สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ : แผนการปฏิรูปกฎหมายและภาษีแบบเร่งด่วน (Fast Track) 2

จากประชาชาติธุรกิจ

3. การปรับโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่ม:  มาตรการระยะกลาง
   

3.1 ควรมีการเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามขั้นบันไดเป็นเริ่มจาก 8, 9, 10% ภายใน 3 ปี (เพราะภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยขณะนี้ต่ำที่สุดในโลกอยู่แล้ว)  โดยอาจเริ่มปี 2558 เพื่อชดเชยกับเงินได้ที่หายไปจากการลดภาษีเงินได้  แต่มีการแก้ไขการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้รวดเร็ว
  

3.2 มีมาตรการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคสำหรับผู้มี รายได้น้อยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้มีรายได้ไม่เกิน 20,000 บาท ต่อเดือน หรือหากไม่ยกเว้นอาจมีการให้ออกบัตรเครดิตภาษีหรือคูปองเท่ากับภาษีมูลค่า เพิ่ม 8-10% ของรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท เพื่อใช้ชำระค่าน้ำค่าไฟให้ทางราชการหรือเป็นคูปองเงินสดเพื่อชดเชยการเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  

3.3 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายแบบฝากขาย หรือ consignment ให้ใช้บังคับกับห้างสรรพสินค้าหรือ super store เพื่อให้ผู้ผลิตขายสินค้าโดยไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อส่งมอบสินค้า กำหนดเงื่อนไขให้มีลักษณะผ่อนปรนและบริหารจัดการได้ง่ายเพื่อให้ผู้ผลิต สินค้าระดับ SME ไม่ต้องแบกรับภาระภาษีในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ห้างสรรพสินค้า 
  

3.4 ปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างภาษีมูลค่าเพิ่ม การส่งออกของผู้ประกอบการที่ไม่ได้เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ ให้ใช้ภาษี 0% ได้ง่ายขึ้น 

 

 

4. การปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร:  มาตรการระยะเร่งด่วนและระยะกลาง
  

มาตรการระยะเร่งด่วน
  

4.1 พิจารณายกเลิกเงินสินบนและรางวัลเพราะปัจจุบันเป็นช่องทางการทุจริต ทั้งโดยชอบและไม่ชอบด้วยกฎหมายในการข่มขู่ผู้ประกอบการที่สุจริต  เงินสินบนรางวัลนำจับจะตกเป็นของเจ้าหน้าที่ 55%
  

มาตรการระยะกลาง
  

4.2 แก้ไขกฎหมายศุลกากรให้เป็นไปตามแนวทางของนานาชาติโดยเฉพาะการกำหนด โทษควรเป็นการเรียกเก็บภาษีทางแพ่งสำหรับผู้ที่ไม่ได้ตั้งใจและกำหนดฐานความ ผิดอาญาให้ชัดเจน
  

4.3 ส่งเสริมให้บริการจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดภาษีอากร หรือเขตส่งออกให้สะดวกรวดเร็วและง่ายขึ้น
  

4.4 การลดอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าฟุ่มเฟือยบางประเภทเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการช็อปปิ้งและท่องเที่ยว

   

ในการที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและช็อปปิ้งและป้องกัน เงินตราออกนอกประเทศจากผู้ที่ไปลงทุน  จึงสมควรให้มีการพิจารณาการลดอัตราสินค้าฟุ่มเฟือยเพื่อให้เมืองไทยเป็น ศูนย์กลางการช็อปปิ้ง  เช่น ฮ่องกงและสิงคโปร์  โดยการจะลดอัตราภาษีขาเข้าลงแทนที่จะมีการปล่อยให้มีการหนีภาษีสำหรับ อภิสิทธิ์ชน  เช่น ไวน์ ในสิงคโปร์เก็บภาษีในอัตราขวดละ 10 เหรียญ  ไม่ว่ามูลค่าไวน์จะราคาเท่าใดหรือของ Brandname ที่มีราคาสูง ก็ควรจะไปลดภาษีลงให้ใกล้เคียงกับต่างประเทศเพราะหากบริษัทเหล่านั้นกำไรก็ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอยู่ดีเพราะของเหล่านี้มีขายในเมืองไทยก็ขาย ได้ถูกกว่าสิงคโปร์และฮ่องกงเพราะค่าเช่าและต้นทุนถูกกว่า 2 ประเทศนี้มาก  และจะยังมีการจ้างแรงงาน การเช่าทรัพย์สิน จากเจ้าของศูนย์การค้าได้  อันจะเป็นการครบวงจรทางเศรษฐกิจ 

  

 

ปัจจุบันระหว่างเงินได้จากศุลกากรไม่ควรจะเป็นรายได้หลัก  แต่รัฐบาลควรคิดถึงผลกระทบอื่น ๆ ในระยะยาว  ไม่ว่าจะเป็นหน่วยผลพลอยได้จากเงินได้จากการจ้างงาน  และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และท่องเที่ยว  แต่การกำหนดเงื่อนไขสินค้าฟุ่มเฟือย  คงจะต้องดูถึงราคาสินค้าว่าเป็นของ Brandname จริงหรือไม่เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศ  เช่น กำหนดมูลค่าสินค้า ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 5,000-10,000 บาท เป็นต้น

 

5. การปรับโครงสร้างภาษีสรรพาสามิต: มาตรการระยะกลาง

  

5.1 ควรมีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตให้เป็นธรรมโดยเฉพาะวธีการกำหนดราคาให้ชัดเจนโปร่งใส

  

5.2 กำหนดสินค้าที่จำเป็นจริง ๆ สำหรับภาษีสรรพสามิตและหากยกเว้นก็ไม่ต้องทำรายงาน  เช่น ภาษีสรรพสามิต เครื่องดื่ม น้ำผลไม้

 

 

6. การปรับโครงสร้างเกี่ยวกับระงับข้อพิพาทภาษีอากรรวมทั้งการอุทธรณ์และการดำเนินคดีภาษีของกฎหมายภาษีทุกฉบับ:  มาตรการระยะกลาง

  

6.1 ควรมีการพิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการชี้ขาดข้อพิพาทหรืออุทธรณ์ของ กฎหมายภาษีทุกฉบับโดยบุคคลภายนอกที่ไม่มีส่วนได้เสียมีส่วนในการพิจารณาและ ควรกำหนดกรอบเวลาให้ชัดเจนในการพิจารณาคำขออุทรณ์และไม่ควรกำหนดเงื่อนไข เรื่องอุทธรณ์ก่อนนำคดีไปสู่ศาล  โดยเปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีมีสิทธิเลิกว่าจะอุทธรณ์หรือนำคดีไปสู่ศาล

  

6.2 ควรมีคณะกรรมการกลางวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นภาษีอากรของกฎหมายภาษีที่ มีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในการวินิจฉัยและผูกพันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

   

6.3 ให้นำคดีภาษีทั้งคดีแพ่งและอาญาทางภาษีมาอยู่ในศาลภาษีอากร

  

7. การเสนอกฎหมายภาษีทรัพย์สินและภาษีอื่น ๆ : มาตรการยะยะกลาง
  

พิจารณา ยกเลิกภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ ใช้ร่างพระราชบัญญัติภาษีทรัพย์สินโดยเร็วโดยนำร่างเดิมมาพิจารณาโดยเร็ว  รวมทั้งภาษีสิ่งแวดล้อม ภาษีน้ำท่วม เพื่อเรียกเก็บจากผู้ได้รับประโยชน์และนำไปใช้จ่ายในท้องถิ่น

 

 

บทส่งท้าย


ความสำเร็จในการปฏิรูปภาษีนั้นเป็นเรื่อง ที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคธุรกิจและประชาชนผู้มี หน้าที่ต้องเสียภาษีโดยเฉพาะการกระจายรายได้เงินภาษีที่จะนำมาใช้จ่ายในการ พัฒนาประเทศอย่างโปร่งใส ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการศึกษาเรื่องการปฏิรูปภาษีมามากพอแล้ว  ถึงเวลาที่จะต้องนำเอาผลการศึกษาดังกล่าวมาพิจารณาคัดเลือกและทำให้การ ปฏิรูปภาษีให้เป็นจริงได้โดยยึดหลักการเก็บภาษีที่ต้องโปร่งใส เป็นธรรม สร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนทุกภาคส่วนและสร้างจิตสำนึกให้ผู้เสียภษีและ ผู้ใช้เงินภาษีว่าการพัฒนาประเทศมาจากเงินภาษีต้องใช้อย่างคุ้มค่า ต้องไม่ให้มีการทุจริตการใช้เงินภาษีในทุกระดับ เลิกการทำงานแบบ NATO (No Action Talk Only) แต่ควรทำแบบ AFTA (Action First Talk After)

  

ภารกิจนี้เป็นภาระที่ยิ่งใหญ่ การปฏิรูปภาษีเป็นจริงได้ก็ต้องด้วยเจตนาแนวแน่ของ คสช. เพื่อการผลักดันการปฏิรูปภาษีให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงโดยผมเชื่อว่าหากจะ ได้รับความสนับสนุนจากประชาชนอย่างแท้จริง ก็จะสามารถปฏิรูปภาษีอากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมจะเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศคืนได้อย่าง แน่นอน

 

 

................

 

ข้อเสนอนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ผูกพันองค์กรที่ผู้เขียนปฏิบัติหน้าที่อยู่


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ศาสตราจารย์พิเศษ กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ แผนการปฏิรูปกฎหมาย ภาษีแบบเร่งด่วน Fast Track

view