มองต่างมุม Double-dip Recession ประเมินปัจจัยเสี่ยง เปิดทรรศนะกูรู
จากประชาชาติธุรกิจ
หลายคน กำลังถกเถียงในประเด็นที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะกลับไปถดถอยอีกหรือไม่ หลังค่อย ๆ ฟื้นตัวอย่างเปราะบางในช่วงที่ผ่านมาท่ามกลางหลายปัจจัยลบที่ยังรุมเร้า ซึ่ง ยูเอสนิวส์ ได้รวบรวมเป็น 8 ปรากฏการณ์สำคัญที่อาจผลักเศรษฐกิจให้กลับไปติดบ่วงถดถอยอีกครั้ง
ปัจจัย แรกคือ การว่างงาน ซึ่งภาวะถดถอยทำให้ตำแหน่งงานหายวับไป 8 ล้านตำแหน่ง และตลาดแรงงานที่ย่ำแย่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญของการฟื้นตัวอย่างมี เสถียรภาพของเศรษฐกิจ แต่ปัญหาที่ ใหญ่กว่าคือเหล่านักเศรษฐศาสตร์ต่างประสานเสียงว่า แม้ในช่วงที่ผ่านมา แต่ละเดือนจะมีการจ้างงานสุทธิเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเติบโตก็ยังคงช้าเกินไป ซึ่งหาก ปราศจากการสร้างงานใหม่อย่างแข็งแกร่งในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า ตลาดแรงงานที่อ่อนแอจะเป็นแรงผลักให้เศรษฐกิจกลับไปถดถอยอีกรอบ
ขณะ เดียวกัน ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นต้นตอของวิกฤตการเงินโลกครั้งล่าสุด ก็เป็นปัจจัยที่ต้องจับตามอง ทั้งนี้ เมื่อต้นปี 2552 ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้เดินหน้ามาตรการภาษี เพื่อกระตุ้นการซื้อบ้าน สำหรับผู้ที่เซ็นสัญญาซื้อบ้านภายในวันที่ 30 เมษายนปีนี้ แต่เมื่อมาตรการนี้หมดอายุลง ก็สร้างความวิตกว่าต่อไปนี้ดีมานด์จะมาจากที่ไหน ดูได้จากยอดขายบ้านใหม่ในเดือนพฤษภาคมร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ นับตั้งแต่ปี 2506 และมีความเป็นไปได้สูงว่าความต้องการซื้อบ้านจะชะลอตัวลงต่อไปในช่วงไม่กี่ เดือนต่อจากนี้ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างแน่นอน
ส่วน ปัจจัยต่อมาคือ การสิ้นสุดของมาตรการกระตุ้น ที่นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนมองว่ามาตรการกระตุ้นเป็นเพียงแรงขับเคลื่อนเดียว ของการเติบโตของสหรัฐ โดย ร็อบ อาร์น็อตต์ ประธาน รีเสิร์ชแอฟฟิลิเอทส์ วิเคราะห์ว่า หากขาดมาตรการกระตุ้นทางการเงินและภาษี ก็จะไม่มีการฟื้นตัว และจะกลายเป็นการฟื้นตัวรูปตัวแอล ไม่ใช่ตัววี นอกจากนี้ หากมาตรการกระตุ้นสิ้นสุดลง ก็ยังมีความวิตกกันว่าภาคเอกชนยังไม่พร้อมที่จะพยุงตัวเองเช่นกัน
อีก ปัจจัยที่ต้องให้ความสนใจคือการลดการใช้งบประมาณของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งสหรัฐที่กำลังเผชิญปัญหาขาดดุล งบประมาณก้อนโต อันเป็นผลจากการทุ่มเงินกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงวิกฤต ซึ่ง ไบรอัน เจนดรัว นักยุทธศาสตร์การตลาดของไฟแนนเชียล เน็ตเวิร์ก ระบุว่า มีการประเมินว่าในปีหน้า การลดการใช้จ่ายของประเทศพัฒนาแล้วจะทำให้การเติบโตลดลง 1%
ขณะ เดียวกัน การปรับขึ้นภาษี ก็อาจเป็นปัจจัยลากเศรษฐกิจให้ตกต่ำอีก ทั้งนี้ นโยบายลดภาษีของ ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช จะหมดอายุลงสิ้นปีนี้ ซึ่งจะทำให้อัตราภาษีสูงขึ้น ผลการศึกษาพบว่า หากปรับภาษีขึ้น 1% ของจีดีพีจะทำให้จีดีพีร่วงลง 3% และเมื่อมาตรการลดภาษีสิ้นสุดลง อาร์น็อตต์ระบุว่า ภาษีจะปรับขึ้นเท่ากับ 2% ซึ่งหมายความว่าการเติบโตจีดีพีปีหน้าจะต่ำกว่าที่ควรจะเป็น 6% และจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดภาวะถดถอยรอบ 2
ปัจจัย ต่อมาคือ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่ ลินน์ แฟรนโก้ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยผู้บริโภคของคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด ยังไม่เห็นว่าความเชื่อมั่นจะแย่มากพอที่จะทำให้เกิดภาวะถดถอยอีกรอบ แต่ก็เป็นความจริงที่ว่าหากผู้บริโภคยังมองไม่เห็นหลักฐานชัดเจน หรือการเติบโตในตลาดแรงงานที่มากกว่านี้ ความเชื่อมั่นก็จะยัง ไม่เพิ่มขึ้น
ซึ่ง จะส่งผลต่อเนื่องไปยังการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เป็นแรงหนุนสำคัญของการเติบ โตของเศรษฐกิจ แต่การขาดความเชื่อมั่นย่อมหมายถึงการจับจ่ายที่ไม่ดีเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุดของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐก็แสดงให้เห็นว่าชาวอเมริกันหันมาจับ จ่ายมากขึ้น และเริ่มโยกเงินออกจากบัญชีเงินออม ทำให้การใช้จ่ายขยับขึ้นราว 0.2% ในเดือนพฤษภาคม ทว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และผู้บริโภคยังกังวลอนาคตตลาดแรงงาน ก็ยังทำให้มีคนมองอนาคตในแง่ลบมากกว่าผู้ที่มองในแง่บวก นอกจากนี้ การร่วงลงของตลาดหุ้นอาจยิ่งเพิ่มความตึงเครียดของการใช้จ่าย เพราะอาจกระทบต่อมุมมองเชิงจิตวิทยาของคน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจว่าจะขยายธุรกิจหรือ ไม่ หรือผู้บริโภคจะยอมควักกระเป๋าหรือไม่
และปัจจัยสุดท้ายที่อยู่ ในความสนใจของโลกในปัจจุบันคือวิกฤตหนี้ยุโรป เพราะหากเศรษฐกิจยุโรปถดถอยจะส่งผลต่อการส่งออกและธุรกิจอเมริกันในยุโรปเช่นกัน
และแม้ว่าจะมีปัจจัยหลายประการที่อาจลากเศรษฐกิจสู่บ่วงถด ถอย แต่ยังมีผู้ที่ยังเชื่อมั่นในการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดย สแตนเลย์ ฟิสเชอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอิสราเอล มองว่า เศรษฐกิจโลกไม่ได้ บ่ายหน้าไปสู่ภาวะถดถอยรอบ 2 เพราะแม้สหรัฐและยุโรปจะเติบโตอย่างเปราะบาง แต่ก็ถูกชดเชยจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในเอเชีย ละตินอเมริกา และแอฟริกา
"ต้อง ใช้เวลาอีกหลายปีกว่าที่เศรษฐกิจสหรัฐจะกลับสู่ภาวะปกติ ขณะที่สถานการณ์โลกไม่ได้อยู่ในรูป W นี่ไม่ใช่การถดถอยรอบ 2 แต่เศรษฐกิจโลก จะไม่เติบโตอย่างรวดเร็วเหมือนที่วาดหวังไว้"
สอด คล้องกับความคิดเห็นของ โรเบิร์ต ดอลล์ จากแบล็คร็อค ผู้จัดการสินทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของโลก ที่เชื่อว่าไม่น่าจะเกิดภาวะ double-dip recession หรือการถดถอยรอบ 2 แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจและผลกำไรของบริษัทต่าง ๆ จะจุดกระแสวิตกครั้งใหม่เกี่ยวกับความแข็งแกร่งของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
พร้อมกับย้ำว่า แม้จีนจะเติบโตช้าลง แต่จะยังมีพลังกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและตลาดหุ้น โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
มอง ผ่านแว่นเบอร์นันเก้-ดร.ดูม
จากประชาชาติธุรกิจ
สำหรับทิศทางของเศรษฐกิจสหรัฐ "เบน เบอร์นันเก้" ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาเตือนว่าภาพรวมของเศรษฐกิจสหรัฐยังมีความไม่แน่นอนอย่างไม่ปกติ
โดย เขาแถลงต่อคองเกรสว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเติบโตพอสมควร ขณะที่อัตราการว่างงานจะค่อย ๆ ลดลง และมีอัตราเงินเฟ้ออ่อน ๆ ในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า ส่วนในแง่ความรุนแรงของวิกฤตนั้น เบอร์นันเก้เตือนว่าการจ้างงานของภาคเอกชนยังคงเติบโต ไม่พอที่จะลดอัตราการว่างงานได้มาก
แม้เบอร์นันเก้จะรับรู้ถึงสัญญาณ ของการฟื้นตัวที่เปราะบางมากขึ้น แต่เขาก็ยังคงมั่นใจว่าเศรษฐกิจจะไม่กลับไปสู่ภาวะถดถอยรอบ 2 (double-dip recession) อีกในระยะสั้น
เบอร์นันเก้ระบุว่าเฟดมีเครื่องมือที่จำ เป็นสำหรับกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยจะไม่สามารถขยับต่ำไปได้มากกว่านี้ โดยจะใช้ทางเลือกอื่น ๆ ที่ไม่ใช่วิธีการเดิม ๆ
ทั้งนี้ การฟื้นตัวของสหรัฐที่เคยส่งสัญญาณแข็งแกร่งเมื่อต้นปีกลับ สูญเสียโมเมนตัมไป จนทำให้หลายฝ่ายวิตกว่าการขยายตัวจะติดหล่มเพราะ ผู้บริโภคยังคงลดรายจ่าย เช่นเดียวกับภาคธุรกิจที่ยังเก็บเงินสดไว้ในกำปั่น เพราะไม่แน่ใจถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาตึงตัวในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ภาวะว่างงานที่อยู่ในระดับสูง และวิกฤตหนี้ในยุโรปที่อาจ ส่งผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ขณะที่ ดร.ดูม หรือ "นูเรียล รูบินี" นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังที่ทำนายถึงวิกฤตการเงินได้อย่างแม่นยำ มองว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงอีกในครึ่งหลังของปีนี้ เนื่องจากประเทศต่าง ๆ เริ่มผ่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และหันมาใช้มาตรการรัดเข็มขัดแทน
ดร.ดู มระบุในบทความที่เขียนให้กับหนังสือพิมพ์ออสเตรเลียนไฟแนนเชียล รีวิวว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอการขยายตัวอยู่ที่ 1.5% ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ไปจนถึงปี 2554 และการชะลอตัวนี้จะทำให้รู้สึกเหมือนกำลังอยู่ในโหมดถดถอย ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจในเขต ยูโรโซนจะย่ำแย่กว่าสหรัฐ และการเติบโตของเขตยูโรโซนอาจจะเข้าใกล้ระดับศูนย์ภายในช่วงสิ้นปีนี้