สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สรรพากรเตรียมไล่บี้เก็บภาษีอี-คอมเมิร์ซ

(อ่าน 974/ ตอบ 0)

108acc (Member)

จาก โพสต์ทูเดย์


กรมสรรพากรรับลูกทีดีอาร์ไอ ขยายฐานการเก็บภาษีในธุรกิจซื้อขายผ่านออนไลน์-การเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มขึ้น


นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมมีการศึกษาขยายฐานภาษีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งที่ดำเนินการในขณะนี้คือการขยายฐานภาษีไปยังกลุ่มธุรกิจที่มีการซื้อขาย กันผ่านระบบออนไลน์ โดยที่ผ่านมาได้เชิญผู้ประกอบการมาทำความเข้าใจให้มีการยืนแบบและเสียภาษี ให้ถูกต้อง เพราะถือว่าเป็นผู้มีรายได้ที่ต้องยื่นแบบและเสียภาษี หากยังไม่ยอมยื่นทางกรมสรรพากรก็จะดำเนินการหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการให้มาเสียภาษี


นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังต้องการขยายฐานภาษีหัก ณ ที่ จ่ายเพิ่มขึ้น จากในขณะนี้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย กับธุรกิจรับจ้างทำของในอัตรา 3% ไปยังในธุรกิจขนส่ง และธุรกิจอื่นๆ เพิ่มขึ้น เพราะพบว่า การเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นผลดีนอกจากจะได้เงินภาษีล่วงหน้าแล้ว ยังสามารถเป็นตัวที่จะไปเช็คการเสียภาษีให้ถูกต้องในช่วงที่มีการยิ่นแบบได้ เป็นอย่างดีอีกด้วย


สำหรับการขยายฐานภาษี ตามข้อเสนอของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ต้องให้คนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มายื่นแบบเสียภาษี แม้ว่ายังไม่ต้องมีภาษีต้องชำระก็ตาม เป็นแนวคิดที่ดี แต่ต้องมีการแก้กฎหมายประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ซึ่งในประมวลรัษฎากรปัจจุบันได้กำหนดขั้นต่ำของผู้ต้องยื่นแบบชำระภาษี สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีรายได้ 3 หมื่นบาทต่อปี คู่สมรส ที่มีรายได้ 6 หมื่นบาทต่อปี ต้องยื่นแบบเสียภาษี


ข้อสังเกตของทีดีอาร์ไอ ที่มีผู้ยื่นแบบภาษีในปัจจุบันจำนวน 4-5 แสนคน ควรต้องเสียภาษีแต่ไม่เสียภาษี เป็นเพราะที่ผ่านมาได้รับประโยชน์มาตรการยกเว้นภาษี เช่น การได้รับยกเว้นภาษีจากการซื้อกองทุนเพื่อการลงทุนในหุ้นระยะยาว (LTF) และการซื้อกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ (RMF) ซึ่งหากจะมีการยกเลิกมาตรการดังกล่าวต้องเป็นเรื่องของฝ่ายนโยบาย ซึ่งต้องยอมรับว่ามาตรการดังกล่าวก็มีประโยชน์ ทำให้การลงในตลาดหลักทรัพย์มีความน่าสนใจมากขึ้น


การต่ออายุมาตรการภาษีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เหลือ 25% และในตลาด MAI เหลือ 20% เบื้องต้นกรมสรรพากรเห็นว่า ควรศึกษาโครงสร้างภาษีนิติบุคคลทั้งระบบ หากจะมีการลดหย่อนให้ก็ควรลดหย่อนเป็นการทั่วไปไม่เฉพาะบริษัทในตลาดหลัก ทรัพย์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในระบบเสียภาษี


Lock Reply
view