สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ครม.อนุมัติมาตรการกระตุ้นศก./เผย7มาตรการภาษีกระุ้ตุ้นศก.

(อ่าน 1256/ ตอบ 0)

108acc (Member)

โพสต์ทูเดย์

ครม.อนุมัติ7มาตราการภาษีเงินต้นซื้อบ้านหักลดหย่อนได้ให้ใช้ฟรีน้ำประปา-ไฟฟ้า

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมครม.วันนี้ ว่า ครม.มีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายกลางปี 52 พร้อมทั้งมาตรการชุดใหญ่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งภาคธุรกิจท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ และช่วยเหลือภาคธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม(SME) ขยายโครงการแทรกแซงราคาพืชผลเกษตร



รวมไปถึงขยาย เวลามาตรการลดรายจ่ายให้กับประชาชนทั้งค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้าโดยขยาย มาตรการใช้ฟรีน้ำประปาไม่เกิน 30 คิวฯและไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วย ขณะเดียวกันครม.อนุมัติงบกลางปี ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร วันที่ 28 มกราคมนี้



นาย สาธิต รังคสิริ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี กรมสรรพากร เปิดเผยว่า ครม.ได้อนุมัติมาตรการภาษี 7 ข้อ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ การขยายสิทธิประโยชน์ทางภาษีการปรับโครงสร้างหนี้ รวบรวมกิจการโดยจะขยายเวลาออกไปอีก 1 ปี และให้หน่วยงานนำค่าใช้จ่ายการสัมมนาท่องเที่ยวในประเทศหักลดหย่อนภาษีได้ เป็น 2 เท่า



การอนุมัติให้ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ในปี 2552 สามารถนำเงินต้นซื้อบ้านหักภาษีได้ 3 แสนบาท ดอกเบี้ยอีก 1 แสนบาท และขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์กองทุนร่วมลงทุนออกไปอีก 3 ปี จนถึงสิ้นปี 2554 โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม มาตรการภาษีทั้ง 7 ข้อจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 1หมื่นล้านบาท


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



เผย7มาตรการภาษีกระุ้ตุ้นศก.


กรณ์แจงยิบ7มาตราการกระตุ้นศก.ของรัฐบาลหลังครม.อนุมัติ เผยรัฐสูญรายได้4หมื่นล้าน


นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า มาตรการที่ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจประการแรกคือ ด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยยกเว้นภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านใหม่ และโอนกรรมสิทธิ์ภายในปี 2552 นำเงินต้นลดหย่อนภาษีไม่เกิน 300,000 บาท และนำดอกเบี้ยเงินกู้หักลดหย่อนอีก 100,000 บาท รวมเป็น 400,000 บาท และต่ออายุค่าธรรมเนียมการโอนธุรกิจเฉพาะและภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถึงเดือนมีนาคม 2553 เนื่องจากต้องการให้มีการตัดสินใจซื้อบ้านในปี 2552 เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อออกสู่ระบบมากขึ้น และจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง คาดว่าจะมีการซื้อขายบ้านใหม่ 100,000 หน่วย โดยรัฐสูญรายได้จากมาตรการนี้ ค่าธรรมเนียมการโอน ธุรกิจเฉพาะ และภาษีหัก ณ ที่จ่าย 30,000 ล้านบาท และภาษีอากรรายได้บุคคลธรรมดา 6,500 ล้านบาท



2.ภาษีช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ด้วยการขยายวงเงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษีร้อยละ0.5 จากเดิม 60,000 บาท เพิ่มเป็น 1 ล้านบาท เพื่อลดภาระค่าครองชีพแก่ประชาชนและเอสเอ็มอี เท่ากับเป็นการยกเว้นภาษีจาก 300 บาท/ปี เป็นกว่า 5,000 บาท/ปี ครอบคลุมเอสเอ็มอี 97,000 ราย โดยคาดรัฐสูญเสียรายได้ 1,400 ล้านบาท



3.การช่วยเหลือวิสาหกิจชุมชน ด้วยการเพิ่มวงเงินรายได้ยกเว้นภาษีจาก 1.2 ล้านบาท เป็น 1.8 ล้านบาท/ปี ให้เฉพาะปีภาษี 52-53 เท่านั้น เพื่อเพิ่มรายได้แก่ประชาชน และสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน 58,000 แห่ง คาดว่ารัฐสูญรายได้ 200 ล้านบาท



4.มาตรการช่วยเหลือการท่องเที่ยว โดยให้บริษัทห้างหุ้นส่วนต่าง ๆ สามารถนำรายได้จากการสัมมนาค่าฝึกอบรมไปคำนวณหักภาษี 2 เท่าของที่จ่ายจริง ใช้สำหรับรอบบัญชีปี 52 เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กับโรงแรมร้านค้า บริษัททัวร์ โดยคาดว่าภาครัฐสูญรายได้ 1,800 ล้านบาท



5.มาตรการเงินร่วมลงทุน เพื่อเป็นการช่วยเหลือกองทุนร่วมลงทุน (เวนเจอร์แคปปิตอล ฟันด์) สำหรับนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียน เพื่อประโยชน์ด้านภาษี จากกำหนดเวลาได้ประโยชน์ในสิ้นปี 51 ขยายเป็นสิ้นปี 54 โดยยกเลิกเงื่อนไขที่บริษัทร่วมลงทุนต้องลงทุนร้อยละ 20 ของทุนจดทะเบียนในปีแรก และยกเว้นภาษีเงินได้แก่ผลประโยชน์ของการโอนหุ้นของเอสเอ็มอี เพื่อให้เป็นแหล่งทุนระยะยาวของเอสเอ็มอี และสนับสนุนให้กระจายหุ้นในตลาดหลัดทรัพย์เอ็ม เอ ไอ



6.มาตรการทางภาษีสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ยกเว้นภาษีเงินได้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงินและเจ้า หนี้อื่น โดยเจ้าหนี้สามารถจำหน่ายหนี้สูญจากการปลดหนี้ดังกล่าวมาลดหย่อน โดยไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ยังยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์การขายสินค้า และผลจากการปรับโครงสร้างหนี้ โดยลูกหนี้ต้องนำเงินที่ได้ไปชำระแก่เจ้าหนี้ จากการโอนสินทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาจำนอง เป็นหลักประกันการกู้ให้แก่ผู้อื่น ทั้งนี้ เพื่อเร่งรัดปรับโครงสร้างหนี้รองรับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ



7. มาตรการเกี่ยวกับการโอนกิจการบางส่วนด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ และค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิ์ และนิติกรรม กรมที่ดินที่เกิดจากการโอนกิจการบางส่วนให้แก่ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัท มหาชนหรือบริษัทจำกัด โดยต้องโอนให้เสร็จภายในสิ้นปี 52 ทั้งนี้ เพื่อเร่งรัดการปรับโครงสร้างองค์กรให้สามารถแข่งขันได้ ลดภาระค่าใช้จ่าย


“ภาษีทั้งหมด 7 รายนี้ ช่วยแบ่งเบาภาระให้ประชาชน แม้รัฐจะสูญเสียรายได้ถึง 40,000 ล้านบาท ก็ตาม” รมว.คลังกล่าว.


Lock Reply
view