พาณิชย์เผยแผนงานประชุมอาเซียนด้านเศรษฐกิจในปี 2552
108acc |
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
นาง สาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า การประชุมอาเซียนในด้านเศรษฐกิจการค้าปี 2552 จะมีความสำคัญกับไทยอย่างยิ่ง โดยไทยจะรับบทบาทเป็นผู้เปิดศักราชใหม่ของการดำเนินงานภายใต้กฎบัตรอาเซียน ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา กฏบัตรอาเซียนเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่วางหลักเกณฑ์และกลไกดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งภายใต้ประชาคมอาเซียนจะมีแผนงานด้าน “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” เป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญซึ่งประเทศสมาชิกต้องถือเป็นพันธกรณีปฏิบัติตาม กฏบัตรอาเซียนกำหนดให้ตำแหน่งประธานของอาเซียนหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไปใน แต่ละปีปฏิทิน โดยให้เป็นระบบ Single Chairmanship คือ ประเทศที่เป็นเจ้าภาพจะต้องเป็นประธานในการประชุมทุกระดับตั้งแต่ระดับผู้นำ ลงมาจนถึงการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ดังนั้นในปี 2552 นี้ ไทยจะเป็นประธานคนแรกของอาเซียนในการนำพาประเทศสมาชิกก้าวไปสู่การเป็น ประชาคมอาเซียน ทั้ง นี้ในกรอบการประชุมเศรษฐกิจการค้า ได้มีกลไกบริหารเพิ่มใหม่ขึ้น ได้แก่ คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Council) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า AEC Council คณะมนตรีฯดังกล่าว ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานและรับรายงานจากรัฐมนตรีต่างๆ เช่น รัฐมนตรีการค้า รัฐมนตรีอุตสาหกรรม รัฐมนตรีเกษตร รัฐมนตรีคมนาคม ฯลฯ โดยหน้าที่ดังกล่าวเดิมเคยเป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีการค้า สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ คือ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รับหน้าที่ AEC Council Minister ของไทย และจะทำหน้าที่เป็นประธานของการประชุม AEC Council ซึ่งจะมีประชุมปีละ 2 ครั้ง ประเทศไทยในฐานะประธาน ได้กำหนดเบื้องต้นไว้ว่าจะจัดประชุมครั้งแรกในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนใน ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ศกนี้ ทั้งนี้ยังคงต้องรอความเห็นของประเทศสมาชิกอื่นๆว่าจะสะดวกหรือไม่ในช่วงดัง กล่าว สำหรับ การประชุมรัฐมนตรีการค้า หรือ AEM (ASEAN Economic Minister) เป็นกลไกที่มีมาแต่เดิมซึ่งเป็นการประชุมของรัฐมนตรีที่รับผิดชอบดูแลด้าน การค้าก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปโดยจะเน้นการดำเนินงานในการขับเคลื่อนแผน งาน AEC Blueprint สำหรับไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทน AEM โดยในปีนี้ ก็จะรับหน้าที่เป็นประธานด้วย มีการประชุมปีละ 2 ครั้ง โดยในครั้งแรกเป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ หรือที่เรียกว่า AEM Retreat ซึ่งในปีนี้ ประเทศกัมพูชาได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจะจัดขึ้นที่เสียมราฐ ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม และจะมีการประชุมอย่างเป็นทางการซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดที่ประเทศไทยในช่วง เดือนสิงหาคม ศกนี้ นอก จากนั้น จะมีการประชุมในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือ SEOM (Senior Economic Officials Meeting) ซึ่งในส่วนของไทย อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนฝ่ายไทย และจะรับหน้าที่ประธานการประชุมในช่วงปีนี้เช่นกัน ขณะนี้ได้กำหนดการประชุม SEOM ครั้งแรกในช่วงวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ที่กรุงเทพฯ และจากนั้นจะยังมีการประชุมอีก 3 ครั้ง ในปีนี้ อา เซียนจัดได้ว่าเป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของไทยในปัจจุบัน โดยในปี 2550 มีมูลค่าการค้าประมาณ 57,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของไทย เป็นสัดส่วนร้อยละ 21 ของมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้นของไทย หรือ ประมาณ 32,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในประชาคมเศรษฐกิจอา เซียนจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งของไทย ซึ่งในปีนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีของไทยในฐานะประธานของอาเซียนที่จะแสดงบทบาทใน การผลักดันให้อาเซียนก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ในทิศทางที่เกิดผลประโยชน |