สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อาเซียน-จีนลดภาษี0%ต้นปี 53 เตือนผู้ส่งออกระวัง!กับดักVAT

(อ่าน 1594/ ตอบ 0)

108acc (Member)


อา เซียน-จีน ดีเดย์ 1 ม.ค. 2553 ลดภาษีสินค้ารายการปกติเหลือ 0% นักธุรกิจไทยในจีนเตือนผู้ส่งออกศึกษาตลาดก่อนส่งออกสินค้า ชี้จีนมีมาตรการกีดกันการค้า ภาษี VAT ในประเทศสูงถึง 17% หวั่นข้าวหอมมะลิไทยถูกปลอมปน สินค้าถูกลอกเลียนแบบ แนะรัฐเร่งหาช่องทางเจาะตลาดใหม่ สร้างภาพลักษณ์สินค้าไทย แก้ปัญหากีดกันการค้าของแต่ละมณฑล



เขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน-จีน จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2553 โดยภาษีสินค้ารายการปกติ (Normal List) ทั้งหมดกลายเป็น 0% จากปัจจุบันที่จีนได้ลดภาษีให้ไทยตามกรอบอาเซียน-จีน ไปแล้ว 4,939 รายการ ภาษีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 6.2% สินค้าเกษตรเฉลี่ยอยู่ที่ 6.9% และสินค้าที่ไม่ใช่เกษตรอยู่ที่ 6.1% แต่หลังจากปี 2553 จะเหลือสินค้าอ่อนไหว 400 รายการ ที่จะทยอยลดจนเหลืออัตราภาษีสุดท้ายอยู่ที่ 0-5% ในปี 2561 และสินค้าอ่อนไหวสูงอีก 100 รายการ จะลดอัตราภาษีเหลือ 50% จากอัตราปกติใน ปี 2558 โดยไทยหวังว่าการลดภาษีนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยผลักดันการค้าไทย-จีน ให้เป็นไปตามเป้าหมาย 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2553


นายประกอบ พรประสิทธิ์กุล ที่ปรึกษารัฐบาลเมืองอี้อู ในด้านสินค้าไทย และประธานบริษัท Yiwu Agriculture Trade City Foreign กล่าวว่า รัฐบาลไทยต้อง เตรียมมาตรการรับมือปัญหาข้อกีดกันทางการค้า ภายหลังจากการลดภาษี 0% ในสินค้าบัญชีปกติ (Normal List) ภายใต้กรอบการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน-จีน ในวันที่ 1 ม.ค.นี้ ซึ่งจะทำให้สินค้าทุกประเทศอาเซียนสามารถส่งออกมาที่จีนได้มากขึ้น และอาจจะนำไปสู่ปัญหาการนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านทั้งลาว กัมพูชาซึ่งมีต้นทุนเพียงตันละ 6 พันบาท มาปลอมปนผสมกับข้าวหอมมะลิไทยซึ่งมีต้นทุนสูงกว่า


แม้ว่าจะมีการลด ภาษีเชื่อว่าจีนจะยังใช้มาตรการทางการค้า (NTBs) กับสินค้าไทย เช่น ข้าว รัฐบาลจีนยังใช้ระบบ Import Licensing ซึ่งต้องให้ผู้นำเข้าซึ่งจะเป็นรัฐ วิสาหกิจแต่ละมณฑลจะต้องขอโควตากับรัฐบาลจีน และมาจัดสรรให้กับผู้นำเข้าในเครือข่ายของแต่ละมณฑล เพราะจีนเป็นประเทศที่มุ่งจะขายสินค้าไม่ใช่จะเปิดตลาดให้ไทยเข้าไปอย่าง เดียว นอกจากนี้มาตรการและกฎหมายที่ใช้ในแต่ละมณฑล เหมือนกันแต่มีระดับความเข้มงวดต่างกัน โดยจะมีหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพ (CIQ) ทำหน้าที่ตรวจสอบ เช่น บางสินค้าผลิตต่างประเทศใช้สูตรการผลิตเดียวกันกับที่ผลิตในจีน แต่จะถูกใช้มาตรการทางการค้ากีดกันนำเข้าได้


อย่างไรก็ตามแนวโน้ม การเปิดตลาดสินค้ากลุ่มอาหาร/เกษตรน่าจะขยายตัวได้ดี เพราะผู้บริโภคจีนรับรู้ว่าสินค้าไทยมีจุดเด่นด้านภาพลักษณ์คุณภาพแต่ขาดการ ทำการตลาดที่เหมาะสม จึงทำให้ขยายตัวได้ช้า เนื่องจากยังต้องอาศัยการขายฝากจากผู้ประกอบการจีนซึ่งจะผูกขาดการค้า ตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ เช่น ผลไม้ไทยส่วนใหญ่จะส่งไปขายส่งที่ตลาดผักและผลไม้เจียงหนาน ซึ่งไทยควรจะยกเลิกระบบนี้ให้ได้ โดยพยายามกระจายสินค้าไปยังตลาดจีนอื่น ๆ ให้ได้ โดยเลือกตลาดที่เหมาะสมกับสินค้า และต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพและราคาสินค้าที่เหมาะสมจึงจะประสบ ความสำเร็จได้


ส่วนสินค้ากลุ่มไม่ใช่อาหาร (non food) มาที่ตลาดจีนยังเสี่ยงที่จะถูกลอกเลียนแบบ ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาการปลอมปน สินค้าหรือการลอกเลียนสินค้านั้น ไทยจะต้องสร้างมาตรฐานสินค้าแบรนด์ไทย พร้อมกับประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครับรู้ว่าสินค้าไทยจริงมีลักษณะอย่างไร การเลือกซื้อต้องทำอย่างไร และสามารถซื้อได้ที่ไหน เพื่อให้ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินใจเอง ส่วนรัฐบาลก็ต้องย้อนกลับไปทำลายสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย


สอด คล้องกับข้อมูลของภูมิภาคจีน (China Hub) กระทรวงพาณิชย์ สะท้อนให้เห็นว่า การลดภาษีนำเข้าไม่ใช่การเปิดตลาดเสรีทั้งหมด เพราะยังมีเงื่อนไขที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเปิดตลาดอยู่ ทั้งมาตรการด้านภาษีภายในประเทศ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้าทั่วไปอัตราสูงสุดที่ 17% เช่น กลุ่มอัญมณี เครื่องนุ่งห่ม ส่วนสินค้าเกษตรและสินค้าที่ไม่แปรรูปอัตรา 13% มีเพียงสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกที่ได้รับการลด VAT เหลือ 0%


นอก จากนี้ยังมีมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTBs) หลายมาตรการที่รัฐบาลจีนกำหนดขึ้นมาเพื่อดูแลการนำเข้าอย่างเข้มงวด ดังนั้นผู้ส่งออกไทยที่สนใจจะใช้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ควรจะต้องศึกษาข้อมูลทั้งภาษี VAT ในประเทศ รวมถึงมาตรการ NTBs


Lock Reply
view