จากประชาชาติธุรกิจ
ใน ระยะเวลาเกือบ 15 ปี บริษัทในตลาดเกิดใหม่ที่ติดอันดับฟอร์จูน 500 มีจำนวนเพิ่มสูงมากขึ้นถึง 4 เท่า จาก 20 บริษัทในปี 2538 เป็น 91 บริษัทในปี 2552
ด้วยเหตุนี้ องค์กรต่าง ๆ จึงหลีกเลี่ยงความแตกต่างหลากหลายที่เกิดขึ้นไม่ได้ การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสำเร็จ และขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย
เมื่อเร็ว ๆ นี้ เอคเซนเชอร์ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสำเร็จในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ระดับภูมิภาค พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า "กรอบความคิดการทำงานระดับโลก (global mind set)" เกิดจากความเชื่อมโยงจากการมีส่วนร่วมของ พนักงาน (employee engagement) และการมีประสิทธิภาพการทำงานสูง (high performance)
ซึ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรระดับโลก และภูมิภาคส่วนใหญ่ จะมุ่งให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นความท้าทายด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก
"นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี" กรรมการ บริษัท เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า จากข้อมูลที่ได้จากผลการศึกษาในครั้งนี้ เอคเซนเชอร์จึงให้ความสำคัญกับ 3 แนวปฏิบัติสำคัญ 3 ประการ นั่นคือ
1.การพัฒนาผู้บริหารระดับท้องถิ่นที่เปี่ยมประสิทธิภาพ
2.การสร้างทีมงานที่มีความหลากหลาย
3.การส่งเสริมความร่วมมือข้ามพรมแดน
ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการสิ่งที่ท้าทายและเพิ่มความมีส่วนร่วมของพนักงาน
เพราะ จากผลวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของกลุ่มตัวอย่างระดับผู้จัดการจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2 เท่า หากมีผู้บริหารระดับท้องถิ่นที่แข็งแกร่ง แต่หากความเชื่อมั่นในผู้บริหารระดับสูงที่เป็นคนท้องถิ่นอยู่ในระดับต่ำ การมีส่วนร่วมของกลุ่มตัวอย่างจะลดลงถึง 5 เท่า
อย่าง ไรก็ตามองค์กรที่ประสบความสำเร็จจะสามารถสร้างความสมดุลของงานที่ทำไปแล้วใน ระดับภูมิภาคหรือระดับโลกได้อย่างดี ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างความโดดเด่นให้แก่กิจกรรมที่ทำในระดับท้องถิ่น เพื่อให้องค์กรของตนรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง
"นนทวัฒ น์" บอกต่อไปว่า บริษัทชั้นนำในภูมิภาคเอเชียพัฒนาผู้นำระดับท้องถิ่นด้วยการแนะนำให้คำ ปรึกษา มอบหมายงานให้ทำในต่างประเทศ และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายธุรกิจเพื่อส่งเสริมผู้นำระดับท้องถิ่นให้มี ความรู้ ความชำนาญ และวางกรอบความคิดการทำงานระดับโลก
จากการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างระดับผู้บริหารมีความเห็นว่า การสร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ระดับองค์กรถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทีม งานที่มีความหลากหลาย ให้สามารถทำงานร่วมกันจนบรรลุเป้าหมายเดียวกันได้เป็นผลสำเร็จ
นอก จากนี้ยังมีความจำเป็นที่ต้องใช้ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการเมือง แล้วเสริมด้วยปัจจัยของบุคลากร อาทิ วัฒนธรรม ทักษะ พฤติกรรม ฯลฯ ไปพร้อม ๆ กันด้วย
"การสร้างทีมงานที่มีความหลากหลายและการ เสริมสร้างความคล่องตัวในการทำงานในองค์กรที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม รวมถึงการโยกย้ายระดับภูมิภาค เป็นปัจจัยสร้างความสำเร็จให้แก่บริษัทชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย"
