AIIB, New Silk Road, TPP และ Asia Pivot
โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการลงนามจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของเอเชีย
(Asia Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) โดยมีสมาชิกร่วมก่อตั้งทั้งสิ้น 57 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศสำคัญๆ เช่น จีน ซึ่งเป็นเจ้าภาพ เยอรมนี อังกฤษ และออสเตรเลีย ตลอดจนเกือบทุกประเทศในเอเชียรวมทั้งไทย จะมี 2 ประเทศหลักที่ไม่ได้เข้าร่วม ได้แก่ สหรัฐและญี่ปุ่น แต่การจัดตั้ง AIIB เกือบจะไม่ได้มีการรับรู้โดยสาธารณชน เพราะถูกกลบโดยข่าวเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศกรีซ
ในขณะเดียวกัน ข่าวเกี่ยวกับการตัดสินของศาลฎีกาสหรัฐ ซึ่งสนับสนุนโครงการประกันสุขภาพของประธานาธิบดีโอบามา และการตัดสินให้คนรักร่วมเพศ มีสิทธิทางกฎหมายที่จะจดทะเบียนแต่งงานกันได้ในสหรัฐ ก็บดบังข่าวการผ่านกฎหมายให้อำนาจประธานาธิบดีสหรัฐ เจรจาทำความตกลงเขตการค้าเสรีแบบรวบรัด (fast track) กล่าวคือ เมื่อเจรจาเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะสามารถนำเสนอเป็นกฎหมายให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบได้ แต่แก้ไขในเนื้อหาสาระไม่ได้ (up or down vote)
AIIB นั้น เป็นเครื่องมือทางการเงินการคลังที่สำคัญยิ่งของจีน ในการสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจีนมองว่าจะนำไปสู่การสร้างความเชื่อมโยงทางถนน ทางรถไฟ ทางอากาศ ทางทะเล ทางน้ำ ฯลฯ ในเอเชีย ซึ่งจะขยายไปสู่แอฟริกาและยุโรปต่อไปได้ อันจะเป็นส่วนสำคัญของการสร้างโครงข่ายทางเศรษฐกิจที่จีนเรียกว่า News Silk Road ซึ่งหากศึกษาแผนการดังกล่าว ก็จะเห็นว่า ยุทธศาสตร์ทาง เศรษฐกิจของผู้นำจีนคือการใช้การพัฒนาความเชื่อมโยงทางคมนาคม เป็นพื้นฐานของการส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยจีนเป็นจุดศูนย์กลางของการรวมตัวดังกล่าว
ทั้งนี้ AIIB ถูกออกแบบให้มีความคล่องตัวมากกว่าองค์กรประเภทเดียวกัน ที่ได้ถูกจัดตั้งโดยประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ไอเอ็มเอฟ (ซึ่งสหรัฐมีคะแนนเสียงสูงพอที่จะยับยั้งการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ และให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ต้องเป็นคนยุโรป) ธนาคารโลก (ซึ่งผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธาน ต้องเป็นคนสัญชาติอเมริกา) และธนาคารเพื่อการพัฒนาของเอเชีย (ซึ่งประธานจะต้องเป็นคนสัญชาติญี่ปุ่น) แต่กรณีของ AIIB นั้น แม้จีนจะเป็นประเทศที่ลงเงินมากที่สุด แต่ก็จะมีคะแนนเสียงจำกัดที่ 25% จึงจะไม่ได้มีคะแนนเสียงสูงพอที่จะยับยั้งการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ได้อย่างเด็ดขาด
ดังนั้น AIIB จึงเป็นองค์กรที่ควรติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะได้ถูกกำหนดให้เงินร่วมลงทุนสูงถึง 100,000 ล้านเหรียญ และสามารถขยายเพิ่มได้อีก โดยคาดหวังว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีหน้า และน่าจะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองของจีน ในภูมิภาคเอเชียและเศรษฐกิจโลกโดยรวม
