จากประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ CSR Talk
โดย ดร.อัศวิน จินตกานนท์ กรรมการกิตติมศักดิ์มูลนิธิรักษ์ไทย ที่ปรึกษากลุ่มบริษัททีมและที่ปรึกษาอาวุโสมูลนิธิอนุรักษ์พลังงานแห่ง ประเทศไทย
คราวนี้เรามาพูดถึงปัญหาเรื่องที่สอง หลังจากเราพูดถึงประเด็นเรื่องการมีประชาธิปไตยไม่เต็มใบของประเทศไทยไปใน คราวก่อนแล้ว
ความยากจนและฐานะทางการเงิน
ที่แตกต่างกันใน สังคม
ในประเด็นของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคมนั้นขอให้เข้าใจ ว่า ไม่มีประเทศใดในโลกที่ปราศจากปัญหานี้ แม้แต่สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และประเทศในทวีปยุโรปซึ่งเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจของโลกก็มีสังคมด้อยโอกาส ทั่วประเทศ
ในปี 2549 ประชากรประเทศไทยที่จัดว่ายากจนตามมาตรฐานของสหประชาชาติ ในเมืองใหญ่มีอยู่ร้อยละ 4 และตามชนบทมีอยู่ร้อยละ 12 ขณะที่ร้อยละ 20 ของผู้ที่มีรายได้สูงสุดในประเทศมีรายได้สูงกว่า ร้อยละ 20 ของผู้ที่มีรายได้ต่ำสุดของประเทศถึง 18-19 เท่า ในสหรัฐอเมริกาตัวเลขตัวเดียวกันนี้มีช่องว่างต่างกันเพียง 8 เท่า ซึ่งแสดงว่าคนรวยร่ำรวยกว่าคนจนมาก ดังนั้นรัฐบาลไทย สังคมไทย ธุรกิจไทย และ NGOs รวมถึงสังคมด้อยโอกาสจึงมีงานที่จะต้องทำร่วมกันอีกมาก
เครื่อง มือที่ใช้วัดและเปรียบเทียบระดับการกระจายรายได้ของระบบเศรษฐกิจอีกชนิด หนึ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกใช้กันเรียกว่า "ค่าสัมประสิทธิ์จีนี่" หรือ Gini Coefficient ซึ่งถูกนิยามให้เป็นอัตราส่วนซึ่งมีค่าระหว่าง 0 และ 1 ค่าสัมประสิทธิ์จีนีที่ต่ำแสดงถึงความ
เท่าเทียมกันในการกระจายราย ได้ หากค่านี้สูงขึ้นบ่งชี้ถึงการกระจายรายได้ที่เหลื่อมล้ำกันมากขึ้น
หาก ค่าสัมประสิทธิ์จีนี่ที่เท่ากับ 0 หมายถึงความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ (ทุกคนมีรายได้เท่ากัน) และ 1 หมายถึงความเหลื่อมล้ำอย่างสมบูรณ์ การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์จีนี่มีสมมติฐานว่า ไม่มีใครมีรายได้ต่ำกว่าศูนย์ ค่าสัมประสิทธิ์จีนี่ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกแตกต่างกัน อาทิ 0.247 ในประเทศเดนมาร์ก และ 0.743 ในประเทศนามิเบีย ขณะที่ดัชนีจีนี่ (Gini Index) ที่แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์นั้น ปรากฏว่าดัชนีจีนี่ของเดนมาร์กเท่ากับ 24.7 ส่วนนามิเบียเท่ากับ 74.3
เมื่อเรามาดูค่าสัมประสิทธิ์จีนี่ของ ประเทศในสมาคมอาเซียนจะเห็นว่า กัมพูชามีค่าสัมประสิทธิ์จีนี่เท่ากับ 41.7 อินโดนีเซีย 36.3 ลาว 34 เวียดนาม 34 สิงคโปร์ 42.5 ประเทศพม่าไม่สามารถคำนวณได้ ฟิลิปปินส์ 44 และประเทศไทย 42 สหรัฐอเมริกา 45 อังกฤษ 36 ประเทศจีน 46.9
