สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ครม.ไฟเขียวหักภาษีประกันได้ 3 แสน ลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 15% ดึงต่างชาติลงทุน

(อ่าน 898/ ตอบ 0)

108acc (Member)

ครม.ไฟเขียวหักภาษีประกันได้ 3 แสน ลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 15% ดึงต่างชาติลงทุน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ครม.เห็นชอบเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็น 3 แสนบาท แต่เมื่อรวมกองทุนอื่นไม่เกิน 5 แสนบาท พร้อมไฟเขียวลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 15% เป็นเวลา 5 ให้ต่างชาติที่จัดตั้งศูนย์กลางการจัดหาสินค้า
      
       นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุน การออมในรูปแบบประกันชีวิตแบบบำนาญ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมไว้ใช้หลังเกษียณอายุ ตลอดจนกระตุ้นการขยายตัวของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญให้เพิ่มขึ้น อันจะช่วยเพิ่มการออมของประเทศในระยะยาว และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
      
       โดยได้เพิ่มวงเงินการให้หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่า เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ จากเดิมไม่เกิน 100,000 บาท เป็น 300,000 บาท ทั้งนี้ วงเงินส่วนที่เพิ่มขึ้นจำนวน 200,000 บาทดังกล่าว ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน และเมื่อรวมกับเงินได้ที่จ่ายเข้ากองทุนประเภทเดียวกันอื่นๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
      
       “มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมในรูปแบบประกันชีวิตแบบบำนาญข้างต้น จะเป็นการช่วยสนับสนุนให้ผู้มีเงินได้ออมเงินไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณอายุอันจะ เป็นการช่วยสร้างหลักประกันควา มั่นคงของชีวิตในวัยชรา และเป็นการส่งเสริมการออมของประเทศให้เพิ่มขึ้นในระยะยาว และช่วยลดปัญหาสังคมและภาระค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุที่มีอัตราเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง”
      
       นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสรรพากรจะได้ประสานงานด้านกฎหมายให้มีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้พึง ประเมินประจำปีภาษี 2553 ที่ต้องยื่นรายการในปี 2554 เป็นต้นไป
      
       นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.วันนี้ มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับมาตรการสนับสนุนการจัด ตั้งศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ (International Procurement Center : IPC) โดยปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือ 15% สำหรับกำไรสุทธิให้แก่ศูนย์กลางการจัดหาสินค้าฯ เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน สำหรับรายได้ ดังต่อไปนี้
      
       - รายได้จากการซื้อและขายสินค้านอกประเทศไทยให้แก่วิสาหกิจในเครือที่ตั้งใน ต่างประเทศ โดยสินค้าดังกล่าวมิได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย (Out-Out Transaction)
      
       - รายได้จากการขายวัตถุดิบและชิ้นส่วนให้แก่วิสาหกิจในเครือ ประเภทโรงงานผลิตที่ตั้งอยู่นอกประเทศไทย (In-Out Transaction)
      
       และการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับคนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้ บริหารหรือผู้เชี่ยวชาญระดับสูงเหลือ 15% เป็นจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นเวลา 5 ปีต่อเนื่องกัน สำหรับเงินได้จากการจ้างแรงงานที่คนต่างด้าวได้รับจากการทำงานในศูนย์กลาง การจัดหาสินค้า รวมทั้งให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้จากการจ้างแรงงาน ที่คนต่างด้าวนั้นถูกส่งไปทำงานในต่างประเทศ ซึ่งการที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีของคนต่างด้าวนี้ ศูนย์กลางการจัดหาสินค้า จะต้องมีรายได้จากธุรกรรมที่ได้สิทธิประโยชน์ ไม่น้อยกว่า 50% ของรายได้ที่ได้สิทธิประโยชน์รวมกับรายได้จากการขายวัตถุดิบและชิ้นส่วนให้ แก่วิสาหกิจในเครือเพื่อการผลิตในประเทศ
      
       ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขการจัดตั้ง และการได้รับสิทธิประโยชน์จะเป็นไปตามที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาฯ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
      
       “มาตรการภาษีนี้ จะช่วยสนับสนุนการประกอบธุรกรรมจัดซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนเพื่อใช้ประกอบ การผลิตสินค้าในกลุ่มบริษัท และส่งเสริมการลงทุนด้านการผลิตซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อันเป็นการต่อยอดมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (ROH) ซึ่งมุ่งทางด้านการบริการ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการผลิตและการให้บริการของภูมิภาคอย่าง ครบวงจร”
      
       นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า การให้สิทธิประโยชน์แบบ out-out จะไม่ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ เนื่องจากเป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นนอกประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีส่วนน้อยที่บันทึกบัญชีในประเทศไทย การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในครั้งนี้จะส่งเสริมให้มีการนำรายได้ในส่วน นี้มาบันทึกบัญชีในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
      
       ส่วนการให้สิทธิประโยชน์แบบ in-out จะเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มบริษัทในเครือในต่างประเทศใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วน ที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการส่งออกของประเทศ ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอย่างยั่งยืน และรัฐจะสามารถจัดเก็บภาษีได้ เพิ่มขึ้นในระยะยาว

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลดภาษีเหลือ15%ดึงต่างชาติลงทุน

จาก โพสต์ทูเดย์

คลังสมใจ ครม. ลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 15% เป็นเวลา 5 ปี ให้ต่างชาติที่จัดตั้งศูนย์กลางการจัดหาสินค้า

นาย ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง กล่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวง การคลังเกี่ยวกับมาตรการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการ ผลิตระหว่างประเทศ (International Procurement Center : IPC) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือ 15% สำหรับกำไรสุทธิให้แก่ศูนย์กลางการจัดหาสินค้าฯ  เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน สำหรับรายได้ดังต่อไปนี้

 1.1  รายได้จากการซื้อและขายสินค้านอกประเทศไทยให้แก่วิสาหกิจในเครือที่ตั้งใน ต่างประเทศ โดยสินค้าดังกล่าวมิได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย (Out-Out Transaction)

 1.2  รายได้จากการขายวัตถุดิบและชิ้นส่วนให้แก่วิสาหกิจในเครือ ประเภทโรงงานผลิตที่ตั้งอยู่นอกประเทศไทย (In-Out Transaction)

2. ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับคนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้บริหารหรือผู้ เชี่ยวชาญระดับสูงเหลือ 15% เป็นจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นเวลา 5 ปีต่อเนื่องกัน สำหรับเงินได้จากการจ้างแรงงานที่คนต่างด้าวได้รับจากการทำงานในศูนย์กลาง การจัดหาสินค้าฯ รวมทั้งให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้จากการจ้างแรงงาน ที่คนต่างด้าวนั้นถูกส่งไปทำงานในต่างประเทศ ซึ่งการที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีของคนต่างด้าวนี้  ศูนย์กลางการจัดหาสินค้าฯ จะต้องมีรายได้จากธุรกรรมที่ได้สิทธิประโยชน์ ไม่น้อยกว่า 50% ของรายได้ที่ได้สิทธิประโยชน์รวมกับรายได้จากการขายวัตถุดิบและชิ้นส่วนให้ แก่วิสาหกิจในเครือเพื่อการผลิตในประเทศ

นาย ประดิษฐ์ กล่าวว่า มาตรการภาษีนี้ จะช่วยสนับสนุนการประกอบธุรกรรมจัดซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนเพื่อใช้ประกอบ การผลิตสินค้าในกลุ่มบริษัท และส่งเสริมการลงทุนด้านการผลิตซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อันเป็นการต่อยอดมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (ROH) ซึ่งมุ่งทางด้านการบริการ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการผลิตและการให้บริการของภูมิภาคอย่าง ครบวงจร”

นายสาธิต รังคสิริ กล่าวว่า การให้สิทธิประโยชน์แบบ out-out จะไม่ทำให้รัฐสูญเสียรายได้  เนื่องจากเป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นนอกประเทศซึ่งปัจจุบันมีส่วนน้อยที่บันทึก บัญชีในประเทศไทย การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในครั้งนี้จะส่งเสริมให้มีการนำรายได้ในส่วน นี้มาบันทึกบัญชีในประเทศไทยเพิ่มขึ้น

สำหรับ การให้สิทธิประโยชน์แบบ in-out จะเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มบริษัทในเครือในต่างประเทศใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วน ที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการส่งออกของประเทศ ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอย่างยั่งยืน และรัฐจะสามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นในระยะยาว
Lock Reply
view