สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เกาะเทรนด์ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง 2011 จับตา โซเชียลคอมเมิร์ซ

จากประชาชาติธุรกิจ

วันนี้ หากกล่าวถึงโซเชียลเน็ตเวิร์ก อย่าง "เฟซบุ๊ก" คงจะไม่มีผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตคนไหนไม่รู้จัก โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีผู้สมัครสมาชิกและเข้าใช้งานถึง 10% จากจำนวน ประชากรทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

สื่ออินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ "เฟซบุ๊ก" จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทรงพลังสำหรับ การเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง แต่ข้อมูล การใช้งบฯการตลาดขององค์กรธุรกิจในประเทศไทยด้านสื่อออนไลน์และโซเชีย ลเน็ตเวิร์กยังมีสัดส่วนน้อยมาก ๆ หากเทียบกับมูลค่าการซื้อสื่อโดยรวม ขณะที่แนวโน้มในต่างประเทศที่เน้นการตลาดแบบโลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ

แล้ว ทิศทางของดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งในไทยจะเป็นแบบไหน ? วันนี้บริษัท ธอมัส ไอเดีย จำกัด ที่ปรึกษาในการทำดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งจะมาฉายภาพเทรนด์ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า โดย นางสาวอุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธอมัส ไอเดีย จำกัด กล่าวถึงเทรนด์การใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยว่า ปัจจุบันมีคนไทยที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตกว่า 17 ล้านคน โดยมีคนไทยเข้าใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กเฟซบุ๊ก 2.2 ล้านคน ยูทูบ 1.2 ล้านคน และทวิตเตอร์ 90,000 คนต่อวัน นอกจากนี้ยังมีคนไทยที่เป็นสมาชิกเฟซบุ๊กมากถึง 6.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 1.6 ล้านคนในปีที่แล้ว โดยสมาชิกจะอยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี จำนวน 40% และ 25-34 ปี จำนวน 35% โดยผู้ใช้งานเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

หาก นำข้อมูลจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและโซเชียลเน็ตเวิร์กในประเทศไทยมาเทียบ กับงบฯการตลาดที่องค์กรธุรกิจลงทุนกับการทำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งในปัจจุบัน จะพบว่ายังน้อยมากเพราะมีแค่ประมาณ 1% ของมูลค่าการซื้อสื่อโดยรวมประมาณ 1 แสนล้านบาท ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะนักธุรกิจและนักการตลาดในประเทศไทยยังไม่เข้าใจวิธี การใช้ และยังไม่เห็นประโยชน์ชัดเจนจากการทำการตลาด ผ่านสื่อออนไลน์และโซเชียลเน็ตเวิร์ก

"ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาองค์กรธุรกิจในไทยยังไม่เข้าใจประโยชน์ของโซเชียลเน็ตเวิร์ก แต่ตอนนี้เริ่มมีการศึกษาจนเข้าใจระบบ เริ่มรู้จักวิธีใช้ และเจ้าของธุรกิจก็เห็นประโยชน์มากขึ้นจากกรณีศึกษาของแบรนด์ต่างประเทศ ดังนั้นปีหน้าองค์กรธุรกิจในไทยน่าจะมีการทำตลาดผ่านสื่อออนไลน์เพิ่มมาก ขึ้น โดยคาดว่าจะมีสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 2% ของมูลค่าการซื้อสื่อโดยรวมในไทยคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท"

โดย สื่อออนไลน์ที่จะเข้ามามีบทบาทมากคงไม่พ้นโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างเฟซบุ๊ก เพราะได้รับความนิยมสูงในประเทศไทย ขณะที่ค่าโฆษณาไม่สูงมากสินค้าที่จะเข้ามาใช้การตลาดผ่านเฟซบุ๊กคงเป็น แบรนด์จำพวกรถยนต์ เครื่องสำอาง หรืออาหาร/เครื่องดื่ม เพราะเป็นสินค้าที่ ผู้บริโภคเห็นแล้วรู้เลย ทำให้เกิดความสนใจได้ง่าย

นอกจากนี้ "ธอมัส ไอเดีย" ได้สรุปเทรนด์และกลยุทธ์ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง ที่จะเข้ามามีความสำคัญในปี 2554 ทั้งหมด 8 เทรนด์ อันดับแรกคือการใช้กลยุทธ์ออนไลน์ผสมผสานดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง และโซเชียล มีเดียเข้าด้วยกันอย่างครบวงจร ซึ่งวิธีการนี้ต้องอาศัยความเข้าใจออนไลน์เทคนิค ต่าง ๆ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงทางการตลาดและติดตามได้ง่าย ซึ่งการสร้างความภักดีในแบรนด์ขององค์กรและแบรนด์ต่าง ๆ จะหันมาให้ความสำคัญในการสร้างชุมชนออนไลน์มากขึ้น

เทรนด์ที่ 2 คือ "เฟซบุ๊ก" จะเข้ามาเป็นช่องทางสื่อสารที่มาแรง เป็นสมรภูมิที่มีอิทธิพลสำหรับนักการตลาด เป็นทั้งช่องทางการโฆษณาและการตลาด อย่างไรก็ตามเจ้าของสินค้าควรวิเคราะห์วัดผลและวางกลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์ กับแฟน พันธุ์แท้ และที่สำคัญคือสื่อทรงพลังนี้จำเป็นต้องมีคนมาบริหารจัดการ และโต้ตอบกับผู้คนที่เข้ามาตลอดเวลา

เทรนด์ที่ 3 Brand Engagement การทำให้ลูกค้าจดจำในฐานะเป็นแบรนด์ที่รัก ในใจ โดยการสร้างให้เกิดชุมชนออนไลน์เพื่อให้ลูกค้าได้พูดคุยกันเองและคุยกับ แบรนด์นั้น ๆ ได้โดยตรง ทำให้ทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์มีการพัฒนาฟังก์ชั่นที่เป็น embedded photo หรือ VDO เพื่อตอบโจทย์นักการตลาด

เทรนด์ที่ 4 "อีคอมเมิร์ซ และโซเชียลคอมเมิร์ซ" การค้าบนเครือข่ายโซเชียล เน็ตเวิร์กจะมาแรง ถือได้ว่าปีหน้าจะเป็นปีคิกออฟของร้านค้าออนไลน์ทั้งเล็กและใหญ่ ขณะที่ผู้บริโภคจะมีความเชื่อมั่นในการจ่ายผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น สำหรับกรณีตัวอย่างการค้าบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก คือ คอมพิวเตอร์เดลล์ ที่ทำหน้าที่ทวิตเตอร์ให้ลูกค้าซื้อสินค้าได้ ซึ่งประสบความสำเร็จค่อนข้างดีด้วย

เทรนด์ที่ 5 เกิดการทำออนไลน์โปรโมชั่นในรูปแบบใหม่ ๆ เนื่องจากออนไลน์ โปรโมชั่นสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้รวดเร็ว นักการตลาดจะสามารถรู้ถึงพฤติกรรมและการตอบรับของผู้บริโภคได้เร็วขึ้น คาดว่า ปีหน้าจะเห็นความเข้มข้นในการทำโปรโมชั่น ออนไลน์มากขึ้น และจะเห็นในการทำ โปรโมชั่นแบบ one-day-deal, weekend deal มากขึ้น

เท รนด์ที่ 6 เป็นผลจากการเข้ามาของอุปกรณ์สื่อสารประเภทสมาร์ทโฟน แท็บเลต ที่เป็นอุปกรณ์ติดตัวทำให้พฤติกรรมการใช้งานและการรับรู้ข้อมูลของผู้บริโภค เปลี่ยน นักการตลาดสามารถส่งโฆษณาผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ได้ตลอดเวลา ทำให้ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้น และทำให้มีความพยายามในการนำเสนอโฆษณารูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น เช่น การโฆษณาแฝงในเกมบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นต้น

เทรนด์ที่ 7 จะเห็นแบรนด์สินค้าต่าง ๆ เริ่มลงทุนสร้างแอปพลิเคชั่นบนอุปกรณ์ ลูกข่ายใหม่ ๆ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง เพราะการมีแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือกลายเป็นเทรนด์ เป็นไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ โดยแอปพลิเคชั่นที่จะเกิดขึ้นก็มีทั้ง E-magazine, E-calatalog, Shopping App และ Social & Mobile Game App

และ เทรนด์สุดท้าย การแข่งขันกันระหว่าง 3 ยักษ์ใหญ่อย่าง Google, Apple และ Facebook ซึ่งทั้ง 3 รายจะเป็น Online Advertising & Marketing Platform ที่ทรงอิทธิพลอย่างมากต่อผู้บริโภค ที่สำคัญคือแต่ละเจ้าต่างพยายามพัฒนาการบริการและฟังก์ชั่นการใช้งานให้ครอบ คลุมกลุ่มเป้าหมายเดียวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยทุกแบรนด์จะพยายามผูกให้ผู้บริโภคอยู่กับตัวเองมากที่สุดโดยไม่จำเป็น ต้องเข้าไปที่ช่องทางอื่น ดังนั้นการวางแผนบริหารสื่อจะต้องเปลี่ยนวิธีการและทวีความเข้มข้นมากขึ้น เพราะต้องตามเทคโนโลยีและเฝ้าดูพฤติกรรม ผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด

Tags : เกาะเทรนด์ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง 2011 จับตา โซเชียลคอมเมิร์ซ

view