จากประชาชาติธุรกิจ
โดย ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร, อรกันยา เตชะไพบูลย์
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจจีนในช่วงที่ผ่านมา ทั้งการแผ่วความร้อนแรงลงของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การซบเซาลงของภาคอสังหาริมทรัพย์ ความผันผวนในตลาดหลักทรัพย์ เงินทุนไหลออก และแรงกดดันต่อค่าเงิน อาจทำให้นักเศรษฐศาสตร์หลายคนหวนรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540มาลองดูเครื่องชี้เศรษฐกิจเป็นรายตัวไปว่า "เหมือน" หรือ "ต่าง" กันไหม อย่างไร
เศรษฐกิจไทยก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง มีลักษณะเป็นเศรษฐกิจขนาดเล็กแบบเปิด พึ่งพาอุปสงค์จากต่างประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนจึงเปราะบางและเสี่ยงต่อความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจโลกมากกว่าในขณะที่เศรษฐกิจจีนในปัจจุบันมีลักษณะค่อนข้างปิดและพึ่งพาอุปสงค์ภายในประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนจึงมีภูมิคุ้มกันสูงกว่าและในทางตรงกันข้าม กลับเป็นความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจจีนที่มีอิทธิพลต่อภาวะเศรษฐกิจของโลก ทั้งนี้ ลักษณะเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศก็มีความคล้ายคลึงกันในแง่ของการพึ่งพาการลงทุนในสัดส่วนสูง
การ ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่การเปิดเสรีทางการเงินและการดำรงอัตรา ดอกเบี้ยในอัตราสูงของไทยในอดีตทำให้มีการกู้เงินเป็นสกุลต่างชาติโดย ปราศจากการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินเข้ามาใช้และมีการนำเข้าสินค้า ฟุ่มเฟือยเพื่อสนองอุปสงค์ของผู้มีฐานะร่ำรวยจากฟองสบู่ในตลาดหลักทรัพย์และ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ทำให้ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องและมีเงินทุน สำรองระหว่างประเทศเพียงร้อยละ70.4ของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น ซึ่งความขัดแย้งกันเองของนโยบายทางการเงินตามหลัก Impossible Trinity และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่อ่อนแอ จึงทำให้ ไทยตกเป็นเป้าหมายการโจมตีค่าเงิน
ส่วนเศรษฐกิจจีน ในขณะนี้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งมากกว่าสะท้อนจาก ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่องและเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มี มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.3 เท่า แต่ดุลบัญชีเงินทุนที่ขาดดุล โดยเฉพาะจากบัญชีการเงินที่ไม่รวมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่ขาดดุลกว่า 5.0 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2558 เริ่มส่งสัญญาณที่น่ากังวลต่อสถานการณ์เงินทุนไหลออกจากจีน และได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนลดลงอย่างรวดเร็วจนน่าเป็นห่วง และอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนที่มีแรงกดดันให้อ่อนค่าต่อเนื่อง
แม้ว่า ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกับการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของ ไทยในอดีตแต่ยังนับว่ามีความยืดหยุ่นและมีกลไกที่เปิดให้อัตราแลกเปลี่ยน เคลื่อนไหวได้ตามกลไกตลาดมากกว่าประกอบกับการมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ มากทำให้การโจมตีค่าเงินหยวนเป็นไปได้ยากกว่าอีกทั้งสถานะสกุลเงิน SDR ของ IMF จะทำให้มีอุปสงค์ต่อการถือครองเงินหยวนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2559 เป็นต้นไป และการผลักดันให้เงินหยวนเป็นเงินสกุลหลักของโลก ได้ทำให้การใช้เงินหยวนเพื่อการใช้จ่ายมีมากเป็นอันดับ 4 ของโลก จะสามารถช่วยรับประกันเสถียรภาพของเงินหยวนได้ในระดับหนึ่ง
แต่สถานการณ์เงินทุนไหลออกจากจีนเพื่อไปสู่ตลาดที่ปลอดภัย ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ จะทำให้เงินหยวนมีแนวโน้มอ่อนค่าลงและมีความผันผวนได้ในระยะสั้น
ในส่วนของภาวะฟองสบู่ในตลาดหลักทรัพย์นั้นมีความคล้ายคลึงกันดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยเพิ่มขึ้นกว่า8.1เท่าในช่วง 7 ปีก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ส่วนดัชนีตลาดหลักทรัพย์จีนเพิ่มขึ้นกว่า 1.5 เท่า ในเวลา 1 ปี สวนทางกับปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจที่ชะลอลง โดยตลาดหลักทรัพย์จีนหลังจากขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2558 ที่ดัชนี CSI 300 ปรับขึ้นไปแตะ 5,335 จุดนั้น ได้มีการปรับฐานลดลงควบคู่กับความผันผวนเป็นระยะ จนในเดือนมกราคม 2559 ดัชนี CSI 300 ลดลงมาที่ 2,946 จุด หรือลดลงร้อยละ -55.2 จากจุดสูงสุด ภายใน 7 เดือน ซึ่งแม้ได้ปรับลดลงมาก แต่ก็ยังคงอยู่เหนือระดับก่อนการก่อตัวของฟองสบู่พอสมควร
อีกทั้งยังมีมาตรการพยุงตลาดหลักทรัพย์อีกมากที่ทางการจีนนำมาใช้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดหลักทรัพย์ในลักษณะที่บิดเบือนกลไกตลาดและไม่ยั่งยืน เช่น การห้ามขายหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาของมาตรการอาจสร้างความปั่นป่วนในตลาดหลักทรัพย์ของจีนได้อีกหลายระลอก
ทาง ด้านภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งราคาเฉลี่ยบ้านเดี่ยวของไทยในอดีต เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ8.2เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าในส่วนของจีน กล่าวได้ว่าเป็นฟองสบู่ที่ได้เคยเกิดขึ้น และทางการจีนได้ออกมาตรการควบคุมที่ได้ผลดีเกินคาด
จนทำ ให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ตกอยู่ในภาวะซบเซาส่งผลให้ทางการจีนต้องหันกลับมา กระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์อีกครั้งในปัจจุบันเช่นการลดวงเงินดาวน์สำหรับ ซื้อบ้านหลังแรกและหลังที่สองแต่การกลับมาใช้นโยบายกระตุ้นอีกครั้ง อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้ในระยะต่อไป โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ที่ราคาบ้านใหม่เริ่มกลับมาพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วอีก ครั้ง
สรุปได้ว่าเศรษฐกิจจีนในปัจจุบันและเศรษฐกิจไทยในช่วง วิกฤตต้มยำกุ้งมีความคล้ายคลึงกันในหลายมุมแต่ก็ยังมีความแตกต่างกันโดย เฉพาะในแง่ของเสถียรภาพเศรษฐกิจ และลักษณะเฉพาะของระบบเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม (SocialistMarket Economy) ของจีน ซึ่งมีข้อได้เปรียบเศรษฐกิจแบบตลาด (Market Economy) ในแง่ที่ว่า ทางการจีนมีเครื่องมือที่หลากหลายและดำเนินนโยบายเศรษฐกิจได้ในขอบเขตที่ กว้างและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จึงสามารถจำกัดความเสี่ยงและบรรเทาความรุนแรงของความผันผวนได้มากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของนักลงทุนด้วย
อย่าง ไรก็ตาม แม้สถานการณ์เศรษฐกิจจีนในขณะนี้ จะไม่ได้ตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงเกิดวิกฤตในลักษณะเดียวกับเศรษฐกิจไทยในอดีต โดยสมบูรณ์ แต่เศรษฐกิจจีนก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายอื่นรอบด้าน โดยเฉพาะ 1) การหาจุดสมดุลระหว่างการปฏิรูปเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนขึ้นในระยะยาวกับการ พยุงเศรษฐกิจไม่ให้แผ่วความร้อนแรงลงอย่างรวดเร็วเกินไปในระยะสั้นซึ่งรวม ถึงการบรรเทาปัญหาการผลิตส่วนเกินในภาคอุตสาหกรรมอุปทานส่วนเกินใน ภาคอสังหาริมทรัพย์หนี้ระดับสูงในหลายภาคส่วนและความเหลื่อมล้ำในสังคม
2) การเปิดเสรีทางการเงินและการลงทุนกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุน ตลาดแลกเปลี่ยนเงินและภาวะเงินทุนไหลออก 3) การกำจัดทุจริตและการขาดธรรมาภิบาลในแวดวงราชการ ทั้งส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งหยั่งรากลึกจนก่อให้เกิดความเสียหายในเชิงเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลมายาวนาน
สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน