สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เกี่ยวข้องกับใครบ้าง

โพสต์ทูเดย์
สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่าน ในช่วงปีที่ผ่านมาได้มีโอกาสพบปะกับท่านกรรมการกองทุนต่างๆ นายจ้างที่สนใจจะจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

รวม ทั้งเพื่อนสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หลายท่านหรือจะเรียกว่าส่วนใหญ่ก็ว่าได้ ยังไม่ค่อยทราบว่าการดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีบุคคลและ หน่วยงานใดเข้ามาเกี่ยวข้องบ้างและมีหน้าที่อะไร เกี่ยวข้องอย่างไร สรรหามาเล่าฉบับนี้จึงขอถือโอกาสนี้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมของกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นความสำคัญ ตลอดจนความสัมพันธ์ของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพกันค่ะ

ดังที่ทราบกันว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเกิดจากการจัดตั้งร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง มีลักษณะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากนายจ้าง โดยมีคณะกรรมการกองทุนเป็นตัวแทนในการควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของกองทุน และดูแลเงินกองทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับ ได้ นายจ้างจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ก่อให้เกิดกองทุนโดยมีหน้าที่สำคัญในการจ่าย เงินสมทบเข้ากองทุนและหักเงินสะสมของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกเข้ากองทุนเพื่อ เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างให้มีเงินไว้ใช้จ่ายยามเกษียณ ในขณะที่ลูกจ้างก็มีหน้าที่จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน ปฏิบัติตามข้อบังคับกองทุน รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานของกองทุน

ในการบริหารเงินกองทุน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะจ้างบริษัทจัดการเข้ามาบริหารเงินกองทุน รวมทั้งให้บริษัทจัดการเป็นตัวกลางในการติดต่อกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในเรื่องต่างๆ อาทิ การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การแก้ไขข้อบังคับกองทุน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนเป็นไปตามกฎหมายและเกณฑ์การกำกับดูแลที่กำหนด จึงต้องมีผู้ให้บริการอื่นๆ เข้ามาตรวจทานการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการให้มีความถูกต้องอีกครั้ง ได้แก่ ผู้สอบบัญชี ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของงบการเงินของกองทุน และผู้รับรองมูลค่า ทำหน้าที่รับรองความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่บริษัท จัดการคำนวณ นอกจากนี้สำนักงานก.ล.ต. ยังกำหนดให้บริษัทจัดการต้องแยกทรัพย์สินของกองทุนออกจากทรัพย์สินของตนโดย นำไปฝากไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สินซึ่งเป็นอีกนิติบุคคล ทำหน้าที่ดูแล ตรวจสอบความถูกต้อง และเก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุน รวมทั้งติดตามผลประโยชน์ที่ได้จากการลงทุน ซึ่งผู้รับฝากทรัพย์สินจะต้องไม่ใช่นายจ้างหรือบริษัทจัดการที่บริหารเงิน ของกองทุน และต้องมีระบบการเก็บรักษาทรัพย์สินที่ดี มั่นคง ปลอดภัย

สำหรับสำนักงานก.ล.ต. นอกจากการทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว ยังทำหน้าที่กำกับดูแลงานผู้ให้บริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้แก่ บริษัทจัดการ ผู้รับฝากทรัพย์สิน ผู้รับรองมูลค่า NAV และผู้สอบบัญชี

 
ขณะที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ จัดการลงทุนมีส่วนช่วยสร้างมาตรฐานและพัฒนาการประกอบธุรกิจการจัดการกองทุน โดยทำหน้าที่ประสานงานระหว่างบริษัทจัดการต่างๆ และสำนักงานก.ล.ต. ในการออกเกณฑ์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ อาทิ การประชุมร่วมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการออกประกาศ หรือการซักซ้อมความเข้าใจในวิธีปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บริษัทจัดการถือปฏิบัติร่วมกันโดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานก.ล. ต. ขณะเดียวกันสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการประสานงาน และแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาด้านวิชาการ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

จะเห็นได้ว่า การดำเนินการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีบุคคลและมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยว ข้อง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะช่วยกันดูแลผลประโยชน์ให้แก่สมาชิกอย่างเต็มที่ค่ะ หวังว่าท่านผู้อ่านจะเข้าใจหน้าที่และความสำคัญของบุคคลและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกัน และคงอุ่นใจกับระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของประเทศไทยเรามากขึ้นนะคะ ฉบับหน้าเราจะมารู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญของคณะกรรมการกองทุน ที่กำหนดตามกฎหมายกันค่ะ สวัสดีค่ะ

view