"นนทวัฒ น์" สรุปพร้อมให้ข้อมูลต่อว่า จากการศึกษายังพบอีกว่า 83% ของกลุ่มตัวอย่างระดับผู้จัดการในองค์กรธุรกิจชั้นนำที่เข้าร่วมการสำรวจของ เอคเซนเชอร์ได้เปิดเผยว่า พนักงานในองค์กรของตนมีการติดต่อสื่อสารกับพนักงานในประเทศอื่น ๆ ในเอเชียเป็นประจำ และความสำเร็จของพนักงานแต่ละคนในบริษัทก็เกิดจากความสามารถในการทำงานข้าม พรมแดน
สิ่งที่น่าสนใจมากกว่านั้น กลุ่มตัวอย่างที่ทำงานในบริษัทที่เปิดโอกาสและให้การสนับสนุนการเสริมสร้าง ความร่วมมือข้ามพรมแดนในระดับต่ำ มีระดับการมีส่วนร่วมต่ำกว่าพนักงานจากบริษัทอื่น ๆ ถึง 8 เท่า
ด้วย เหตุนี้ เทคโนโลยี เครื่องมือ กระบวนการทำงาน ค่านิยม รางวัล และการกระจายบทบาทความเป็นผู้นำ จึงเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญสูงสุดที่ช่วยบริษัทต่าง ๆ เสริมสร้างความร่วมมือเพื่อสร้างความสำเร็จในการประกอบธุรกิจในภูมิภาค เอเชีย
ข้อมูลที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ บริษัทระดับภูมิภาคเอเชียที่มีความพร้อมทางด้านการจัดการ ความท้าทายภายในองค์กรจึงอยู่ที่ความคล่องตัว และสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ทั้งยังมีความร่วมมือในลักษณะการข้าม พรมแดนสูงกว่า และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากกว่าบริษัทระดับโลก
ซึ่งหากดู จากบริษัทระดับโลกที่ ประสบความสำเร็จจะพบว่า มีระบบโครงสร้างการบริหารองค์กรจากบนลงล่าง เริ่มจากการสร้างค่านิยมระดับองค์กร การบริหารระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี กระบวนการทำงาน วัฒนธรรม และ พฤติกรรมขององค์กร ตลอดจนการสร้าง สรรค์ ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือ
การ ดำเนินงานในลักษณะดังกล่าวถือเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการกำหนดกรอบความ คิดการทำงานระดับโลก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสำเร็จในการทำงานทั้งในระดับภูมิภาคและ ระดับโลก
"นนทวัฒน์" บอกต่อไปว่า การเสริมสร้างพลังแห่งความหลากหลายเปรียบเสมือน "อาวุธลับ" ที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ ดังนั้นการผนวกรวมพนักงานที่มาจากหลากหลายวัฒนธรรมเข้าด้วยกันวันนี้จึงยัง ไม่เพียงพอสำหรับองค์กร แต่ทุกองค์กรจำเป็นต้องสร้างความหลากหลายในการคิด มีความหลากหลายด้านประสบการณ์ และเพิ่มความหลากหลายทางทัศนคติเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจบรรลุเป้า หมายสำคัญที่วางไว้
ฉะนั้น สิ่งที่ผู้บริหารและผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ควรทำในสถานการณ์เช่นปัจจุบันนี้ คือ
1.กำหนด กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจัดอันดับความสำคัญของทัศนคติ พฤติกรรม และข้อปฏิบัติของบุคลากร โดยถือเป็นปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบภูมิภาคภิวัตน์
2.สำรวจความพร้อมขององค์กรในการทำธุรกิจแบบไร้พรมแดน
3.จัดทำกรอบการทำงานระดับโลก ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย
4.กำหนด และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างขีดความสามารถในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ระดับ โลกและความเป็นผู้นำทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร
เท่านี้องค์กรก็สามารถทำธุรกิจในโลก ไร้พรมแดนได้อย่างคล่องตัวและเดินไปสู่ความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว