จาก ประชาชาติธุรกิจ
เมื่อไม่นานมานี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยคดีตัวอย่างที่น่าสนใจคดีหนึ่งที่มีผู้ฟ้องสภาทนายความว่า ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 29 เพราะสภาทนายความไม่ยอมออกใบอนุญาตว่าความ ผู้เสียหาย ฟ้องศาลปกครอง ก่อนจะมาจบที่ศาลรัฐธรรมนูญ นับเป็นกรณีตัวอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ความเป็นมาของคดี เกิดขึ้นเมื่อ นายสุวัชร หรือเรวัต โพธิ์รัศมี ยื่นฟ้องคณะกรรมการสภาทนายความผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองเชียงใหม่ เมื่อ 6 ปีที่แล้ว โดยนายสุวัชร เคยเป็นข้าราชการพลเรือน สามัญ ตำแหน่งนักประชาสงเคราะห์ 6 ปฏิบัติงานที่ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดเชียงใหม่ แต่ต้องรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลรวม 4 ปี ในความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 และมาตรา 177 วรรคสอง และกรมประชาสงเคราะห์ ได้มีคำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการ เมื่อพ้นโทษจำคุกแล้วได้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมวิชาว่าความ รุ่นที่ 18 กับสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ และสอบผ่านหลักสูตรดังกล่าวจนได้รับ ประกาศนียบัตร
ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2545 นายสุวัชร ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาต ให้เป็นทนายความกับสภาทนายความ ซึ่งสภาทนายความได้มีมติในการประชุม ไม่รับคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ เนื่องจาก ขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 35 (6) นายสุวัชร จึงอุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ และสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ มีคำวินิจฉัย ยืนตามมติดังกล่าว นายสุวัชร ไม่เห็นด้วยกับมติของผู้ถูกฟ้องคดีและคำวินิจฉัยของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนาย ความ จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้มีคำพิพากษาหรือ มีคำสั่งเพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดี และมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีจดทะเบียนและออกใบอนุญาต เป็นทนายความให้แก่ผู้ฟ้องคดี
ประเด็นต่อสู้ของนายสุวัชร หยิบยก การกระทำของสภาทนายความ เป็นการละเมิดสิทธิโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่าง ในเรื่องสถานะของบุคคล โดยให้ความเสมอภาคในกระบวน การกลั่นกรองและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ไม่เป็นการกระทบถึงศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์แต่อย่างใดและไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็น การเจาะจง ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ศาลปกครองจึงส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ล่าสุด ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่า สภานายความ ใช้ดุลพินิจโดยสุจริตและชอบด้วย เหตุผลแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนกรณีที่นายสุวัชร ได้อบรมและสอบผ่านหลักสูตร วิชาว่าความแล้วสมควรที่ นายสุวัชร จะมีมติรับคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ แก่นายสุวัชร ได้นั้นเห็นว่า ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการฝึกอบรมวิชาว่าความ พ.ศ. 2529
ข้อ 5 วรรคสอง กำหนดว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมวิชาว่าความซึ่งได้ผ่านการฝึกอบรมที่จัดโดย สำนักอบรม ตามหลักสูตรและวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้เท่านั้นที่มีสิทธิขอจด ทะเบียนเป็นทนายความนั้น มีความหมายเพียงว่าเป็นการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมจากคุณสมบัติของผู้ที่จะขอ จดทะเบียนและรับใบอนุญาต ให้เป็นทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528มาตรา 35 มิได้เป็นเงื่อนไขบังคับว่าผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมวิชาว่าความแล้วจะต้องได้ รับการจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ
ทุกคน
การที่สภาทนายความ มีมติไม่รับคำขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความแก่นายสุวัชร เพราะว่าผู้ร้องขาดคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528มาตรา 35(6) ) จึงมิใช่ เป็นการละเมิดสิทธิโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสถานะของบุคคล โดยให้ความเสมอภาคในกระบวน การกลั่นกรองและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ไม่เป็นการกระทบถึงศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์แต่อย่างใดและไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็น การเจาะจง ถือว่าได้สัดส่วนและพอสมควรแก่เหตุ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29
พิเคราะห์ แล้ว จึงเห็นว่า พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 35(6) ไม่ขัดรัฐธรรมนูญหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 29