ในขณะเดียวกัน การผ่านกฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษกับประธานาธิบดีสหรัฐเป็นเวลานานถึง 6 ปี ในการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี ก็เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อ 2-3 ปีก่อน เราจะจำได้ว่าประธานาธิบดีโอบามา เป็นไม้เบื่อไม้เมากับรัฐสภา ซึ่งพรรครีพับลิกันมีเสียงข้างมากคุมได้ทั้ง 2 สภา ทำให้เกิดวิกฤติ ไม่สามารถผ่านกฎหมายงบประมาณ และขัดแย้งกันเรื่องงบประมาณ จนกระทั่งพนักงานของรัฐบาลต้องหยุดงาน
แต่มาวันนี้ประธานาธิบดีโอบามา กลับร่วมมือกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสมาชิกของพรรครีพับลิกัน จนสามารถผ่านกฎหมายให้อำนาจพิเศษ เพื่อเจรจาเขตการค้าเสรีได้ ทั้งๆ ที่เสียงส่วนใหญ่ของพรรคเดโมแครต คัดค้านการเปิดตลาดของสหรัฐอย่างแข็งขัน ทั้งนี้ เพราะส่วนหนึ่งประธานาธิบดีโอบามา ต้องการจะมีผลงานในการเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง คือ การการทำเขตการค้าเสรีกับกลุ่มประเทศหลักรอบมหาสมุทรแปซิฟิก หรือ Trans Pacific Partnership (TPP)
ทั้งนี้ ในช่วงที่ประธานาธิบดีโอบามาพยายามขอเสียงสนับสนุน TPP นั้น ได้ตอกย้ำให้ สส.และ สว.ของสหรัฐเข้าใจว่าการก่อตั้ง TPP นั้น หมายความว่าสหรัฐและกลุ่ม TPP จะเป็นผู้ชี้นำและ “เขียนกฎเกณฑ์” ของการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาค และ หากประธานาธิบดีสหรัฐไม่ได้มาซึ่งอำนาจพิเศษ ในการเจรจาเขตการค้าเสรีดังกล่าว นักธุรกิจสหรัฐก็จะเสียเปรียบในการเข้าสู่ตลาดในเอเชีย ที่กำลังขยายตัวอย่างก้าวกระโดด
และหากจะพูดกันอย่างไม่อ้อมค้อมก็คือ TPP นั้น จะเป็นเครื่องมือและยุทธศาสตร์ที่สำคัญของสหรัฐและญี่ปุ่น ในการยืนยันและรักษาสถานะของความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ทั้งในทวีปอเมริกาและทวีปเอเชีย ทั้งนี้ เพราะ TPP มีสมาชิกทั้งสิ้น 12 ประเทศ ได้แก่ ประเทศหลักในเอเชีย ยกเว้นจีน เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งในส่วนของเกาหลีใต้นั้น คงไม่มีปัญหาในการเข้าร่วม TPP มากนัก เพราะมีข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอยู่แล้ว ในขณะที่อินโดนีเซีย ก็คงจะได้รับการต้อนรับด้วยดี หากแสดงเจตนารมณ์ที่จะเข้าร่วมเขตการค้าเสรีดังกล่าว สำหรับจีนก็จะต้องตัดสินใจว่า จะยอมรับกฎกติกาที่ญี่ปุ่นและสหรัฐจะกำหนดขึ้นหรือไม่ และมองได้ว่า TPP นั้น สามารถบดบังยุทธศาสตร์ New Silk Road ของจีนได้ ประเทศที่จะตกที่นั่งลำบากน่าจะเป็นประเทศไทย ซึ่งผมจะขยายความในบทความต่อไป
