเทศไทย (Thailand Management Association : TMA) จึงได้ศึกษาองค์กรชั้นนำในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จในการบริหารทรัพยากร บุคคล และพบว่าองค์กรเหล่านั้น
มีกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ แตกต่างกัน แบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่ม เปรียบได้กับรุ้ง 7 สี (rainbow) ซึ่งแถบสีแต่ละสีจะสื่อความหมายถึงตัวแทนขององค์กรที่มีลักษณะที่โดดเด่นและ มีเอกลักษณ์ในแต่ละด้านดังต่อไปนี้
รูปแบบแรก องค์กรแห่งนวัตกรรม (innovative organization) จะมีรูปแบบการบริหารองค์กรที่โดดเด่นในเรื่องการส่งเสริม พัฒนาความรู้ และทักษะให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ สามารถสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (learning organization) และส่งเสริมให้พนักงานพัฒนาและปรับปรุงงาน อันนำไปสู่การสร้างผลงานด้านนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรอย่างต่อ เนื่อง
รูปแบบที่ 2 องค์กรแห่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (creative organization) มีรูปแบบการบริหารองค์กร กระบวนการพัฒนาบุคลากรที่เริ่มจากการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์จะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนขององค์กร ตั้งแต่คน เทคโนโลยี กระบวนการ โดยต้องเข้าใจวัฒนธรรม การดำเนินธุรกิจ แนวคิดความต้องการของลูกค้า เพื่อมาออกแบบพัฒนาการทำงานรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ อย่างสร้างสรรค์
รูปแบบที่ 3 องค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (social responsibility organization) มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคำนึงถึงผลกระทบของการดำเนินงานขององค์กรที่มีต่อลูกค้า ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยการผสมผสานแนวคิดการบริหารจัดการ วัฒนธรรมองค์กร รวมทั้งการพัฒนาองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนา และปลูกฝังจิตสำนึกต่อสังคมขององค์กรให้แก่พนักงานทุกคนเพื่อสร้างผลงานที่ มีคุณภาพอย่างยั่งยืน พร้อมด้วยการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายให้องค์กรเติบโตไปพร้อม ๆ กับชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน
รูปแบบที่ 4 องค์กรที่มีการให้บริการที่เป็นเลิศ (service excellence organization) เป็นองค์กรที่มีความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างและหลากหลาย เรียนรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้รับบริการ สามารถหล่อหลอมพนักงานทุกคนในองค์กรให้เกิดจิตสำนึกในการบริการ (service mind) สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า และยกระดับงานด้านการบริการสู่มาตรฐานสากล เพื่อสร้างความแตกต่าง และการบริการที่เหนือความคาดหวัง
อันเป็นจุดได้เปรียบในการแข่ง ขันต่อการขับเคลื่อนองค์กรรูปแบบที่ 5 องค์กรแห่งการสร้างความสุข (joyful organization) เป็นองค์กรที่เอาใจใส่กับความสมดุลระหว่างการทำงาน ความสุข และการเติบโตของบุคลากรในองค์กร สามารถสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ส่งเสริมให้พนักงานแสดงถึงศักยภาพและความ สามารถ เปิดโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็น ลงมือทำ และปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานด้วยตนเอง
จนทำให้องค์กรพัฒนา ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว พนักงานเองรู้สึกภาคภูมิใจว่าตนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และพร้อมที่จะมุ่งมั่นทุ่มเทให้กับองค์กรอย่างเต็มความสามารถ
รูปแบบที่ 6 องค์กรแห่งการสร้างความผูกพัน (engagement organization) องค์กรที่โดดเด่นในการสรรหา และรักษาคนเก่ง คนดี ให้อยู่กับองค์กรอย่างยาวนาน สามารถทำให้พนักงานเกิดความผูกพัน และมุ่งมั่นทุ่มเทให้กับองค์กรอย่างเต็มความสามารถ
จนทำให้เกิดความ ได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage) ที่เกิดจากพนักงานที่มีความรู้ความสามารถ สามารถรับมือกับการดำเนินธุรกิจภายใต้สถานการณ์การแข่งขัน และการแย่งชิงบุคลากรที่มีคุณภาพ (talent war) ที่กำลังเกิดขึ้นภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรงในปัจจุบัน
รูปแบบที่ 7 องค์กรที่มุ่งสู่การแข่งขัน (competitive organization) เป็นองค์กรที่สามารถเตรียมพนักงานให้มีความพร้อม ยืดหยุ่น และพร้อมเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับความกดดันและการแข่งขันภายใต้สถานการณ์ ต่าง ๆ จนสามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร (differentiate strategy) ได้เหมาะสม
เพื่อ ช่วยให้องค์กรในเมืองไทยเพิ่มขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการทรัพยากร บุคคล สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทยจึงได้เรียนเชิญผู้บริหารขององค์กรชั้นนำ ของประเทศ ที่ได้พิสูจน์แล้วว่ามีความโดดเด่นในการบริหารทรัพยากรบุคคลในแต่ละด้านดัง กล่าวข้างต้น มาร่วมแบ่งปันความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผู้บริหาร ตลอดจนผู้สนใจอื่น ๆ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และต้องการเรียนรู้ถึงกลยุทธ์และวิธีการในการสร้างองค์กรให้มีความเป็นเลิศ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
โดยจะจัดให้มีการสัมมนาเพื่อถ่ายทอด กลยุทธ์ในแต่ละด้าน ในวันที่ 25 มกราคม 2556 ซึ่งจะได้ประชาสัมพันธ์รายละเอียดให้ทราบต่อไป ทั้งนี้ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทยเชื่อมั่นว่า การแบ่งปันความรู้ครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการยกระดับความสามารถ ขององค์กร (organization capability) เพื่อสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันบนพื้นฐานของการจัดการทรัพยากร บุคคลที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนต่อไป
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน