สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ไทยเดินตามรอยสหรัฐ ปั้น Roadmap ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง (9)

จากประชาชาติธุรกิจ

หมายเหตุ - เนื้อหา "ไทยเดินตามรอยสหรัฐ ปั้น Roadmap ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง (9)" ฉบับนี้เป็นภาพรวมของอุตสาหกรรมยางพารา ต่อเนื่องจากฉบับที่ผ่านมาโดยมีรายละเอียด ดังนี้

ทางด้านการสื่อสาร ด้านโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรม ยางพารา อุตสาหกรรมปลายน้ำ รายเล็กขาดการใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการภายในองค์กร ควรส่งเสริมให้ใช้หลักการบริหารงานด้าน Logistics and Supply Chain Management และด้าน IT เพิ่มขึ้น ส่วนการวางแผนการผลิตสินค้าเพื่อบริหารจำนวนสินค้า (finish goods) ที่มีหลาย sku ควรส่งเสริมให้สถานประกอบการอุตสาหกรรมยางพาราสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยี สารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการจัดการโลจิสติกส์ด้านต่าง ๆ เช่น วางแผนความต้องการวัสดุ (MRP) การจัดการคลังสินค้า (WMS) การวางแผนการผลิต (PP) การจัดการส่งสินค้า (FMS) การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และส่งเสริมการวางแผนด้วยกระบวนการ S&OP เพื่อให้การผลิตสอดคล้องกับการขาย

- ใช้ SC บริหารสินค้าคงคลัง

ด้าน การบริหารสินค้าคงคลัง มีการเก็บสินค้าคงคลังในรูปแบบของยางก้อน ยางกะลาสูง เนื่องจากการกรีดยางไม่สามารถกระทำได้ตลอดปี จึงควรสนับสนุนการใช้ supply management ที่เน้นให้มี profit sharing อุตสาหกรรมปลายน้ำมีสินค้าคงคลังสูงในส่วนที่เป็น finish goods คือมีประมาณ 30-45 วัน เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์หลากหลาย (500 รายการในระดับกลาง และผู้ผลิตระดับ international มีถึง 3,000-4,000 sku) จึงควรส่งเสริมให้ใช้หลักการบริหารงานด้าน Logistics and Supply Chain Management และด้าน IT เพิ่มขึ้น

ทางด้านการขนส่ง ต้นทุนเรื่องน้ำมันค่าขนส่งที่รับซื้อวัตถุดิบต่างพื้นที่ อุตสาหกรรมปลายน้ำมีสินค้าสูญหายระหว่างการขนส่ง และขนส่งไม่มีประสิทธิภาพ (ส่งผลถึง carbon footprint) จึงควรสนับสนุนให้ใช้การขนส่งที่เน้นปริมาณมาก มากกว่าเน้นความรวดเร็ว เช่น ทางรางและทางน้ำ

ส่วนการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการไม่รู้ต้นทุนโลจิสติกส์ที่แท้จริงและไม่สามารถบริหารจัดการได้ อย่างถูกต้อง และมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงเนื่องจากไม่ได้ economic of scale จึงควรสนับสนุนและเผยแพร่ให้ผู้ประกอบการคำนวณต้นทุนโลจิสติกส์ เพื่อเลือกใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ที่เหมาะสมในการประกอบธุรกิจ และการบริหารความ สมดุลของต้นทุนระหว่างต้นทุนการผลิตต่อหน่วยและต้นทุนโลจิสติกส์

ด้าน ขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ เกษตรกรขาดความรู้และทักษะเรื่องของการควบคุมคุณภาพ ความสำคัญและความเกี่ยวเนื่องของซัพพลายเชน ควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีความตระหนักและความรู้ พื้นฐานด้านพัฒนาและสร้างบุคลากรด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมือ อาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

ด้านปัจจัยเอื้อ เพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจของภาคอุตสาหกรรม ในด้านโครงสร้างพื้นฐานมีการใช้ท่าเรือปีนังแทนท่าเรือสงขลา ทำให้ค่าขนส่งเพิ่มขึ้น รวมทั้งปัญหาการสื่อสารทางภาษาและการแก้ไขปัญหาให้ทันเวลา จึงควรผลักดันการขยายท่าเรือขนส่งสินค้าให้เพียงพอและทันสมัย การส่งออกติดขัดในช่วงปลายเดือน เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์ไม่เพียงพอ การส่งออกยางของไทยประสบปัญหาระบบการจัดการโลจิสติกส์ในการจัดส่งสินค้าส่ง ออก เช่น เมื่อระวางเรือบรรทุกสินค้าเต็ม บริษัทเรือจะตัดสินค้าประเภทยางพาราออกไปก่อน

จึงควรผลักดันให้ รัฐบาลลงทุนระบบรถไฟรางคู่ และผลักดันการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเชื่อมโยง 2 ฝั่งทะเล หรือโครงการ Land Bridge ที่สงขลาและสตูล ตามแผนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ผลักดันการพัฒนาท่าเรือชายฝั่ง อ่าวไทยและฝั่งอันดามันให้มีการใช้อย่างเต็มศักยภาพ (โครงการเซาท์เทิร์นซีบอร์ด) โดยคาดว่าระบบรางจะตามมาหากว่ามีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้น และควรผลักดันระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านภาคอีสาน ภาคเหนือ และ gate way อื่น ๆ

- อุตฯยางพาราขาดแคลนแรงงานสูง

ด้านการพัฒนาฝีมือแรง งาน มีปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะความชำนาญในอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เจ้าของกิจการขาดอำนาจต่อรองกับลูกจ้าง มีการแย่งชิงแรงงาน เกิดพลวัตของการเคลื่อนย้ายแรงงานสูง จึงควรอบรมเพิ่มทักษะความชำนาญให้กับลูกจ้างเพิ่มขึ้น ควรร่วมมือกับสถาบันอาชีวศึกษาผลิตแรงงานที่มีทักษะสูงและปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในการวางแผนระดับชาติ เช่น การสนับสนุน การย้ายกลุ่มอุตสาหกรรมยาง ควรคำนึงถึงปัจจัยด้านแรงงานด้วย

ด้านสิ่งแวดล้อม การใช้กรดซัลฟูริกในอุตสาหกรรมต้นน้ำ ส่งผลให้ยางเสียความยืดหยุ่นและตกค้างในน้ำ ก่อให้เกิดมลพิษในน้ำเพิ่มขึ้น การสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิงสูงในการอบยางให้แห้ง และกระแสเรื่อง carbon footprint จึงควรหาพลังงานอื่นทดแทนน้ำมัน เช่น ใช้ก๊าซ/ถ่านกะลาปาล์ม/ ถ่านหิน/ไอน้ำ/ไบโอดีเซล การนำระบบ reuse มาใช้ในโรงงาน เช่น นำน้ำที่ผ่านกระบวนการผลิตน้ำยางข้นมาใช้ในโรงงาน สร้างแรงจูงใจในรูปภาษีหรือรางวัลเมื่อมีการลงทุนด้านการลดผลกระทบสิ่งแวด ล้อม และสนับสนุนการนำเทคโนโลยีใหม่หรือนวัตกรรมมาใช้ เช่น เครื่องรีดหรืออบยาง

ทางด้านการเตรียมความพร้อมสู่เขตประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ผู้ประกอบการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการ harmonize มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สอดรับกับ AEC จึงควรผลักดันเรื่องการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางพาราในระดับอาเซียน เพื่อให้สอดรับกับ ASEAN Consultative Committee for Standards and Quality (ACCSQ) ภายใต้กรอบ AEC

Tags : ไทย เดินตามรอย สหรัฐ ปั้น Roadmap ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง

view