จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
สำรวจ 17 ประเด็นร้อน ที่กำลังกลายเป็นระเบิดเวลาถล่ม “ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์” จุดชนวนให้พลังประชาชนคนไม่เอาทักษิณ และกลุ่มคนที่ไม่เคยเคลื่อนไหวโดดเข้าร่วมกับกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ มากขึ้น และนี่อาจทำให้คำทำนายของหมอดู “อีที” ชาวพม่าที่ตระกูลชินวัตรศรัทธาว่าจะเกิดการต่อสู้รุนแรง-พวกเถลิงอำนาจจะ ถูกกวาดล้างจนสูญพันธุ์เป็นจริงได้ ขณะที่กลุ่มแพทย์ชนบทรอจังหวะเข้าร่วมโค่นรัฐบาล จับตา “ธาริต” ยก “ยิ่งลักษณ์” เป็นประมุขประเทศอาจเป็น “น้ำผึ้งหยดเดียว” ซ้ำรอย 14 ตุลานำสู่ความรุนแรงได้! | ||||
|
||||
“ช่วงต่อจากนี้ไปจะเป็นจุดต่ำสุดของรัฐบาล แล้วอาจจะรุนแรงถึงขั้นต่อสู้กัน จะมีการสูญเสีย โดยประชาชนจะสูญเสียไปประมาณ 50%” “ประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน แต่ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงก็คงจะต้องมีการกวาดล้าง ทำความสะอาดบ้านเมือง โดยจะมีความสูญเสียมากเป็นวงจำกัด แต่ว่าดีกว่าครั้งที่แล้ว และเหตุการณ์ทั้งหมดจะเริ่มต้นเดือน ส.ค.-ต.ค. รวมๆ แล้วประมาณ 6-9 เดือน ถึงจะเข้าที่เข้าทาง ก็คือประมาณปี 2014 ตลอดทั้งปี ทุกอย่างจะอยู่ในความควบคุม คนที่มีอำนาจอยู่ในเวลานี้ทั้งหมดจะสูญหายไปหมด หายไปหมดแบบไม่เหลือซาก ประเทศไทยจะเป็นประเทศแห่งความฝันอันรุ่งเรืองใหม่ในปี 2015” คำพูดด้านบนเป็นคำทำนายของหมอดูอีที ที่ทำการทำนายดวงประเทศไทย ผ่าน อาจารย์วรธนัท (ณรงค์) อัศกุลโกวิท หรือ อาจารย์หม่า ปรมาจารย์แห่งวิชาฮวงจุ้ย ผ่านรายการ คมคิด ของสำนักข่าวทีนิวส์ ประจำวันที่ 30 ก.ค. 56 เป็นคำทำนายที่น่ากลัวมาก แต่คำทำนายนี้จะเป็นจริงหรือไม่ ไม่มีใครรู้! แต่ทว่า การเมืองในไทยเวลานี้ก็ส่อเค้าลางให้เห็นว่า มันใกล้ถึงจุดที่ประชาชนทนไม่ไหวแล้วจริงๆ เนื่องเพราะการเมืองปัจจุบันเป็นการเมืองแบบที่เรียกว่า ดันทุรังของกลุ่มผู้มีอำนาจ ที่ต้องการอะไรก็ต้องทำให้ได้ รัฐบาลของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงเหมือนรัฐบาลที่นั่งบนหอคอยโดยมีเงาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ชี้นิ้วสั่งให้ลูกน้องแต่ละกลุ่มแต่ละก้อนทำอะไรตามที่ตนเองต้องการ โดยไม่มองและไม่สนใจเลยว่าประชาชนเขาคิดอย่างไร และผิดหลักการประชาธิปไตยหรือไม่อย่างไร ดังนั้นเค้าลางคำทำนายของหมอดูอีที หมอดูชาวพม่าที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว ศรัทธาเป็นทุนเดิมก็อาจจะปรากฏเป็นจริงได้ในไม่ช้านี้ก็เป็นได้ อะไรคือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ภาคประชาชนทั้งกลุ่มไม่เอา พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมกดดันรัฐบาลตั้งแต่ยุค พ.ต.ท.ทักษิณ จนมาถึงยุคนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ออกมารวมตัวกันมากที่สุดกว่าการชุมนุมครั้งไหนๆ เพื่อขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ในเวลานี้ |
||||
|
||||
พ.ร.บ.นิรโทษกรรม-อันดับ 1 ประชาชนต่อต้าน! ปัจจัยที่ 1 ที่เป็นเรื่องร้อนแรงที่สุด ที่ตระกูลชินวัตรกำลังกระทำการแบบที่เรียกได้ว่า ไม่อายฟ้าอายดิน คือการใช้กลไกอำนาจสำคัญอย่างรัฐสภารวบอำนาจคืนให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งๆ ที่เป็นนักโทษหนีคดี และยังมีพฤติกรรมส่อเค้าการทุจริตมิชอบในขณะมีตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองแบบ ที่เรียกว่า โกงบ้านโกงเมือง ด้วยการทุจริตทั้งใต้ดิน และบนดิน ต้นกำเนิดสิ่งที่เรียกว่า “การทุจริตเชิงนโยบาย” หรือการคอร์รัปชัน (ครั้งมโหฬาร) อย่างถูกกฎหมาย แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมีพฤติกรรมที่นอกจากจะไม่รู้จักผิดรู้จักชอบแล้ว ยังมีการ “สไกป์” มาถึง ส.ส.พรรคเพื่อไทยด้วยการ “สั่งการ” ให้ ส.ส.พรรคเพื่อไทยต้องเดินหน้าผลักดันด้านกฎหมาย โดยเฉพาะ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้เดินหน้าอย่าง “สุดซอย” เมื่อ ส.ส.ในพรรคเพื่อไทย ถูกรวบอำนาจด้วยการจัดการพรรคการเมืองแบบ “บริษัทจำกัด” มีหัวหน้าใหญ่คนเดียวที่สั่งการได้ทุกอย่าง รวมถึงมีอำนาจให้คุณให้โทษ ทำให้ ส.ส.ในพรรคเพื่อไทย ไม่เคยได้ทำหน้าที่ ส.ส.ตามระบอบประชาธิปไตย มีแต่ต้องทำตามคำสั่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ดังนั้นเรื่องใหญ่ของ ส.ส. หรือหน้าที่หลักในวันนี้คือผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้ผ่านสภาฯ ให้ได้เท่านั้น เรื่องปากท้องหรือชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนล้วนเป็นเรื่องรอง “ประเด็นนี้สำคัญที่สุดที่ทำให้ประชาชนมารวมตัวกันเพื่อต่อต้าน เพราะเขารับไม่ได้ว่า ส.ส.แทนที่จะทำงานให้ประชาชน กลับกำลังพยายามล้างผิดให้อาชญากร คนที่โกงชาติบ้านเมือง นอกจากจะช่วยให้กลับมาประเทศไทยได้แล้ว ยังจะมีแผนที่จะคืนเงินที่เขาโกงบ้านโกงเมืองให้ไปอีกกว่า 4 หมื่นล้านบาท” พลตำรวจเอกวสิษฐ เดชกุญชร แกนนำกลุ่มไทยสปริงกล่าว พร้อมวิเคราะห์ต่อว่า รัฐบาลกำลังทำสิ่งที่ผิดพลาดอย่างมาก คือคิดว่ามีเสียงของ ส.ส.ในสภาฯ จำนวนมาก แล้วแค่ยกมือ อยากได้อะไรก็จะได้ ซึ่งคิดผิด เพราะการกระทำอย่างนี้เป็นการละเลยสิทธิของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย จะทำให้ประชาชนออกมาต่อต้านขึ้นเรื่อยๆ เพราะรับไม่ได้ ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า จะเป็นปัจจัยนำไปสู่ความรุนแรงได้มากที่สุด เพราะการเดินหน้าผลักดันเรื่องกฎหมายที่สภาฯ กำลังดำเนินการอยู่ในเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือการแก้รัฐธรรมนูญนั้น ถือเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักการนิติรัฐอย่างสิ้นเชิง โดยความรุนแรงจะเกิดจากการที่ระบบความคิดของคนในประเทศไทยที่แบ่ง เป็น 2 กลุ่มนั้นมีความต่างกันมากแบบยากที่จะประสาน โดยกลุ่มหนึ่งยึดหลักเสียงข้างมากทำได้ทุกเรื่อง จึงเดินหน้าในการแก้รัฐธรรมนูญในข้อที่จะเป็นการขัดหลักการนิติรัฐ ไม่เคารพสิทธิเสรีภาพเสียงข้างน้อย ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งที่ชอบรัฐบาลก็สนับสนุน ส่วนอีกกลุ่มมองว่าประชาธิปไตยแบบนี้ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม แต่เป็นเพียงเผด็จการเสียงข้างมาก เพราะหลักการประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม จะต้องมีปัจจัย 3 ประการด้วยกันคือ รัฐบาลไม่มีสิทธิทำอะไรที่ขัดกับหลักนิติรัฐ, เสรีประชาธิปไตยต้องเคารพเสียงข้างน้อย และต้องไม่เกิดการแทรกแซงสื่อมวลชน แต่เวลานี้ทั้ง 3 ประการนั้นรัฐบาลแทบไม่สนใจ “คนที่เห็นว่าประชาธิปไตยต้องไม่ใช่เผด็จการเสียงข้างมาก ก็จะรับไม่ได้ และจะเพิ่มระดับความขัดแย้งแน่นอน” ตรงนี้นำไปสู่ปัจจัยที่ 2 ซึ่งปรากฏเป็นภาพชัดเจนก็คือ การยึดระบบพวกพ้องเป็นผลประโยชน์สำคัญที่สุด จนไม่ได้สนใจว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม “การเมืองตอนนี้มันเป็นแบบพวกใครพวกมัน กล่าวคือ การเมืองที่มองไปในตัวบุคคลมากกว่ามองระบบ โดยหลักการของประชาธิปไตยแล้วไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ใครผิดก็ต้องว่าไปตามผิด แม้จะเป็นคนที่มีบุญคุณ ไม่ใช่ว่าคนคนนี้ผิดก็ช่าง เพราะเป็นคนที่มีบุญคุณต่อกันมา อย่างนี้เป็นการทำลายประชาธิปไตย” |
||||
|
||||
ส.ส.พรรคเพื่อไทยเถื่อน-สภาวุ่นวายหนัก ปัจจัยที่ 3 คือ พฤติกรรมของ ส.ส.โดยเฉพาะ ส.ส.พรรครัฐบาลนั้น ยังสร้างความไม่พอใจให้กับภาคประชาชนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการที่จ่าประสิทธิ์ ยกรองเท้าขึ้นมาบนโต๊ะเพื่อแสดงสัญลักษณ์ความไม่พอใจให้กับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ส.ส.พรรคเพื่อไทยเล่นเกมในไอแพด แถมมีการเปิดภาพโป๊ดูในสภาฯ ในระหว่างการประชุมรัฐสภาที่เป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสมอย่างมาก อีกทั้งยังมีข่าวการทุจริตในการซื้อของมาใช้ โดยเฉพาะนาฬิกาดิจิตอลประจำรัฐสภาที่มีราคาสูงถึงเครื่องละ 75,000 บาท ซึ่งมีราคาสูงเกินความจำเป็น รวมทั้งการสั่งเครื่องกดน้ำจากเกาหลีเครื่องละ 70,000 บาท มาใช้กว่า 100 เครื่อง ล่าสุดก็เป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล มีแต่ภาพการทุจริต และใช้ภาษีประชาชนอย่างสิ้นเปลือง ล่าสุดที่ฉาวโฉ่สุดๆ ก็คือกรณีที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย นำโดย นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย และนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม มีการโทร.ไปหาผู้ใหญ่ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อขอลงที่สนามบินดอนเมืองเพราะใกล้บ้าน เหตุเพราะเครื่องบินต้องจอดพักที่สนามบินดอนเมืองก่อนไปลงจอดที่สนามบิน สุวรรณภูมิ เป็นการใช้อำนาจสร้างความเดือดร้อนให้กับทั้งบริษัท การบินไทย พนักงาน และผู้โดยสาร ที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง แถมล่าสุดประธานสภาผู้แทนราษฎรก็เรียกตำรวจรัฐสภาทั้งหมดไปเพื่อจับ ตัว ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ออกนอกที่ประชุม สร้างความวุ่นวายให้ ส.ส.ที่ตกใจจนกรี๊ด และมีการด่ากันออกอากาศของ ส.ส.หญิงที่ระบุว่าอีกฝ่ายเป็น “ชะนี” ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสมแต่อย่างใด วันนี้กล่าวได้ว่ารัฐสภากำลังถึงจุดเสื่อมอย่างที่สุดแล้ว ยิ่งกว่ายุคไหนๆ! “คนของพรรคเพื่อไทยทุกส่วนกำลังทำตัวเหมือนว่าใครจะมาคิดต่าง ต่อต้านหรือขัดขวางก็ไม่ได้ทั้งนั้น แตะรัฐบาลไม่ได้เลย ทำให้รู้สึกว่าบ้านเมืองนี้อยู่ยากขึ้นทุกวัน ยิ่งใครไปแตะต้อง พ.ต.ท.ทักษิณ จะต้องถูกไล่ตะเพิด ไล่ฟ้องดะ อย่างนี้เป็นการปกครองแบบเผด็จการใช่หรือไม่” พลตำรวจเอกวสิษฐ กล่าว พร้อมกล่าวว่า การปกครองแบบเผด็จการที่ใช้อำนาจทุกอย่างกดดันคนที่มาต่อต้าน ทำให้ประชาชนรู้สึกไม่มีความปลอดภัยในชีวิตอย่างมากเวลานี้ แต่รัฐบาลก็ไม่สนใจ ตำรวจกลายเป็นโจร-ลอบฆ่าเอกยุทธ ปัจจัยที่ 4 เรื่องของความไม่รู้สึกปลอดภัยในชีวิต โดยเฉพาะคดี นายเอกยุทธ อัญชันบุตร ที่ถูกลอบฆ่าอย่างโหดเหี้ยม แต่ตำรวจกลับรีบสรุปคดี รีบปิดคดี ทั้งๆ ที่ทีมทนายทางฝั่งนายเอกยุทธได้หลักฐานมาใหม่ ที่ไม่ชอบมาพากล ควรมีการตรวจสอบให้กระจ่างเสียก่อน แต่ก็ไม่มี ประชาชนกำลังรู้สึกว่าต่อไปหวังพึ่งตำรวจไม่ได้แล้ว รวมถึง กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ที่วันนี้ก็ชัดเจนว่าไม่ได้เป็นที่พึ่งพาให้ประชาชน แต่กลับมีท่าทีในการทำงานช่วยรัฐบาลในการคุกคามประชาชนมากขึ้นไปอีก แล้วใครจะรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้านเมืองนี้? ปัจจัยที่ 5 ที่รัฐบาลมีท่าทีที่ชัดเจนในการคุกคามสื่อมวลชน คนที่คิดต่าง ไม่เห็นด้วย ล้วนอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในชีวิต ทั้งช่างภาพหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ ที่โดน ส.ส.หนองคาย พรรคเพื่อไทย ต่อว่าเรื่องที่ถ่ายภาพ ส.ส.พรรคเพื่อไทยกำลังดูภาพโป๊ในสภา และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ที่ถูกแขวนระเบิดไว้หน้าประตูบ้าน เพราะเหตุหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ลงข่าวในทางลบของรัฐบาลแค่นั้นหรือไม่? ปัจจัยที่ 6 คือ รัฐบาลมีท่าทีคุกคามสิทธิภาคประชาชน โดยเฉพาะในเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก ที่ ปอท.ออกหมายจับคนที่โพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง โดยเฉพาะมีการออกหมายเรียก นายเสริมสุข กษิติประดิษฐ บรรณาธิการข่าวการเมืองและความมั่นคง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จนประชาชนเริ่มมีความหวาดกลัว และไม่กล้าที่จะโพสต์แสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่ไปในทางต่อต้านรัฐบาล รวมถึงล่าสุดคือการประกาศควบคุมโปรแกรม Line ที่เป็นโปรแกรมแชต หรือโปรแกรมพูดคุยในมือถือส่วนบุคคล ที่แม้จะมีต้นคิดจาก ปอท. โดย พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ก็ตาม เข้าทำนองเสนอตัวรับใช้นาย? แม้รัฐบาลจะออกมาปฏิเสธ ก็หลีกหนีความเกี่ยวข้องไม่ได้ เพราะเรื่องนี้ทำให้ประชาชนเวลานี้มีความหวาดกลัวว่าจะถูกตรวจสอบโดยไม่รู้ ตัวอีกด้วย “แค่ ส.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์รูปล้อเลียนนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้ มีความผิดเสมือนเป็นอาชญากร จริงๆ แล้วมันไม่ใช่” คนที่เป็นอาชญากรที่องค์กรอย่าง ปอท.ควรจะติดตามนั้นชื่อ “พ.ต.ท.ทักษิณ” มิใช่ประชาชนตาดำๆ! คนคิดต่างต้องโดนไล่ล่า ประเด็นปัจจัยที่ 7 ที่ประชาชนเริ่มเอือม คือการเคลื่อนไหวของมวลชนคนเสื้อแดงที่ไร้เหตุผล โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวชุมนุมหน้าศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญ และไม่ได้มีพฤติกรรมที่สุภาพกับสถาบันตุลาการ ซ้ำร้ายแกนนำพรรคเพื่อไทยหลายคน โดยเฉพาะ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ยังมีการพูดในที่สาธารณะหมิ่นสถาบันตุลาการครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งคนเสื้อแดงยังมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรง เมื่อพบว่าสื่อมวลชนคนใดมีการต่อว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์ ก็จะมีการไปชุมนุมปิดล้อมสถานีนั้นๆ อยู่บ่อยครั้งด้วย หรือกรณี “นายขวัญชัย สารคำ” หรือ “นายขวัญชัย ไพรพนา” ประธานชมรมคนรักอุดร ที่นำเครื่องแบบตำรวจปราบจลาจล (ปจ.) ชุดสีกรมท่า ปักป้ายชื่อ ขวัญชัย สารคำ ที่อกเสื้อด้านขวา และอกเสื้อซ้าย ปักสังกัด บก.ภ.จว.อุดรธานี มาใส่บริเวณหน้ารัฐสภา พื้นที่ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไป ในวันที่มีการพิจารณาวาระร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในช่วงที่ผ่านมา ก็เป็นกรณีที่เห็นได้ชัดว่า คนเสื้อแดงอย่างขวัญชัย ได้รับการยกเว้นให้เข้าไปในพื้นที่ได้ ขณะที่คนอื่นๆ หรือมวลชนคนไม่เอาทักษิณและหนุนพรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถย่างกรายเข้าไปใน พื้นที่ได้เลย |
||||
|
||||
คอร์รัปชันอื้อ ปัจจัยที่ 8 ที่ประชาชนรับไม่ได้ คือเรื่องของการคอร์รัปชันทุกระดับ ชั้นที่มีมากกว่ายุคใดๆ ทั้งการคอร์รัปชันเชิงนโยบาย เช่นโครงการรับจำนำข้าวที่รัฐบาลขาดทุนไปแล้วกว่า 2 แสนล้านบาท ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่เคยตอบคำถามได้ว่าการทุจริตที่เกิดขึ้นจะไม่เกิด จากนโยบายของรัฐบาลเอง และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว รัฐบาลก็ไม่ได้คิดจะแก้ไขเพื่อหยุดกระบวนการทุจริตที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด แต่ยังมีท่าทีที่จะทุ่มเงินจำนวนมากมาบริหาร แม้กระทั่งจะต้องไปทำการกู้ให้เป็นภาระด้านภาษีของประชาชนไปอีกหลายชั่วคน โดยเฉพาะโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ที่ท้ายที่สุดเรื่องก็แดงออกมาว่าบริษัท K Water ของเกาหลีที่ประมูลงานในโครงการนี้ได้นั้นไม่มีความเหมาะสม แถมยังมีภาพถ่ายร่วมโต๊ะกับ พ.ต.ท.ทักษิณ แสดงให้เห็นความใกล้ชิดสนิทสนมอันเป็นสะพานเชื่อมให้ได้งานของภาครัฐบาลหรือ ไม่ รวมถึงโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ก็เป็นแผนที่ไม่มีรายละเอียดชัดเจน กลับมีแต่ความต้องการทางการเมืองที่จะเดินหน้า และไม่เคยแม้กระทั่งเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง จะมีก็แต่เพียงการจัดงานอีเวนต์ขึ้นมาแล้วก็ให้ประชาชนที่เข้าร่วมงานตอบแบบ สอบถามว่า “อยากได้รถไฟฟ้าความเร็วสูงไหม” ซึ่งคำถามชี้นำดังกล่าวนำไปสู่ผลที่ทราบคำตอบแน่ชัดอยู่แล้วว่าต้องออกมาว่า “ใช่” แต่คำตอบนี้ก็ไม่ใช่การศึกษา หรือกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่รัฐบาลจะมาอ้างว่าเป็นการทำ “ประชามติ” ไม่ได้ อย่างไรก็ดี รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ มองว่าประเด็นการทุจริต หากการเมืองมีการทุจริตนั้น จริงๆ ไม่ได้เป็นประเด็นที่นำไปสู่ความรุนแรง แต่หากผสมผสานกับความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลในฐานะเผด็จการเสียง ข้างมากอยู่แล้ว จะไปเพิ่มอัตราความไม่พอใจให้สูงขึ้น ยิ่งหากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมาเมื่อไร ยิ่งทำให้ความรู้สึกของประชาชนแสดงออกถึงความไม่พอใจทางการเมืองได้ ซึ่งอาจนำไปสู่การเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบในการลาออก แต่หากรัฐบาลไม่รับผิดชอบ ไม่มีการยุบสภา ไม่ยอมออกจากอำนาจทั้งๆ ที่มีการบริหารผิดพลาด ก็จะทำให้ประชาชนยิ่งสะสมความไม่พอใจต่อความเป็นเผด็จการเสียงข้างมากดัง กล่าว “โครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการลงทุนเรื่องน้ำ 3.5 แสนล้าน และการลงทุนในระดับสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจาก พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท จะเป็นจุดหนึ่งที่เป็นเงื่อนไขด้านความโปร่งใสของรัฐบาล เพราะว่ารัฐบาลไม่ยอมเปิดเผยกระบวนการทั้งหมดอย่างตรงไปตรงมา แต่อย่าลืมว่าเงินที่ต้องเอามาใช้คืนจากการกู้นั้นเป็นเงินภาษีของประชาชน ประชาชนที่จ่ายภาษีย่อมไม่พอใจถ้าหากโครงการนั้นไม่เกิดประโยชน์ที่แท้จริง แต่เป็นเพียงผลประโยชน์ของฝ่ายการเมืองเท่านั้น เรื่องนี้มีแนวโน้มว่าจะมีความไม่พอใจสูงมากจากประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผล กระทบด้วย เพราะที่ผ่านมา รัฐบาลยังไม่ได้สนใจกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการทำนโยบายโดยส่วนกลางชี้ลงไปว่าจะทำอย่างไร โดยไม่ถามคนในท้องที่ คาดว่าเรื่องนี้จะโดนต่อต้านมากจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบ” ดร.รัตพงษ์ สอนสุภาพ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ระบุ จำนำข้าวขาดทุนยับ-ปัญหาปากท้องถูกละเลย ปัจจัยที่ 9 ยังคงเป็นประเด็นการรับจำนำข้าว ที่ตัวเลขขาดทุนที่แท้จริงสูงไปถึงเกือบ 6 แสนล้านบาท “แทนที่ขาดทุน 3-4 แสนล้านแล้วจะรีบแก้ไข จะรีบหยุด แต่ปล่อยให้ขาดทุนจนจะถึง 6 แสนล้านบาทอยู่แล้ว คนทนไม่ไหว รัฐบาลไม่ฟังใครแม้แต่คนเดียว ฟังแต่คนของตัวเองที่คิดว่าไม่มีใครทำอะไรได้ เพราะมือในสภาฯ มีเยอะ ยกมือทีไรก็ได้เสียงข้างมาก” พลตำรวจเอกวสิษฐ กล่าว ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ มองประเด็นนี้ว่า นโยบายประชานิยม จะเกิดปัญหาได้ไม่ใช่จากแค่ความแตกต่างเรื่องรายได้ การกระจายรายได้ เพราะเป็นที่รับรู้กันมาตลอดว่าช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนในประเทศไทยนั้น เป็นปัญหามานาน ซึ่งประเด็นนี้แม้เป็นความขัดแย้งในระดับโครงสร้างสังคมแต่ก็ไม่ได้นำไปสู่ ความรุนแรง แต่สิ่งที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงนั้นจะเกิดจากนโยบายประชานิยม ในการที่พรรคเพื่อไทยนำมาสร้างฐานเสียงทางการเมือง คนที่ได้ประโยชน์ก็รู้สึกผูกพันกับรัฐบาล กลายเป็นกองทหารประชาชนปกป้องรัฐบาลเพราะรู้สึกว่าดีกับเรา เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดในเวเนซุเอลา และละตินอเมริกา แต่อย่าลืมว่าการบริหารนโยบายประชานิยมมากเกินไปจะนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจใน ภาพรวมของประเทศชาติได้เช่นกัน ดังนั้น หากไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ กลุ่มคนที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจก็จะไม่พอใจ นำมาสู่ความรุนแรง ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลจะต้องแก้ที่นโยบาย แต่ถ้าไม่แก้ความขัดแย้งรุนแรงก็มีโอกาสเกิดขึ้นสูง โดยเวลานี้ปรากฏชัดแล้วว่า สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ก็เพิ่งออกมาปรับตัวเลขประมาณการด้านเศรษฐกิจจาก 4.2-5.2% ลงมาที่ 3.8-4.3% จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/56 การที่สหรัฐฯ จะลดขนาดมาตรการผ่อนคลายทางการเงินรอบที่ 3 หรือ QE3 รวมทั้งการประชุมร่วมรัฐสภาแก้รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ที่อาจจุดชนวนความร้อนแรง ที่ล่าสุด ซันเจย์ มาเธอร์ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจจากธนาคารอาร์บีเอส ให้ความเห็นว่า ภาวการณ์ชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยน่าจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกในอนาคต เนื่องจากไทยกำลังเผชิญทั้งปัญหาการส่งออก และการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัวลงจากภาวะหนี้ครัวเรือน และระดับราคาสินค้าภายในที่ปรับตัวสูงขึ้น ยิ่งทำให้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงตามไปอีกด้วย ปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องปากท้องจะนำมาสู่ความไม่พอใจของคนกลุ่มต่างๆ ได้โดยง่าย ปัจจัยที่ 10 คือราคาด้านพลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งรัฐบาลพรรคเพื่อไทยยังมีการเดินหน้าปรับราคาพลังงานมาโดยตลอด โดยเฉพาะราคาน้ำมัน และแก๊ส LPG “เรื่องของพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันแพง แม้เป็นเรื่องรองที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรง เพราะเป็นเรื่องที่เกิดมานาน แต่ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับค่าครองชีพ เป็นเรื่องที่ประชาชนสัมผัสได้โดยง่าย จับต้องง่าย แต่ก็เป็นเรื่องที่คนสงสัยมาอย่างยาวนานว่าทำไมคนไทยต้องบริโภคน้ำมันในราคา แพง ทั้งๆ ที่เป็นทรัพยากรของชาติ ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวกับการจัดการเรื่องระบบโครงสร้างภาษีในประเทศที่พอโครง สร้างไม่เอื้อก็ทำให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่ม ทีนี้คนก็จับตามองว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดราคาแล้ว ทำไมในประเทศไทยไม่ลด ขณะที่เวลาราคาน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้น ราคาน้ำมันในประเทศไทยปรับขึ้นเร็วมาก ก็เป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนมาก เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าภาครัฐมีส่วนเอื้อต่อการผูกขาดทางธุรกิจของ ปตท.” ดร.รัตพงษ์ กล่าว ดังนั้น ในวันศุกร์ที่ 23 ส.ค.นี้ กลุ่มคนขับรถแท็กซี่ และประชาชนส่วนหนึ่งที่ไม่พอใจการปรับขึ้นราคาแก๊ส LPG ของรัฐบาลก็จะไปชุมนุมล้อม ปตท. ที่อาคาร Energy complex นายกฯ “ปู” ตัวปัญหาไม่จริงใจ ปัจจัยที่ 11 เป็นเรื่องของบทบาทความเป็น “ผู้นำ” ของนายกรัฐมนตรี ก็ถือว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง โดย ดร.เสรี วงษ์มณฑา อาจารย์ด้านการประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็มีการกระทำที่ไม่สนใจ และไม่ฟังประชาชน โดยเฉพาะประเด็นสำคัญอย่างการเข้าไปทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นหน้าที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย ที่ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2550 นั้นก็ระบุให้นายกฯ ซึ่งมีฐานะเป็น ส.ส. ต้องเข้าไปทำหน้าที่ในสภาฯ และการที่ประชาชนอยากให้หยุดเดินทางไปประเทศต่างๆ เพราะมองว่าไม่เหมาะสม และการเดินทางไปต่างประเทศของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ มักจะมีทีมล่วงหน้าคือพี่ชาย (พ.ต.ท.ทักษิณ) ล่วงหน้าไปก่อน จึงเกรงว่าจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ แต่นายกฯ ก็ไม่เคยมีท่าทีว่าจะฟังเสียงประชาชนที่ทักท้วงแต่อย่างใด ปัจจัยที่ 12 ประเด็นปฏิรูปประเทศไทยไม่เกิดประโยชน์อะไร เลย เพราะทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก็จะมีการพยายามทำในส่วนนี้ขึ้นมา แต่สุดท้ายก็เป็นเพียงการกระทำเชิงพิธีกรรมที่ได้แค่กระดาษ แต่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ปัญหาสำคัญคือผู้นำประเทศก็ไม่ได้แสดงท่าทีอะไรที่จะสนับสนุนการปฏิรูป ประเทศอย่างจริงจัง “ผู้นำประเทศ อย่างนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้แสดงทีท่าอะไรที่ชัดเจนเลยว่าสนับสนุนประเด็น ปฏิรูป ด้วยการเข้ามานำการปฏิรูปอย่างประจักษ์ชัด ก็ยิ่งแสดงความไม่จริงใจให้เห็นเด่นชัด ดังนั้นการปฏิรูปประเทศไทยก็ห่างไกลความจริงมากอยู่ดี” ดร.รัตพงษ์ กล่าว พร้อมกล่าวถึงปัจจัยร้อนที่จะส่งเสริมให้การเมืองแรงขึ้นในประเด็นต่อๆ ไปว่า ปัจจัยที่ 13 ความไม่พอใจรัฐบาลจะไม่ใช่แค่เพียง กลุ่มที่ต่อต้าน แต่คนกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลอย่างคนเสื้อแดงเองจะเป็นปัจจัยที่ร้อนขึ้นมา ได้ทุกเมื่อด้วย หากรัฐบาลละเลยที่จะตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนี้ “ความไม่ลงรอยระหว่าง รัฐบาล พรรคเพื่อไทย และกลุ่มมวลชนคนเสื้อแดง เพราะอย่าลืมว่าเวลานี้มีมวลชนบางส่วนได้เป็นรัฐบาล บางส่วนได้เป็นรัฐมนตรี แต่มวลชนหลายส่วนไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาล และเมื่อเวลาผ่านไป ปัญหาหรือประเด็นที่กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำไปแก้ไข ก็จะเกิดความไม่พอใจได้ ถือเป็นการลดทอนอำนาจแนวร่วมไปส่วนหนึ่ง” ปราสาทพระวิหารรอคำตัดสิน นอกจากนี้รัฐบาลยังมีปัจจัยที่เป็นระเบิดเวลาอีก 2 ลูกใหญ่ ประกอบด้วย ปัจจัยที่ 14 เป็นเรื่องของปราสาทพระวิหาร แม้ว่าเรื่องนี้จะดูเหมือนเป็นเรื่องที่เงียบอยู่ในเวลานี้ แต่คนก็ยังสงสัยว่ารัฐบาลจะมีท่าทีปกป้องเรื่องของความเป็นชาติอย่างไร รักษาผลประโยชน์ชาติขนาดไหน ถ้ารัฐบาลไม่แสดงท่าทีที่ชัดเจนขึ้นมาก็จะเป็นปัญหา ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ในขั้นตอนของศาล เมื่อไรก็ตามที่มีการตัดสิน เรื่องนี้จะเป็นเรื่องร้อนทันที ปัจจัยที่ 15 คือการหมิ่นสถาบัน ที่รัฐบาลไม่ได้มีท่าทีการจัดการอย่างจริงจัง ทั้งๆ ที่เป็นศูนย์รวมของคนไทยทั้งชาติ จะทำให้เกิดปัญหาได้ ซึ่งต้องยอมรับว่ารัฐบาลมีภาพในเรื่องนี้ไม่ดีนัก เพราะคนกลุ่มหนึ่งที่สนับสนุนรัฐบาลเป็นคนกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับการ หมิ่นสถาบันอยู่ด้วย ซึ่งหากรัฐบาลจริงจังกับการเอาผิดคนหมิ่นสถาบัน คนกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลกลุ่มนี้ก็อาจจะไม่พอใจขึ้นมาได้เช่นกัน ธาริตยกปูเป็นประมุขประเทศ-ระวังซ้ำรอย 14 ตุลา ปัจจัยที่ 16 กรณี นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กับคำกล่าวว่า ประมุขของประเทศ จึงเป็นปัจจัยที่มาเสริมเรื่องการไม่จัดการเรื่องหมิ่นสถาบันของรัฐบาล ซ้ำร้าย ท่าทีของรัฐบาลไม่ได้มีการจัดการแต่อย่างใด ต่อการที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ที่รับเอาคดีการโพสต์ของ ส.ส.มัลลิกา มาเป็นคดีพิเศษ โดยกล่าวอ้างว่าเป็นเรื่องหมิ่นคนสำคัญที่เป็นประมุขของประเทศ และเป็นการกระทำที่จะทำให้เกิดความรุนแรงได้เช่นกัน นายบวร ยะสินธร แกนนำกลุ่มราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน หนึ่งในเครือข่ายกลุ่มองค์กรพิทักษ์สยาม กล่าวว่า การกระทำของนายธาริตครั้งนี้ เป็นการกระทำจุดเล็กๆ ที่จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ในไม่ช้า เนื่องจากอย่าลืมว่าคนไทยที่รักสถาบันมีจำนวนมาก และมีความไม่พอใจรัฐบาลในการไม่จัดการเรื่องหมิ่นสถาบันมากอยู่แล้ว จะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “น้ำผึ้งหยดเดียว” คล้ายกับเหตุการณ์ 14 ตุลา โดยเฉพาะให้จับตาดูกลุ่มนักเรียนอาชีวะ ที่มีความรักสถาบันยิ่งชีพ ซึ่งขณะนี้ก็ได้เข้าร่วมกับกลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณเรียบร้อยแล้ว “คนที่รักสถาบัน เขามีความรู้สึก เขารู้สึกว่าสถาบันถูกรังแก โดยที่ไม่มีทางต่อสู้ เรื่องที่อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษพูดออกไปว่ายิ่งลักษณ์เป็นประมุขของประเทศ นั้น จึงมีโอกาสที่จะเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวนำไปสู่ความรุนแรงได้อีกไม่นานนี้” หมอชนบทรอจังหวะเตรียมเคลื่อนล้ม รบ. ปัจจัยที่ 17 ที่มองข้ามไม่ได้ คือการเข้ามารุกคืบ ระบบสาธารณสุขเพื่อวัตถุประสงค์ในการเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจภาคเอกชน สอดรับกับนโยบายเมดิคัลฮับ โดยเฉพาะคนใกล้ชิดนายกฯ ยิ่งลักษณ์อย่าง นพ.ประดิษฐ สินธุวรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ออกแนวคิดเรื่อง P4P และการปฏิรูประบบสาธารณสุขรวบอำนาจองค์กรตระกูล ส. โดยเฉพาะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. กลับมาสู่อำนาจเบ็ดเสร็จของฝ่ายการเมืองที่คุมข้าราชการระดับสูงได้หมด จากการโยกย้ายคนของตัวเองขึ้นสู่ตำแหน่งใหญ่ๆ หมดแล้ว ทั้ง นพ.สุพรรณ ศรีธรรมา รองปลัดฯ รับหน้าเสื่อชี้แจง P4P ตลอด ได้รับปูมบำเหน็จเป็น อธิบดีกรมการแพทย์, นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดฯ ยกร่างปฏิรูป ก.สธ. ได้ตำแหน่งอธิบดีกรมควบคุมโรค, นพ.ทรงยศ ชัยชนะ ผู้ตรวจ ได้ขึ้นเป็นรองปลัด และ นพ.อำนวย กาจีนะ ผู้ตรวจ ได้ขึ้นเป็นรองปลัด อย่าลืมว่าเรื่องของ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เอามาใช้จนได้รับคะแนนนิยมทางการเมืองอย่างท่วมท้นนั้นเป็นความคิดของกลุ่ม แพทย์ชนบท ซึ่งช่วงแรกก็ให้ความสำคัญกับกลุ่มแพทย์ชนบทให้ดำเนินงานเรื่องนี้ แต่ตอนนี้กลับหักด้ามพร้าด้วยเข่า ยอมแตกหักกับกลุ่มแพทย์ชนบทด้วยการหักคอเอาอำนาจคืน กลุ่มหมอชนบทและบุคลากรทางการแพทย์ในชนบทก็จะเป็นอีกกลุ่มที่ออกมาต่อต้าน นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ อดีตประธานกลุ่มแพทย์ชนบท กล่าวว่า แพทย์ชนบท และบุคลากรทางการแพทย์ในชนบทเวลานี้ก็กำลังรอจังหวะที่จะออกมาขับเคลื่อนต่อ ต้านรัฐบาล ซึ่งคิดว่าอีกไม่นาน เพราะถือว่าปัญหาด้านสาธารณสุขถึงขั้นสุกงอมเต็มที่แล้วเหมือนกัน โดยเฉพาะท่าทีของรัฐมนตรีที่ชัดเจนว่าสนับสนุนภาคเอกชน โดยผลักดันโครงการ Medical Hup อย่างเดียว ไม่สนใจว่าประชาชนคนไทยจะเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ลำบากขึ้น โดยเฉพาะท่าทีในการตัดงบ พยายามลดอำนาจของหน่วยงานระบบสาธารณสุขที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ก็มีความชัดเจนว่าต้องการทำลายระบบดูแลสุขภาพของประชาชน ทั้งๆ ที่เงินที่มาดูแลภาคประชาชนก็เป็นเงินจากระบบภาษี และมีคนไข้จำนวนมาก “เราไม่เชื่อว่ารัฐมนตรีจะทำไปคนเดียวโดยไม่ได้รับการสั่งการจากคน ข้างนอก ซึ่งส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ดูเหมือนฝ่ายการเมืองจะทำให้โรงพยาบาลรัฐอ่อนแอลงเรื่อยๆ ทั้งการขาดแคลนหมอ พยาบาล รวมถึงเครื่องมือแพทย์ ที่สุดท้ายภาคเอกชนจะได้ประโยชน์ไปเต็มๆ แถมภาคเอกชนเองก็มีความเข้มแข็งมาก ทั้งมีการเทกโอเวอร์โรงพยาบาลใหญ่ๆ รองรับ Medical Hub เต็มที่” อีกทั้งการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านมา ยังมีความชัดเจนด้วยว่าคนที่ใกล้ชิดนักการเมืองนั้นได้ประโยชน์ ซึ่งคนเหล่านี้ใช่ว่าจะผลักดันนโยบายให้ประชาชน มีแต่ช่วยผลักดันให้โรงพยาบาลเอกชนโตขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่แพทย์ชนบทรับไม่ได้ “ปล่อยไว้ไม่ได้หรอก ประเทศชาติจะล่มสลาย และต้องจับตาดูนะ ว่าเมื่อเงินกู้ 2 ล้านล้านผ่าน อีกหน่อยงบด้านสาธารณสุข งบด้านการศึกษาของประเทศจะถูกตัดลดไปอีก ซึ่งเป็นเรื่องที่ย่ำแย่” นพ.อารักษ์ กล่าว ด้วยประเด็นปัญหาทั้ง 17 ข้อนั้น จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่จะทำให้การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนมีความแหลมคมและ เข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยเข้าร่วมการเคลื่อนไหวต้านระบอบทักษิณที่ผ่านๆ มา ก็เริ่มจะโดดเข้ามาร่วมเคลื่อนไหวเพิ่มจำนวนจากสิบ เป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น และอาจนำไปสู่จำนวนแสน จำนวนล้าน ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ คาดไม่ถึงก็เป็นได้ !? |
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน