สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ด่วน! ประกาศ ธปท. การให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ ใช้บังคับแล้ว

(อ่าน 1093/ ตอบ 1)

108acc (Member)

จาก ประชาชาติธุรกิจ




๑๐ กันยายน ๒๕๕๔  ที่ผ่านมา ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย  ที่ สนส. ๗/๒๕๕๔  เรื่อง การให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้  มีผลบังคับใช้แล้ว


ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย  ที่ สนส. ๗/๒๕๕๔  มีสาระสำคัญ ดังนี้  


๑. เหตุผลในการออกประกาศ


ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการกำหนดหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อที่เข้าข่ายว่าจะ มีลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ เพื่อให้สถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการให้สินเชื่อและมีการบริหารความ เสี่ยงด้านเครดิตที่เหมาะสมและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ในปัจจุบันสถาบันการเงินมีการพัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตที่ดี ขึ้นเป็นลำดับ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อที่เข้าข่าย ว่าจะมีลักษณะที่เล็งเห็น ว่าจะเรียกคืนไม่ได้ โดยให้สถาบันการเงินเป็นผู้พิจารณาการให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะ เรียกคืน ไม่ได้ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น



๒. อำนาจตามกฎหมาย


อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพของ บุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙  ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบท บัญญัติแห่งกฎหมาย  ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็ง เห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้
ตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้



๓. ขอบเขตการบังคับใช้


ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินทุกแห่ง



๔. ประกาศและหนังสือเวียนที่ยกเลิก


ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. ๓๓/๒๕๕๑ เรื่อง การให้สินเชื่อ ในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ ลงวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๑


๕. เนื้อหา


๕.๑ ให้สถาบันการเงินพิจารณาด้วยความระมัดระวังรอบคอบ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจ เกิดขึ้นในการให้สินเชื่อในลักษณะที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ ซึ่งมีลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังต่อไปนี้


๕.๑.๑ การให้สินเชื่อแก่บุคคลซึ่งตามพฤติการณ์ไม่อาจชำระหนี้ได้ หรืออาจชำระหนี้ได้ โดยยากตามข้อใดข้อหนึ่ง


ดังต่อไปนี้


(๑) บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
(๒) บุคคลซึ่งถูกฟ้องบังคับชำระหนี้และไม่มีทรัพย์สินพอที่จะยึดมาชำระหนี้ได้
(๓) บุคคลซึ่งมีฐานะการเงินไม่มั่นคงหรือความสามารถในการหารายได้ต่ำ จนไม่น่าเชื่อว่าจะชำระหนี้ได้
(๔) บุคคลซึ่งไม่ปรากฏว่าประกอบธุรกิจแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า ไม่ได้ประกอบธุรกิจจริงจัง และไม่ปรากฏว่ามีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้ได้


๕.๑.๒ การให้สินเชื่อโดยมีบุคคลตามข้อ ๕.๑.๑ เป็นผู้ค้ำประกัน


๕.๑.๓ การให้สินเชื่อที่ไม่ปรากฏเอกสารหลักฐานแสดงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับตัวลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน


๕.๑.๔ การให้สินเชื่อที่ปรากฏหลักฐานว่าลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันตามเอกสารหลักฐาน ไม่มีตัวตนจริงหรือมีแต่มิได้เป็นผู้ขอสินเชื่อหรือผู้ค้ำประกัน


๕.๑.๕ การให้สินเชื่อโดยไม่ได้มีการวิเคราะห์หรือประเมินฐานะหรือความสามารถ ในการชำระหนี้ของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน อย่างเช่นสถาบันการเงินผู้ประกอบกิจการด้วยความ ระมัดระวังพึงกระทำ


๕.๑.๖ การทำธุรกรรมด้านสินเชื่อที่มีการประเมินราคาหลักประกันไว้สูงกว่ามูลค่า หลักประกันที่แท้จริง โดยมูลค่าหลักประกันที่แท้จริงมิได้ใช้มูลค่าที่ได้จากการประเมินราคา ตามหลักเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการประเมินราคาหลักประกันและ อสังหาริมทรัพย์ รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้ของสถาบันการเงิน


๕.๒ ในกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าสถาบันการเงินใดมีการให้สินเชื่อใน ลักษณะ ที่เล็งเห็นว่าจะเรียกคืนไม่ได้ตามข้อ ๕.๑ อันอาจจะเกิดความเสี่ยงต่อสถาบันการเงินได้ในอนาคต ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้สถาบันการเงินกันเงินสำรองเพิ่มเติมเพื่อ รองรับความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้น แก้ไขหรือระงับการดำเนินการดังกล่าวได้


๖. วันเริ่มต้นบังคับใช้


ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (๑๐ กันยายน ๒๕๕๔) 



ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย



Link: คลิ๊กที่นี่

Lock Reply
view