แม้ว่าประเทศไทยมีค่าสัมประสิทธิ์ที่ อยู่ในระดับปานกลางแต่เพื่อความสุขของคนไทยทั่วทั้งประเทศรัฐบาลควรมี มาตรการลดความแตกต่างนี้ลงโดยการออกมาตรการภาษีต่าง ๆ เช่น ภาษีมรดกและภาษีทรัพย์สิน ซึ่งไม่ใช่ของง่ายเลย เนื่องจากผู้มีอันจะกินรวมทั้งพวกที่เรียกตนเองว่าผู้แทนราษฎรส่วนหนึ่งออก มาคัดค้านการออกภาษีนี้ทุกครั้ง
ตัวเลขที่น่าสนใจก็คือ ค่าสัมประสิทธิ์จีนี่ของเมืองปักกิ่งซึ่งมีการกระจายรายได้ดีที่สุดในเอเชีย เท่ากับ 22 และของฮ่องกงค่าสัมประสิทธิ์จีนี่อยู่ที่ 53 ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในเอเชีย
แต่อย่างไรก็ตามความไม่เสมอภาคมีทั่ว ไปในโลก แม้แต่ในเมืองนิวยอร์กซึ่งปรากฏว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สูงเป็นที่ 9 ของโลก แอตแลนตา นิวออร์ลีนส์ วอชิงตัน และไมอามี ก็มีความไม่เสมอภาคเท่ากับไนโรบี เคนยา และไอวอรี โคสต์
ความแตก ต่างของฐานะสามารถสร้างความแตกแยกในสังคมได้
การที่สังคมมีฐานะแตก ต่างกันอย่างที่เห็นได้ชัดทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีระหว่างบุคคลที่มีฐานะ ที่แตกต่างกัน ความรู้สึกไม่ดีจะเกิดขึ้น หากท่านไม่รีบแก้ไข และปัญหาอาจจะบานปลายขึ้นมาได้
นายแอนดรู ซิมส์ ผู้อำนวยการด้านนโยบายของ New Economics Foundation ในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผู้นำในการผลักดัน Jubilee 2000 ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงความไม่ยุติธรรมต่อประเทศในโลกที่ 3 และเขียนบทความในหนังสือพิมพ์ The Guardian โดยกล่าวถึงหนี้สินที่เกิดขึ้นในประเทศยากจนว่า มีความไม่ยุติธรรมอย่างมากและการกระจาย รายได้ระหว่างประเทศร่ำรวยและประเทศด้อยพัฒนาแตกต่างกันมาก เขาเสนอว่า นอกจากทุกประเทศจะจัดให้มีรายได้ขั้นต่ำแล้ว เพื่อเสริมสร้างให้มีความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นในประเทศควรให้มีการตั้ง เพดานรายได้สูงสุดไว้ด้วย
จากตัวอย่างที่นำเสนอต่อไปนี้จะเห็นว่า สังคมไทยไม่มีการกีดกันและไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะแต่อย่างใด
ประเทศ ไทยมีสังคมที่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานะอย่างรวดเร็ว
ประเทศไทยเป็นสังคม ที่มี Mobility (การขยับฐานะได้สูง) คนที่มาจากชนบทจากสังคมด้อยโอกาสและพัฒนาฐานะจนได้เป็นเศรษฐีก็มีตัวอย่าง มากมาย เช่น เจ้าของ franchise ชายสี่หมี่เกี๊ยวที่เริ่มจากคนขายลูกชิ้นน้ำใสและบะหมี่ จากพื้นเพคนบ้านหนองมะเขือ ต.สระบัว อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ. 2535 คุณพันธ์รบ กำลา ประธานกรรมการและผู้จัดการบริษัทชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว เริ่มขายก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน้ำใส ต่อมาเห็นว่าน้องชายขายบะหมี่มี รายได้ดีจึงคิดอยากขายบ้าง
พัฒนา เส้น พัฒนาสูตรจนเมื่อปี 2537 จึงได้ตัดสินใจไปซื้อเครื่องจักรผลิตเส้นบะหมี่-แผ่นเกี๊ยวเอง และอาศัยจ้างผู้ที่มีความรู้ด้านนี้มาทำให้ดู จากนั้นก็อาศัยข้อมูลที่สะสมมาจากคนที่จ้าง หลังจากนั้น ก็ลองทำดู ลองผิดลองถูกนับครั้งไม่ถ้วนจนสูตรเริ่มลงตัว และตั้งชื่อธุรกิจใหม่ขึ้นว่า "ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว" และนี่คือจุดเริ่มต้นของบะหมี่ยี่ห้อดังของประเทศไทยใน พ.ศ. 2542
พอ อีก 1 ปีต่อมาจึงได้จดทะเบียนจัดตั้งในรูปแบบ "บริษัท ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว จำกัด" พร้อมกับสร้างโรงงานใหม่ใน จ.ปทุมธานี ขึ้นมาเพื่อรองรับการขยายตัวครั้งนี้ และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
นอก จากนี้ทางภาคราชการยังมีนายพลในกองทัพทั้ง 3 ที่มาจากสังคมยากจนในชนบทและไต่เต้าขึ้นมาจนเป็นนายพลในกองทัพ นักวิชาการที่เป็นอธิการบดี คณบดี มีปริญญาโท ปริญญาเอก (แท้จริงไม่ใช่แต่งตั้งตนเอง) ก็มี เป็นจำนวนมาก เพียงสังคมให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านี้ ให้โอกาสให้เขามีการศึกษาที่ดีและให้โอกาสเขาเข้าทำงานดี ๆ เขาสามารถขยับฐานะไปสู่ตำแหน่งอันมีเกียรติอย่างถูกต้อง
เมื่อ สังคมไทยมี Mobility สูง บุคคลในสังคมสามารถขยับฐานะสูงขึ้นในสังคม หากมีความมานะและพร้อมที่จะต่อสู้ โดยสังคมไม่ได้กีดกันคนเหล่านี้จึงต้องถือว่าประเทศไทยไม่ได้แบ่งชั้นวรรณะ กีดกันความก้าวหน้าของคนเหมือนบางประเทศทางเอเชียใต้ แต่ปัญหาปัจจุบันคือ บางคนต้องการเลือกทางลัด ต้องการขยับฐานะโดยเร็ว ไม่มีความอดทน แม้กระทั่งจะได้มาด้วยการโกงคนอื่น หรือโกงชาติบ้างก็ตาม
เราจะต้อง มองโลกด้วยความเป็นจริง เพราะปัญหาความยากจนไม่ใช่ปัญหาที่แก้ง่าย ๆ ต้องใช้เวลานาน และต้องมีความเสียสละจากคนที่พอมีอันจะกินที่มีใจเผื่อแผ่ ช่วยให้เกิดขึ้น ท่านพร้อมหรือยังที่จะยอมให้รัฐบาลและรัฐสภาผ่านภาษีมรดกและเก็บภาษีผู้มี รายได้สูง หรือมีทรัพย์สินมากมายเกินความจำเป็นในอัตราที่สูงขึ้นเพื่อการกระจายรายได้ ที่ดีขึ้น ถ้าท่านพร้อมเมื่อใดประเทศไทยก็อาจแก้ปัญหาได้
และต่อ จากนี้คือบทบาทของ CSR และ SE ที่จะเข้ามาเติมช่องว่างและทำให้ปัญหาเหล่านี้ทุเลาลง คราวหน้าเรามาว่ากันใหม่