จากประชาชาติธุรกิจ
จาก การที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า โครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยในรอบ 10 ปี ระหว่างปี 2542-2552 มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก โดยปี 2550 ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศมีมูลค่ารวม 1.6 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 18.9 ของจีดีพี ประกอบด้วย ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าร้อยละ 8.7 ของจีดีพี ต้นทุนการบริหารจัดการร้อยละ 1.7 และต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลังร้อยละ 8.5 ของจีดีพี (ต้นทุนการถือครองสินค้าร้อยละ 99.2 และต้นทุนบริหารคลังสินค้าร้อยละ 0.8) ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงมากและน่าจะลดได้ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุน ค่าขนส่งสินค้าที่ค่อนข้างลดได้ยาก เพราะ มีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างคงที่
ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้ใช้วิธีการลดต้นทุนโลจิสติกส์รวมของประเทศด้วยวิธีการลดต้นทุนการเก็บ รักษาสินค้าคงคลังเป็นหลัก ทำให้ลดต้นทุนโลจิสติกส์ในช่วง 10 กว่าปีก่อน ร้อยละ 17.7 ลงมาเหลือเพียงร้อยละ 9.7 ของจีดีพีประเทศในปัจจุบัน
สำ นักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) จึงได้ จัดประชุมหารือกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อระดมความเห็นในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม โดยเป้าหมายในการลดต้นทุนการถือครองสินค้าของ 13 กลุ่มอุตสาหกรรม และเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาเห็นชอบเพื่อดำเนินการลดต้นทุนการถือครองสินค้า (Inventory Carrying Cost : ICC) ในช่วงปี 2554-2559 และใช้มูลค่าการถือครองสินค้าเป็นปัจจัยกำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
พร้อม กับจัดตั้งคณะทำงานจัดทำ Roadmap โลจิสติกส์อุตสาหกรรมที่มาจากภาครัฐและเอกชน 7 คณะ ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมอาหาร 2.อุตสาหกรรม ปิโตรเคมีและพลาสติก 3.อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 4.อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ 5.อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 6.กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา และ7.กลุ่มอุตสาหกรรม SMEs
ทั้ง นี้ Roadmap มีเป้าหมายการลดต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลัง 6 กลุ่มแรก ที่มีต้นทุนการถือครองสูงถึง 1.8 แสนล้านบาท ให้ได้ร้อยละ 15 หรือ มูลค่าในปัจจุบัน 2.7 หมื่นล้านบาท
จากการดำเนินงานของคณะทำงานที่ ลงไปปฏิบัติงานกลุ่มอุตสาหกรรมละ 5 บริษัท ซึ่งเป็นโครงการนำร่องในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา คณะทำงานได้ดำเนินการจัดทำร่าง Roadmap โลจิสติกส์อุตสาหกรรมดังกล่าว ประกอบด้วย 1)การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาด้านโลจิสติกส์และแนวทางแก้ไข 2)ร่าง Roadmap และ 3)แผนปฏิบัติการ
โดย นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้กล่าวถึงภาพรวม Roadmap โลจิสติกส์อุตสาหกรรมและผลการจัดทำ Roadmap โลจิสติกส์ของแต่ละอุตสาหกรรม ก่อนนำไปขยายผลในแต่ละอุตสาหกรรมว่าประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก คือ 1.เป้าหมายการดำเนินงานที่ส่งผลให้เกิดการลดต้นทุน หรือ quick win 2.มาตรการส่งเสริมให้เกิดแรงกระตุ้นสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรม หรือ enforcer 3.มาตรการเสริมสร้างสมรรถนะขององค์กร หรือ enabler 4.มาตรการสนับสนุนการประกอบธุรกิจและเชื่อมโยงซัพพลายเชน หรือ enhancer โดยมีรายละเอียดแต่ละกลุ่มดังนี้
1.กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ที่มี นางพจมาน ภาษวัธน์ เป็นประธานคณะทำงาน ได้สรุปปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะหรือแนวทางแก้ไขปัญหาในประเด็นการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร ตลอดโซ่อุปทานว่า ยังมีปัญหาเรื่องระบบตรวจสอบติดตามสถานะย้อนกลับ (traceability) ยังไปไม่ถึงระดับรายเกษตรกร ทางแก้ต้องส่งเสริมการรวมกลุ่มและจัดตั้งจุดรวบรวมสินค้าอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อเชื่อมโยงโซ่อุปทานและติดตามสถานะได้จนถึงต้นน้ำ
ในประเด็นด้าน ประสิทธิภาพภายในองค์กร เรื่องการจัดซื้อจัดหาและกระบวนการสั่งซื้อ มีความล่าช้าในกระบวนการสั่งสินค้า ฉะนั้นต้องมีการจัดทำ KPI เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาการสื่อสารด้านโลจิสติกส์ ยังขาดเงินทุนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลภายใน ของแต่ละหน่วยงาน ทำให้ไม่มีการบูรณาการข้อมูลแผนงาน ไม่สามารถระบุข้อมูลที่เป็นสถานะที่เป็นจริงของสินค้าได้และไม่สามารถติดตาม สถานะคำสั่งซื้อได้ ทางแก้ต้องมีการสนับสนุนให้สถานประกอบการเข้าถึงเงินทุนเพื่อพัฒนาบริหาร จัดการองค์กร ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือกับคู่ค้า (เกษตรกร) การจัดการคลังสินค้า การประยุกต์ใช้ระบบ สารสนเทศ และการจัดการสินค้าคงคลัง
ด้าน การวางแผน ผู้ผลิตยังขาดความแม่นยำในการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า ปริมาณวัตถุดิบ และเกษตรกรยังขาดการวางแผนการผลิต ทำให้ราคา ผลผลิตตกต่ำ ทางแก้ต้องมีการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กรด้าน demand planning,warehouse management การส่งเสริมให้สถานประกอบการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการในด้านโลจิ สติกส์ การวางแผนการจัดการวัตถุดิบและลูกค้า การวางแผนความต้องการวัสดุ การจัดการสินค้าคงคลัง การวางแผนการผลิต การจัดการส่งสินค้า การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด