สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ศึกแห่งศักดิ์ศรี การประปาฯ VS การทางพิเศษฯ เมื่อปม ′วางท่อน้ำใต้ทางด่วน′ เป็นเรื่อง !!

จาก ประชาชาติธุรกิจ



ศึกแห่งศักดิ์ศรี!! "ประปานครหลวง"กับ"การทางพิเศษฯ"กรณีโครงการวางท่อใต้ทางด่วน ที่ต่างคนต่างไม่ยอมเพราะถือกฎหมายกันคนละฉบับ สุดท้ายต้องให้ " โสภณ ซารัมย์ " รมว.คมนาคม เป็นผู้ชี้ขาด

    เรื่องขัดแย้งระหว่างรัฐวิสาหกิจ กับ รัฐวิสาหกิจ  ด้วยกันเอง   บางครั้งทะเลาะกันด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง   น่าปวดหัว !!
   ดังเช่น เรื่องจริงต่อไปนี้    เมื่อไม่นานมานี้  การประปานครหลวง ได้แจ้ง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ขอดำเนินการวางท่อประธานใหม่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑,๐๐๐ มม. บริเวณทางแยกต่างระดับสุขุมวิท ศรีนครินทร์ เทพารักษ์ และบางนา-ตราด ความยาวแห่งละประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร  พร้อมโครงการก่อสร้างทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ ต่อการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)  
   กทพ. ได้แจ้งอนุญาตให้การประปานครหลวงดำเนินการวางท่อประธานดังกล่าวได้ โดยขอให้การประปานครหลวงแต่งตั้งตัวแทนมาลงนามในสัญญาให้ใช้ที่ดินกับ กทพ.    แต่การประปานครหลวงไม่ตกลงยินยอมทำสัญญาโดยให้เหตุผลว่าการ ประปานครหลวงมีอำนาจตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการประปานครหลวงฯ ในการวางท่อเพื่อส่งและจำหน่ายน้ำประปาผ่านที่ดินของบุคคลใด ๆ ได้โดยมิต้องขออนุญาตและไม่ต้องทำสัญญาการใช้ที่ดินกับ กทพ.
    ต่อมา กทพ. และการประปานครหลวงได้มีหนังสือติดต่อกัน ไม่ต่ำกว่า 7 ครั้ง  แต่ก็หาข้อยุติไม่ได้
   กทพ.  ยืนยัน นอนยันว่า การอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการอันเป็น สาธารณูปโภคใช้พื้นที่ในเขตทางพิเศษเพื่อปักเสาพาดสายหรือวางท่อ จำ เป็นต้องให้หน่วยงานของรัฐนั้นทำความตกลงกับ กทพ. ด้วยการจัดทำสัญญาการใช้ที่ดินตามมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทยฯ 
   ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบและระมัดระวังมิให้พื้นที่ที่อนุญาตเกิดผล กระทบในด้านต่าง ๆ ส่วนการที่การประปานครหลวงไม่ตกลงยินยอมทำสัญญาให้ใช้ที่ดินเพื่อวางท่อ ประปาในโครงการก่อสร้างทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ กับ กทพ. โดยแจ้งว่าการประปานครหลวงมีอำนาจตามมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการประปานครหลวงฯ ในการวางท่อเพื่อส่งและจำหน่ายน้ำประปาผ่านที่ดินของบุคคลใด ๆ  โดยมิต้องขออนุญาตและไม่ต้องทำสัญญาการใช้ที่ดินนั้น ในหลักการใช้กฎหมายกรณีที่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องเกินกว่าหนึ่งฉบับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้กฎหมายไม่ให้ขัดหรือแย้งกัน 
  ดังนั้น การประปานครหลวงจะต้องดำเนินการตามกฎหมายของ กทพ. ด้วย และเพื่อให้ได้ข้อยุติและมีความชัดเจนในการปฏิบัติงาน
  ล่าสุดต้นปีที่ผ่านมา กทพ.   หารือมายัง คณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อต้องการธงคำตอบที่ถูกต้อง และจะได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป
   หลังจาก คณะกรรมการกฤษฎีกา ใช้เวลาพิจารณาเกือบ 4 เดือน คุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็ตอบข้อหารือของ กทพ. ดังนี้
   " การประปานครหลวงซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการ ประปานครหลวง พ.ศ. ๒๕๑๐ มีวัตถุประสงค์หลักในการผลิต จัดส่งและจำหน่ายน้ำประปา และการจัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบ อันเป็นกิจการสาธารณูปโภค การดำเนินกิจการของการประปานครหลวงจึงเป็นการดำเนินการที่อยู่ภายในขอบเขต ข้อยกเว้นของมาตรา ๓๗(๓)
แห่งพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทยฯ
    นอกจากนี้ มาตรา ๓๘(๔) แห่งพระราชบัญญัติการประปานครหลวงฯ ยังบัญญัติให้อำนาจการประปานครหลวงไว้เป็นพิเศษโดยให้สามารถ ใช้ที่ดินของบุคคลอื่นในการเดินท่อน้ำและติดตั้งอุปกรณ์ได้ 
   ดัง นั้น การประปานครหลวงจึงสามารถดำเนินการวางท่อประปาในเขตทางพิเศษได้ แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่การประปานครหลวงจะเข้ามาดำเนินการวางท่อประปาในเขตทางพิเศษ การประปานครหลวงจะต้องทำความตกลงกับ กทพ. เสียก่อน   ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทยฯ
   และถ้าปรากฏว่า กทพ. กับการประปานครหลวงไม่สามารถตกลงกันได้ไม่ว่าเพราะเหตุลักษณะของงานหรือใน เรื่องค่าเช่า ก็สมควรที่ กทพ. จะเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายว่าด้วย การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้วินิจฉัยต่อไป
    สุดท้ายก็ต้องให้ " โสภณ ซารัมย์ "  รมว. กระทรวงคมนาคม เป็นผู้ชี้ขาด (ฮา)

view