สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กทม.ลดหย่อนภาษีโรงเรือนที่ดินปี54 ขยายเวลาประเมินถึงก.ย.นี้

(อ่าน 2011/ ตอบ 0)

108acc (Member)


จากประชาชาติธุรกิจ

ดร.ธีระชน  มโนมัยพิบูลย์  รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  เปิดเผยว่า  คณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ของกรุงเทพมหานคร  ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเมื่อวันที่ 4 พ.ค.53 ได้ประชุมและออกมาตรการด้านการเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการ 2 มาตรการ  คือ มาตรการที่ 1 ด้านการผ่อนผันชำระภาษีโรงเรือนที่ดิน  ซึ่ง กทม.กำหนดให้มีการผ่อนชำระภาษีโดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มเป็นระยะเวลา 3 เดือน  แต่ทั้งนี้ กทม.ได้มีการแจ้งไปยังคณะกรรมการชุดใหญ่ของรัฐบาลว่าจะสามารถขยายระยะเวลา การประเมินภาษีออกไปจนถึงเดือน ก.ย.53

 

เนื่องจากปัจจุบันกำหนดยื่นแบบชำระภาษีถึงเดือน ก.พ.เท่านั้น  ซึ่งถ้าหากสามารถยื่นระยะเวลาประเมินภาษีจนถึงเดือน ก.ย.53 ผู้ประกอบการจะมีเวลาผ่อนชำระอีก 3 เดือนจนถึงสิ้นปี 53 คือ ต.ค., พ.ย. และ ธ.ค. เพื่อชำระภาษีโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือเงินเพิ่มแต่อย่างใด  นอกจากนั้นสำหรับผู้ประกอบการที่มีวงเงินที่จะต้องเสียเพิ่ม 10% กรณีผ่อนชำระภาษีเกิน 3 งวด ในอำนาจของผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการสำนักการคลัง และปลัด กทม. จะสามารถอนุญาตให้ยืดการผ่อนชำระได้ถึง 12 งวด ในกรอบวงเงินเพิ่ม 10% เท่าเดิม  และในส่วนที่ต้องชำระภาษีโรงเรือนเกิน 1 ล้านบาท จะเป็นอำนาจของผู้ว่าฯ กทม.ที่จะยืดการชำระภาษีได้จนถึง 24 งวด ในกรอบวงเงินเพิ่ม 10% เท่าเดิม 

 

 

 แต่ทั้งนี้หากรัฐบาลประสงค์จะยกเว้นเงินเพิ่มสามารถกระทำได้ด้วยการ ออกกฎกระทรวง  แต่จะมีขั้นตอนยาวนาน  เบื้องต้นตามระเบียบ กทม.ได้ให้อำนาจของผู้ว่าฯ กทม.ในการไม่กำหนดงวดในการผ่อนชำระ  ซึ่งหากผู้ประกอบการเห็นว่าการผ่อนชำระ 24 งวดจะไม่สามารถผ่อนได้  ก็จะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป ซึ่งบางกรณีอาจขยายเป็น 36 งวดได้ ทั้งนี้จากการคาดการณ์ด้านภาษีที่ กทม.จะต้องเก็บตามเวลาที่ผ่านมานับจากวันเริ่มชุมนุมมีจำนวนกว่า 300 ล้านบาท

มาตรการที่ 2 กทม.ได้กำหนดมาตรการลดหย่อนภาษีโรงเรือนและที่ดิน  โดยขอให้ผู้ประกอบการเก็บข้อมูล ภาพถ่าย ผลกระทบจากการชุมนุม  เพื่อขอลดหย่อนภาษีในปี 54 ตามสภาพที่เกิดขึ้นจริงแล้วแต่กรณีและระยะเวลาที่เกิดผลกระทบ  นอกจากนั้นยังจะพิจารณาเรื่องการขยายระยะเวลาผ่อนชำระภาษีในมาตรการที่ 1 ให้ด้วย

 

รองผู้ว่าฯ ธีระชน  กล่าวอีกว่า  กทม.ต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่เกิดผลกระทบจากการชุมนุม  โดยจากการรายงานผู้ประกอบการได้ปลดพนักงานแล้วกว่า 50% ซึ่งจะต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือโดยด่วนในกรอบอำนาจหน้าที่ของ กทม. ส่วนด้านของรัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือทางด้านภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงิน ได้ส่วนบุคคลได้อีกทางหนึ่ง


Lock Reply
view