จากประชาชาติธุรกิจ
หมาย เหตุ : เนื้อหา "ไทยเดิน ตามรอยสหรัฐ ปั้น Roadmap ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง (11) ฉบับนี้ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขอุตสาหกรรม ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต่อเนื่องจากฉบับที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขอุตสาหกรรมไม้ยางพารา และเฟอร์นิเจอร์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางและ ขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งมี นายประเสริฐ ธรรมมนุญกุล เป็นประธานคณะทำงาน กล่าวถึงปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในด้านการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรตลอดโซ่อุปทาน ยังขาดการเชื่อมโยงระหว่างโซ่อุปทาน แนวทางในการแก้ไข ควรจัดทำ cluster ทั้งในรูปแบบของการรวมกลุ่มและการเชื่อมต่อโซ่อุปทาน ปัญหาด้านการกระจายสินค้า รัฐควรเข้าไปดำเนินการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมี ความเข้าใจและสร้างความร่วมมือระหว่าง ผู้ขายวัตถุดิบ (supplier) และผู้ซื้อ (buyer) ให้มีความเข้าใจที่ตรงกันอย่างแท้จริง
โดย เฉพาะเรื่องของกฎระเบียบและภาระหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ทั้งการให้ข้อมูลที่จำเป็นในทุกมิติ เช่น ด้านการตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการ งานบุคคล การบัญชี การลงทุน การเงิน โลจิสติกส์ หรือปัญหาด้านอื่นต่อการดำเนินธุรกรรมนั้น ๆ
นอกจากนี้ยังมีปัญหา อุปสรรคจากการขาดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลจากผู้ประกอบการ และขาดความสามารถในการต่อยอดธุรกิจ เช่น การขยายตลาด การพัฒนาสินค้าหรือบริการ
ในด้านประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภายในองค์กร การจัดซื้อจัดหาและกระบวนการ สั่งซื้อ ยังขาดการบูรณาการแผนของการผลิต การกระจายสินค้า การขนส่งสินค้าร่วมกัน ควรมีความร่วมมือกับพันธมิตรที่สำคัญ เพื่อสามารถส่งมอบได้ตรงตามความต้องการ และลดต้นทุนตั้งแต่ผลิตจนถึงส่งมอบ
ด้าน การวางแผน ขาดการพยากรณ์ด้านการผลิตและจัดซื้อ รวมทั้งไม่มีระบบสารสนเทศสนับสนุน ทำให้ข้อมูลไม่สมบูรณ์ จึงควรพัฒนาระบบเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูล การขาดฐานข้อมูลและการเชื่อมโยงที่สมบูรณ์ตลอดโซ่อุปทาน ตลอดจนขาดความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ประกอบการด้วยกัน เพราะเป็น คู่แข่งขันทางธุรกิจ ควรสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการจัดการโลจิสติกส์และการวิเคราะห์ต้นทุน โลจิสติกส์ระดับพื้นฐาน
ด้านการบริหารสินค้าคงคลัง ขาดความเข้าใจที่แท้จริงต่อการเก็บสินค้าคงคลัง (ตัวเลขที่เหมาะสม) แนวทางแก้ไข ในบางอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีการเก็บสินค้าคงคลังไว้ ทำให้มูลค่าสินค้าคงคลังสูง แต่บางอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการ เก็บสินค้าคงคลังสำหรับอุตสาหกรรมนั้น ๆ
ด้านการขนส่ง ขาดการส่งเสริมระบบการขนส่งด้วยอุปกรณ์โลจิสติกส์จากแหล่งผลิตมายังเส้นทาง คมนาคม เช่น ถนน รถไฟ หรือท่าเรือขนส่งสินค้า เช่น กรณี รถเกี่ยวข้าว รถอีแต๋น เป็นต้น ควรมีการส่งเสริมให้มีการใช้ระบบการขนส่งด้วยอุปกรณ์โลจิสติกส์ส่วนกลางใน แต่ละแหล่งผลิตที่สำคัญ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงตลอดโซ่อุปทานอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ขาดการเชื่อมโยงของระบบการขนถ่ายสินค้า เนื่องจากไม่มีความต่อเนื่องกัน ควรผลักดันการพัฒนาระบบ Multi Module Transport ในภูมิภาค
ด้านการ บริหารจัดการโลจิสติกส์ ขาดการพัฒนาด้านการจัดการโลจิสติกส์ภายในโรงงาน ควรมีการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อเพิ่มศักยภาพการ จัดการโลจิสติกส์ภายในแต่ละสถานประกอบการของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม