มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2554
108acc (Member) |
ฉบับที่ 122/2554 วันที่ 13 ตุลาคม2554
มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2554 ............................................................ นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ร่วมกันแถลงข่าวมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2554 ซึ่งปัจจุบันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงและกว้างขวาง โดยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2554 กระทรวงการคลังได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ดังนี้ 1. มาตรการด้านการเงิน มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 8 แห่ง ได้แก่ 1) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 2) ธนาคารออมสิน 3) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 4) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 5) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 6) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 7) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และ8) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย รวมทั้ง ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเดิมของธนาคารในเรื่องการพักชำระหนี้ ขยายระยะเวลาชำระหนี้ และลดดอกเบี้ย รวมทั้ง ให้เงินกู้ใหม่แก่ลูกค้าเดิมและประชาชนทั่วไป เพื่อฟื้นฟูอาชีพและซ่อมแซมบ้าน/อาคารที่เสียหาย โดยลดอัตราดอกเบี้ยให้ตํ่ากว่าปกติและลดหย่อนเกณฑ์การพิจารณา ดังมีรายละเอียดการให้ความช่วยเหลือของแต่ละสถาบันการเงิน ดังนี้ 1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สายด่วน 02 2800180 ต่อ 2352 (1) กรณีลูกค้าเสียชีวิตจากอุทกภัย จะจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ โดย ธ.ก.ส. รับภาระเอง (2) ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เดิมเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2554-2556 และงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2554-2556 (3) ให้เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตรายละไม่เกิน 100,000 บาท และลดดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติที่ ธ.ก.ส. เรียกเก็บจากลูกค้าลงร้อยละ 3 ต่อปี เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี 2. ธนาคารออมสิน สายด่วน 1115 สินเชื่อเคหะ (1) พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย หรือพักชำระหนี้เงินต้นไม่เกิน 6 เดือน 2 (2) ปรับลดเงินงวด และ/หรือขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ โดยเป็นไปตามเงื่อนไขการให้สินเชื่อเคหะของธนาคาร (ไม่เกิน 30 ปี) (3) ให้กู้เพิ่มเพื่อเป็นเงินกู้กรณีฉุกเฉินรายละ 300,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนเงินกู้ตามสัญญาเดิม ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 ร้อยละ 3.25 ต่อปี ปีที่ 3-5 เท่ากับร้อยละ MLR-1 ต่อปี (4) เงินกู้เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยสำหรับลูกค้าสินเชื่อเคหะเดิมรายละ 300,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินหลักทรัพย์เดิม สำหรับประชาชนทั่วไปไม่เกินรายละ 300,000 บาท ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1-2 เท่ากับร้อยละ 3.25 ปีที่ 3-5 เท่ากับร้อยละ MLR-1 ต่อปี สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน สินเชื่อโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) สินเชื่อธุรกิจห้องแถว และสินเชื่อองค์กรชุมชน (1) พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยไม่เกิน 6 เดือน (2) ปรับลดเงินงวด และ/หรือขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ได้ไม่เกิน 1 ปี (3) ให้กู้เพิ่มสำหรับลูกค้าสินเชื่อเดิมและประชาชนทั่วไป โดยสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนรายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับร้อยละ MRR+1 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กรณีผิดชำระหนี้ร้อยละ 14 ต่อปี ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี (4) ให้กู้เพิ่มสำหรับลูกค้าสินเชื่อเดิมและประชาชนทั่วไป โดยสินเชื่อห้องแถวรายละไม่เกิน 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับร้อยละ MLR-1.50 ต่อปี ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี สินเชื่อธุรกิจและ SMEs (1) พักชำระหนี้เงินต้น โดยผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน (2) ขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้จากสัญญากู้เดิมได้ไม่เกิน 1 ปี (3) ให้กู้เพิ่มรายละไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับร้อยละ MLR-1.50 ต่อปี ระยะเวลาชำระเงินกู้ไม่เกิน 5 ปี 3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) สายด่วน 02 6459000 (1) วงเงินให้กู้สำหรับลูกหนี้เดิมของ ธอส. หรือลูกค้าใหม่เพื่อปลูกสร้างหรือซ่อมแซมอาคาร ไม่เกินร้อยละ 100 ของราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร/ค่าซ่อมแซมอาคาร ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 30 ปี อัตราดอกเบี้ยแบ่งเป็น (1.1) ลูกหนี้เดิมของธนาคาร - กรณีหลักประกันได้รับความเสียหาย ลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนที่ 1-4 เหลือร้อยละ 0 ต่อปี โดยมีอัตราดอกเบี้ยให้เลือก 2 แบบ 3 อัตราดอกเบี้ย การผ่อนชำระ แบบที่ 1 ปีที่ 1 เดือนที่ 1 - 4 = ร้อยละ 0 ต่อปี เดือนที่ 5-12 = ร้อยละ MRR-2.00 ต่อปี ปีที่ 2 = ร้อยละ MRR-2.00 ต่อปี ปีที่ 3 = ร้อยละ MRR-1.00 ต่อปี หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยลอยตัวตามประกาศธนาคาร - เดือนที่ 1 - 4 ปลอดการผ่อนชำระเงินงวด - เดือนที่ 5 เป็นต้นไปผ่อนชำระตามปกติ แบบที่ 2 เดือนที่ 1 - 4 = ร้อยละ 0 ต่อปี เดือนที่ 5-16 = ร้อยละ 1 ต่อปี หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยลอยตัวตามประกาศธนาคาร - เดือนที่ 1 - 4 ปลอดการผ่อนชำระเงินงวด - เดือนที่ 5-16 ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ย - หลังจากนั้นผ่อนชำระเงินงวดตามปกติ |