สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ดึงแรงงานต่างด้าวเข้าประกันสังคม

(อ่าน 17749/ ตอบ 10)

108acc (Member)

จาก โพสต์ทูเดย์


ดึงแรงงานต่างด้าวเข้าระบบประกันสังคม คุ้มครอง 7 สิทธิประโยชน์


สำนักงานประกันสังคม (สปส.) แจงหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน และการให้ความคุ้มครอง ลูกจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติ ลาว กัมพูชา และพม่า ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ เข้ามาทำงานถูกกฎหมาย ต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน พร้อมทั้งจ่ายเงินสมทบ รับสิทธิประโยชน์ 7 กรณี


สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ให้นายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าวสัญชาติ ลาว กัมพูชา และพม่า ที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย ต้องผ่านการพิสูจน์สัญชาติ และมีเอกสารใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) หนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารแสดงตัวแทนหนังสือเดินทาง แจ้งขึ้นทะเบียนเป็นลูกจ้างตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 และเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับหลักฐานเอกสารครบถ้วน โดยจะยกเว้นไม่ขึ้นทะเบียน กรณีเป็นลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี และไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย กรณีลูกจ้างของนายจ้างที่จ้างไว้เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร หรือเป็นไปตามฤดูกาล กรณีลูกจ้างของนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งงานที่ลูกจ้างทำนั้นมิได้มีการ ประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย กรณีเป็นลูกจ้างของนายจ้าง ซึ่งประกอบการค้าเร่ หรือการค้าแผงลอย กรณีเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ ด้วย


สำหรับอัตราการนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม กำหนดให้ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบในอัตรา5 % จากค่าจ้างรายเดือน ซึ่งค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ ของผู้ประกันตน กำหนดเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท  ทั้งนี้ เมื่อลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามพระราช บัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และได้นำส่งเงินสมทบจะได้รับความคุ้มครองใน 7 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน


มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขต พื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการทุกวัน เวลา 07.00-19.00 น. ระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติให้บริการ 24 ชั่วโมง) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th


อรพินท์

ต้องการผลักดันแรงงานต่างด้าวออกไป อยากถามว่างานที่ต่างด้าวทำอยู่ทุกวันนี้ จะมีคนไทยสักกี่คนที่ยอมทำ
ลูกจ้างไทยหัวสูง เรื่องมาก ขี้เกียจทำงานแต่อยากได้ค่าจ้างแพง

555

กองทุนประกันสังคม เกิดจาการส่งเงินสมทบของคนไทยที่ทำงาน ซึ่งเงินกองทุนนี้ควรจะเป็น ของคนไทยที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ทำไม่ ประกันสังคมนำเงินกองทุนนี้ไปรวมกับแรงงานต่างด้าว  ซึ่สิทธิการรักษาบางอย่างก็จำกัดอยู่แล้ว
ทำไมไม่แยกเงินกองทุน  หรือผมเข้าใจผิดใครมีความรู้ตอบด้วยนะคับ

เห็นด้วย

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ทำไมแรงงานต่างด้าวถึงมีสิทธิเท่าเทียมคนไทย พออยู่รวมกันมาก ก็ทำเสียงดังเหมือนนักเลงใหญ่ ไม่กลัวกฎหมายบ้านเมื่อง ไม่เกรงใจสิทธิคนไทย ทำเหมือนเป็นบ้านของตนเอง ทั้ง ๆ ที่เข้ามาเพื่อทำงาน

phanthip

ทำไมที่ ตม.สมุทรสาคร ไม่ดูใบคำร้องขอทำงานและใบเสร็จรับเงินก่อนจะรับเรื่องรายงานตัวทุก 3 เดือนละค่ะ


เพราะเท่าที่ถามลูกน้องใหม่จะไม่ยอมขึ้นทะเบียนเพราะยังไงก็รายงานตัวได้ ทำให้รู้สึกว่าไม่ยุติธรรมกับลูกน้อง


เ่ก่าที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง เพราะค่าคำขอปีหนึ่ง 1,900 บาท ตรวจร่างกาย 600 หรือ 1,900 บาท ต่างด้าวที่มักง่าย


ไม่ค่อยอยากทำหรอกค่ะ ยังไงก็ช่วยทำให้เป็นมาตรฐานให้เหมือนกันทั่วประเทศเถอะค่ะ หวังว่าคงมีเจ้าหน้าที่อ่านนะค่ะ


อ้อ ใบเสร็จกับใบคำร้องดูตัวจริงนะคะ เพราะได้ยินต่างด้าวคุยกันว่ามีหลายคนแอบทำของปลอมนะจ้ะ

phanthip

บางจังหวัดคงไม่ได้มั้งค่ะ


เช่นที่ ตม.สมุทรสาคร ตรงข้ามวัดโพธิ์แจ้ ไม่ดูใบคำร้องขอทำงานและใบเสร็จรับเงินก่อนจะรับเรื่องรายงานตัวทุก


3 เดือนค่ะ ถ้าไม่ขึ้นทะเบียนก็จะเข้าในระบบประกันสังคมไม่ได้ คิดว่าโครงการนี้ที่จังหวัดนี้ไม่ได้แน่ ๆ 

ตุ๊

การแจ้งเข้าประกันสังคมคนต่างด้าว ทำยังไงบ้างครับ เอกสารที่เตรียมยื่นมีอะไรบ้าง

กมลวรรณ

ไม่จริงหรอกที่จะผลักแรงงานต่างด้าวออกนอกประเทศ  กองทุนประกันสังคมต้องการรายได้  ส่วนต่างด้าวที่จ่ายค่าตรวจโรค 1900 บาทไปแล้วกับต่างด้าวที่จ่าย 600 บาท ก็บังคับเข้าประกันสังคม ทำไมไม่ทำให้จ่ายเท่ากัน น่าจะจัดระเบียบให้ถูกต้องกว่านี้

ปิยะพงศ์ นนท์นาจ

ต่างด้าวที่จะยื่นขอเข้าประกันสังคมเมื่อเอกสารครบถ้วน  แต่กว่าจะได้เอกสารครบก็เลยเวลาไป 6 เดือนแล้ว  แล้วไม่ได้หักเงินสบทบกับพนักงานต่างด้าวไว้


แล้วทางบริษัทจะเสียเงินสบทบย้อนหลังไหม  ใครรู้ช่วยตอบหน่อย  ขอบคุณครับ

Page : 1
Lock Reply
view