สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คนไทยยอมรับคอรัปชั่น / สังคมไทยน่าห่วงทุกกลุ่มวัย-อาชีพเกิน56%รับได้ทุจริต

จาก โพสต์ทูเดย์
เอแบคโพลล์เผยคนไทยยอมรับการทุจริตคอรัปชั่นยิ่งใกล้ตัวคิดเอาผิดน้อย
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง" ทำไมคนไทยเอนเอียงยอมรับการทุจริตคอรัปชั่น"กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศจำนวนทั้งสิ้น 1,582 ครัวเรือน วันที่ 1-4 ก.ค. พบว่า คนไทยทุกเพศทุกวัย สุกสาขาอาชีพ ทุกระดับการศึกษา และระดับรายได้ เกินครึ่งหรือร้อยละ 56.4 เห็นว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับ ได้ ในขณะที่ร้อยละ 43.6 ไม่ยอมรับ  

ส่วน ปัจจัยที่คาดว่าเป็นเหตุให้คนไทยมีควสามเอนเอียงยอมรับการทุจริตคอรัปชั่น เมื่อถามถึงประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการทุจริตคอปรัชั่นที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.3 ระบุคอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองระดับชาติ เช่นเดียวกับนักการเมืองระดับท้องถิ่นที่มีอยู่ร้อยละ 69.1 เช่นกัน ร้อยละ 68.7 เห็นว่าการติดสินบนหากหลักฐานการเอาผิดได้ยาก ร้อยละ 67.5 เห็นว่าคอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มข้าราชการชั้นสูง ร้อยละ 62.3 เห็นว่านักการเมืองระดับชาติมักจะหลบออกนอกประเทศได้โดยง่าย หลังทำผิดทุจริตคอรัปชั่น

ร้อยละ 61.0 เห็นว่าการติดสินบนทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่างและร้อยละ 58.8 เห็นว่า เจ้าหน้าที่รัฐไม่กล้าเอาผิด(ใส่เกียร์ว่าง)กับนักการเมืองระดับสูงที่ ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 58.3 เห็นว่า เจ้าพนักงานที่รับสินบนมักไม่ถูกดำเนินการเอาผิด ร้อยละ 53.0 เห็นว่า คอรัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในหมู่ข้าราชการชั้นผู้น้อย และร้อยละ 52.2 เห็นว่า ผู้ที่จ่ายสินบนมักไม่มีความผิดหรือรอดพ้นจากความผิดได้ง่าย

นอก จากนี้ ที่น่าพิจารณา คือ ถ้าคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นคนใกล้ตัวประชาชนเองเช่น เป็นเพื่อนบ้านสนิทกัน เป็นคนเคยมีบุญคุณช่วยเหลือกันมา เป็นญาติในบ้านเดียวกัน และเป็นคนในครอบครัว ก็จะมีสัดส่วนของคนที่คิดจะแจ้งความเอาผิดการทุจริตคอรัปชั่นลดลงเหลือเพียง ร้อยละ 29.5 เท่านั้น

สังคมไทยน่าห่วงทุกกลุ่มวัย-อาชีพเกิน56%รับได้ทุจริต

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เอแบคโพลเผย56.4%เห็นเลี้ยงดูปูเสื่อคกก.จัดซื้อจัดจ้างง ธรรมดายอมรับได้ ยิ่งเด็ก-ยิ่งแก่ ยิ่งไม่ยี่หระรับได้ ต่ำกว่าหรือปริญญาตรีใกล้เคียงกัน

นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย
" เอแบคเรียลไทม์โพล" สำรวจจากครัวเรือนสุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิง ชั้นภูมิหลายชั้น  และได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่าง เพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไว จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์

โดยครั้งนี้ได้สำรวจเรื่อง "เสียงสะท้อนของสาธารณชน ทำไมคนไทยเอนเอียงยอมรับการทุจริตคอรัปชั่น กรณีศึกษาประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชลบุรี เลย กาฬสินธุ์ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุดรธานี ขอนแก่น สตูล และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 1,582 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 4 กรกฎาคม 2552

ผลวิจัยพบความน่าเป็นห่วงสังคมไทยต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น เมื่อข้อมูลวิจัยพบว่าคนไทยทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ทุกระดับการศึกษา และระดับรายได้ส่วนใหญ่เห็นว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับ ได้

โดยประชาชนคนไทยที่ถูกศึกษาเกินครึ่งหรือร้อยละ 56.4 เห็นว่าการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดา ยอมรับได้ ขณะที่ร้อยละ 43.6 ไม่ยอมรับ ทั้งนี้ เมื่อจำแนกตามเพศ ไม่พบความแตกต่างคือ ร้อยละ 56.9 ในกลุ่มผู้ชาย และร้อยละ 56.0 ในกลุ่มผู้หญิง เห็นว่าการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดา ยอมรับได้

เมื่อจำแนกตามช่วงอายุพบความน่าเป็นห่วงยิ่งขึ้น เมื่อกลุ่มคนรุ่นใหม่อายุต่ำกว่า 20 ปี และช่วงอายุ 20 - 29 ปี ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.7 และร้อยละ 62.5 เห็นว่าการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ ยอมรับได้ 

ขณะที่คนอายุระหว่าง 30 - 39 ปี ร้อยละ 55.6  คนอายุระหว่าง 40 - 49 ปีร้อยละ 51.0 และคนอายุ 50 ปีขึ้นไปร้อยละ 56.8 เห็นว่าการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เช่นกัน

ผลวิจัยยังพบความสอดคล้องกับเรื่องวัยของผู้ถูกศึกษา พบว่า นักเรียนนักศึกษากลับกลายเป็นกลุ่มคนที่เห็นว่า การเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ยอมรับ ได้สูงมากที่สุด ร้อยละ 66.1 รองลงมาคือ ร้อยละ 63.8 ที่เป็นคนว่างงาน ไม่มีอาชีพ และพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 57.1 พ่อค้าและธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 56.4 เกษตรกรร้อยละ 56.3 ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 53.6 และแม่บ้าน คนเกษียณอายุร้อยละ 52.9 ตามลำดับ

เมื่อจำแนกระดับการศึกษา พบกลุ่มคนการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 57.8 คนมีการศึกษาปริญญาตรีร้อยละ 55.0 และคนที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 43.1 เห็นว่าการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ ยอมรับได้

และเมื่อจำแนกตามระดับรายได้ พบคนมีรายได้น้อยที่สุดคือไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน มีสัดส่วนสูงสุดคือร้อยละ 61.7 เห็นว่าการเลี้ยงดูปูเสื่อคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างเป็นเรื่องยอมรับได้ ขณะที่คนมีรายได้ 20,000 บาทขึ้นไปร้อยละ 50.9 เห็นว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้เช่นกัน

ผลวิจัยยังพบ ปัจจัยที่คาดว่าเป็นเหตุให้คนไทยมีความเอนเอียงยอมรับการทุจริตคอรัปชั่น เมื่อถามถึงประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นที่ผ่านมา ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.3 ระบุคอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มนักการเมืองระดับชาติ เช่นเดียวกับนักการเมืองระดับท้องถิ่นที่มีอยู่ร้อยละ 69.1 เช่นกัน

ร้อยละ 68.7 เห็นว่าการติดสินบนหาหลักฐานในการเอาผิดได้ยาก ร้อยละ 67.5 เห็นว่าคอรัปชั่นเกิดขึ้นในกลุ่มข้าราชการชั้นสูง ร้อยละ 62.3 เห็นว่านักการเมืองระดับชาติมักจะหลบหนีออกนอกประเทศได้โดยง่าย หลังทำผิดทุจริตคอรัปชั่น

ร้อยละ 61.0 เห็นว่าการติดสินบนทำให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่าง ร้อยละ 58.8 เห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่กล้าเอาผิด(ใส่เกียร์ว่าง) กับนักการเมืองระดับสูงที่ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 58.3 เห็นว่า เจ้าพนักงานที่รับสินบนมักไม่ถูกดำเนินการเอาผิด ร้อยละ 53.0 เห็นว่า คอรัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในหมู่ข้าราชการชั้นผู้น้อย และร้อยละ 52.2 เห็นว่า ผู้ที่จ่ายสินบน มักไม่มีความผิด หรือรอดพ้นความผิดได้ง่าย

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อเปรียบเทียบผลวิจัยระหว่างปี พ.ศ.2548 กับผลวิจัยครั้งล่าสุดต้นกรกฎาคม 2552 พบว่า ประชาชนที่ตั้งใจจะเอาผิดคนที่ทุจริตคอรัปชั่นลดลงอย่างมาก คือ ถ้านักการเมืองทุจริตคอรัปชั่น เคยมีคนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.7 คิดอยากจะแจ้งความเอาผิดในปี พ.ศ.2548 

แต่การสำรวจล่าสุด เหลืออยู่ที่ร้อยละ 63.5 ถ้ารัฐมนตรีทุจริตคอรัปชั่น เคยพบประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.6 คิดอยากจะแจ้งความเอาผิดในปี พ.ศ. 2548 แต่ปัจจุบันลดลงเหลือร้อยละ 62.0 ถ้าแกนนำในชุมชนทุจริตคอรัปชั่น เคยพบประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.1 คิดอยากจะแจ้งความเอาผิดในปี พ.ศ. 2548 แต่ปัจจุบันเหลืออยู่ที่ร้อยละ 66.2 แต่ที่น่าสังเกตคือ ปัจจุบัน กลุ่มแกนนำในท้องถิ่นกลับกลายเป็นกลุ่มคนที่กำลังถูกประชาชนคิดอยากจะแจ้ง ความเอาผิดการทุจริตคอรัปชั่นมากที่สุด

นอกจากนี้ ที่น่าพิจารณาอีกคือ ถ้าคนที่ทุจริตคอรัปชั่นเป็นคนใกล้ตัวประชาชนเอง เช่น เป็นเพื่อนบ้านสนิทกัน เป็นคนเคยมีบุญคุณช่วยเหลือกันมา เป็นญาติในบ้านเดียวกัน และเป็นคนในครอบครัว ก็จะมีสัดส่วนของคนที่คิดจะแจ้งความเอาผิดการทุจริตคอรัปชั่นลดลงเหลือเพียง ร้อยละ 29.5 เท่านั้น
view