สำหรับขั้นตอนต่อไป ผมเชื่อว่าสหรัฐและญี่ปุ่น จะเร่งเจรจาทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกัน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นต้นแบบ (template) ของข้อตกลงที่สหรัฐจะจัดทำกับประเทศสมาชิก TPP อีก 10 ประเทศ ให้แล้วเสร็จในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้สามารถเปิดเผยสาระของข้อตกลงทั้งหมดต่อสาธารณชนได้ในเดือนสิงหาคม เพราะกฎหมายกำหนดว่า จะต้องให้ประชาชนได้มีเวลาศึกษาข้อตกลงดัง กล่าวเป็นเวลาอย่างน้อย 60 วัน และต้องทิ้งช่วงเวลารวมทั้งสิ้น 4 เดือน จึงจะนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้
ซึ่งหากสามารถทำข้อตกลง TPP ให้แล้วเสร็จได้ภายในต้นเดือนสิงหาคม ก็จะสามารถนำไปสู่การพิจารณาและออกเสียงได้ภายในปลายปีนี้ ทั้งนี้ เพราะประธานาธิบดีโอบามาทราบดีว่า หากรีรอไปถึงปีหน้า TPP จะไม่สามารถผ่านสภาได้ เพราะ จะเข้าสู่การหาเสียง เพื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งการเมืองจะร้อนแรงมากยิ่งขึ้น และการทำเขตการค้าเสรีนั้น กระทบต่อฐานเสียงของพรรคเดโมแครต เช่น สหภาพแรงงานอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ตัวเต็งที่จะได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนของพรรคเดโมแครต คือนางฮิลลารี คลินตัน ไม่กล้าแสดงจุดยืนของตนเกี่ยวกับ TPP โดยกล่าวว่าจะต้องขอดูรายละเอียดก่อน ทั้งๆ ที่ครั้งที่นางฮิลลารี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ ก็ได้รับหน้าที่หลักในการก่อตั้งและขับเคลื่อนเสียงสนับสนุน TPP ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของนโยบายหักเหมาสู่เอเชียหรือ Asia Pivot ของประธานาธิบดีโอบามา
- See more at: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/635019#sthash.DdptD5Lk.dpufเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการลงนามจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของเอเชีย
(Asia Infrastructure Investment Bank หรือ AIIB) โดยมีสมาชิกร่วมก่อตั้งทั้งสิ้น 57 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศสำคัญๆ เช่น จีน ซึ่งเป็นเจ้าภาพ เยอรมนี อังกฤษ และออสเตรเลีย ตลอดจนเกือบทุกประเทศในเอเชียรวมทั้งไทย จะมี 2 ประเทศหลักที่ไม่ได้เข้าร่วม ได้แก่ สหรัฐและญี่ปุ่น แต่การจัดตั้ง AIIB เกือบจะไม่ได้มีการรับรู้โดยสาธารณชน เพราะถูกกลบโดยข่าวเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศกรีซ
ในขณะเดียวกัน ข่าวเกี่ยวกับการตัดสินของศาลฎีกาสหรัฐ ซึ่งสนับสนุนโครงการประกันสุขภาพของประธานาธิบดีโอบามา และการตัดสินให้คนรักร่วมเพศ มีสิทธิทางกฎหมายที่จะจดทะเบียนแต่งงานกันได้ในสหรัฐ ก็บดบังข่าวการผ่านกฎหมายให้อำนาจประธานาธิบดีสหรัฐ เจรจาทำความตกลงเขตการค้าเสรีแบบรวบรัด (fast track) กล่าวคือ เมื่อเจรจาเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะสามารถนำเสนอเป็นกฎหมายให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบได้ แต่แก้ไขในเนื้อหาสาระไม่ได้ (up or down vote)
AIIB นั้น เป็นเครื่องมือทางการเงินการคลังที่สำคัญยิ่งของจีน ในการสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจีนมองว่าจะนำไปสู่การสร้างความเชื่อมโยงทางถนน ทางรถไฟ ทางอากาศ ทางทะเล ทางน้ำ ฯลฯ ในเอเชีย ซึ่งจะขยายไปสู่แอฟริกาและยุโรปต่อไปได้ อันจะเป็นส่วนสำคัญของการสร้างโครงข่ายทางเศรษฐกิจที่จีนเรียกว่า News Silk Road ซึ่งหากศึกษาแผนการดังกล่าว ก็จะเห็นว่า ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจของผู้นำจีนคือการใช้การพัฒนาความเชื่อมโยงทางคมนาคม เป็นพื้นฐานของการส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยจีนเป็นจุดศูนย์กลางของการรวมตัวดังกล่าว
ทั้งนี้ AIIB ถูกออกแบบให้มีความคล่องตัวมากกว่าองค์กรประเภทเดียวกัน ที่ได้ถูกจัดตั้งโดยประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ไอเอ็มเอฟ (ซึ่งสหรัฐมีคะแนนเสียงสูงพอที่จะยับยั้งการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ และให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ต้องเป็นคนยุโรป) ธนาคารโลก (ซึ่งผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธาน ต้องเป็นคนสัญชาติอเมริกา) และธนาคารเพื่อการพัฒนาของเอเชีย (ซึ่งประธานจะต้องเป็นคนสัญชาติญี่ปุ่น) แต่กรณีของ AIIB นั้น แม้จีนจะเป็นประเทศที่ลงเงินมากที่สุด แต่ก็จะมีคะแนนเสียงจำกัดที่ 25% จึงจะไม่ได้มีคะแนนเสียงสูงพอที่จะยับยั้งการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ได้อย่างเด็ดขาด
ดังนั้น AIIB จึงเป็นองค์กรที่ควรติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะได้ถูกกำหนดให้เงินร่วมลงทุนสูงถึง 100,000 ล้านเหรียญ และสามารถขยายเพิ่มได้อีก โดยคาดหวังว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีหน้า และน่าจะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองของจีน ในภูมิภาคเอเชียและเศรษฐกิจโลกโดยรวม
ในขณะเดียวกัน การผ่านกฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษกับประธานาธิบดีสหรัฐเป็นเวลานานถึง 6 ปี ในการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี ก็เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อ 2-3 ปีก่อน เราจะจำได้ว่าประธานาธิบดีโอบามา เป็นไม้เบื่อไม้เมากับรัฐสภา ซึ่งพรรครีพับลิกันมีเสียงข้างมากคุมได้ทั้ง 2 สภา ทำให้เกิดวิกฤติ ไม่สามารถผ่านกฎหมายงบประมาณ และขัดแย้งกันเรื่องงบประมาณ จนกระทั่งพนักงานของรัฐบาลต้องหยุดงาน
แต่มาวันนี้ประธานาธิบดีโอบามา กลับร่วมมือกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสมาชิกของพรรครีพับลิกัน จนสามารถผ่านกฎหมายให้อำนาจพิเศษ เพื่อเจรจาเขตการค้าเสรีได้ ทั้งๆ ที่เสียงส่วนใหญ่ของพรรคเดโมแครต คัดค้านการเปิดตลาดของสหรัฐอย่างแข็งขัน ทั้งนี้ เพราะส่วนหนึ่งประธานาธิบดีโอบามา ต้องการจะมีผลงานในการเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง คือ การการทำเขตการค้าเสรีกับกลุ่มประเทศหลักรอบมหาสมุทรแปซิฟิก หรือ Trans Pacific Partnership (TPP)
ทั้งนี้ ในช่วงที่ประธานาธิบดีโอบามาพยายามขอเสียงสนับสนุน TPP นั้น ได้ตอกย้ำให้ สส.และ สว.ของสหรัฐเข้าใจว่าการก่อตั้ง TPP นั้น หมายความว่าสหรัฐและกลุ่ม TPP จะเป็นผู้ชี้นำและ “เขียนกฎเกณฑ์” ของการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาค และหากประธานาธิบดีสหรัฐไม่ได้มาซึ่งอำนาจพิเศษ ในการเจรจาเขตการค้าเสรีดังกล่าว นักธุรกิจสหรัฐก็จะเสียเปรียบในการเข้าสู่ตลาดในเอเชีย ที่กำลังขยายตัวอย่างก้าวกระโดด
และหากจะพูดกันอย่างไม่อ้อมค้อมก็คือ TPP นั้น จะเป็นเครื่องมือและยุทธศาสตร์ที่สำคัญของสหรัฐและญี่ปุ่น ในการยืนยันและรักษาสถานะของความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ทั้งในทวีปอเมริกาและทวีปเอเชีย ทั้งนี้ เพราะ TPP มีสมาชิกทั้งสิ้น 12 ประเทศ ได้แก่ ประเทศหลักในเอเชีย ยกเว้นจีน เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งในส่วนของเกาหลีใต้นั้น คงไม่มีปัญหาในการเข้าร่วม TPP มากนัก เพราะมีข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอยู่แล้ว ในขณะที่อินโดนีเซีย ก็คงจะได้รับการต้อนรับด้วยดี หากแสดงเจตนารมณ์ที่จะเข้าร่วมเขตการค้าเสรีดังกล่าว สำหรับจีนก็จะต้องตัดสินใจว่า จะยอมรับกฎกติกาที่ญี่ปุ่นและสหรัฐจะกำหนดขึ้นหรือไม่ และมองได้ว่า TPP นั้น สามารถบดบังยุทธศาสตร์ New Silk Road ของจีนได้ ประเทศที่จะตกที่นั่งลำบากน่าจะเป็นประเทศไทย ซึ่งผมจะขยายความในบทความต่อไป
สำหรับขั้นตอนต่อไป ผมเชื่อว่าสหรัฐและญี่ปุ่น จะเร่งเจรจาทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกัน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นต้นแบบ (template) ของข้อตกลงที่สหรัฐจะจัดทำกับประเทศสมาชิก TPP อีก 10 ประเทศ ให้แล้วเสร็จในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้สามารถเปิดเผยสาระของข้อตกลงทั้งหมดต่อสาธารณชนได้ในเดือนสิงหาคม เพราะกฎหมายกำหนดว่า จะต้องให้ประชาชนได้มีเวลาศึกษาข้อตกลงดังกล่าวเป็นเวลาอย่างน้อย 60 วัน และต้องทิ้งช่วงเวลารวมทั้งสิ้น 4 เดือน จึงจะนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้
ซึ่งหากสามารถทำข้อตกลง TPP ให้แล้วเสร็จได้ภายในต้นเดือนสิงหาคม ก็จะสามารถนำไปสู่การพิจารณาและออกเสียงได้ภายในปลายปีนี้ ทั้งนี้ เพราะประธานาธิบดีโอบามาทราบดีว่า หากรีรอไปถึงปีหน้า TPP จะไม่สามารถผ่านสภาได้ เพราะจะเข้าสู่การหาเสียง เพื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งการเมืองจะร้อนแรงมากยิ่งขึ้น และการทำเขตการค้าเสรีนั้น กระทบต่อฐานเสียงของพรรคเดโมแครต เช่น สหภาพแรงงานอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ตัวเต็งที่จะได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนของพรรคเดโมแครต คือนางฮิลลารี คลินตัน ไม่กล้าแสดงจุดยืนของตนเกี่ยวกับ TPP โดยกล่าวว่าจะต้องขอดูรายละเอียดก่อน ทั้งๆ ที่ครั้งที่นางฮิลลารี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ ก็ได้รับหน้าที่หลักในการก่อตั้งและขับเคลื่อนเสียงสนับสนุน TPP ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของนโยบายหักเหมาสู่เอเชียหรือ Asia Pivot ของประธานาธิบดีโอบามา
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน