สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วิจัย วปอ. ชี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จำเป็น เร่งสร้างกลยุทธ์สื่อสารแบบโปร่งใส ไม่เช่นนั้นเจอต่อต้าน

จากประชาชาติธุรกิจ



งานวิจัย วปอ. เผย พลังงานนิวเคลียร์เป็นสิ่งจำเป็น ย้ำไม่น่ากลัวอย่างที่กังวล ชี้การสื่อสารต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เน้นสันติวิธี ตรงไปตรงมา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และเกิดการยอมรับอย่างแท้จริง

งานวิจัยเรื่อง ′กลยุทธ์การสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างการยอมรับของประชาชนต่อโรงไฟฟ้าพลังงาน นิวเคลียร์′ ของนายชวลิต พิชาลัย นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 21 เป็น 1 ใน 2 งานวิจัยที่ได้รับรางวัลชมเชยปีล่าสุดนั้น แสดงให้เห็นว่า พลังงานนิวเคลียร์เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับประเทศ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจ จนนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจและเกิดความรู้สึกต่อต้านโรงไฟฟ้าพลังงาน นิวเคลียร์    งานวิจัย ชิ้นนี้ "กอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร" ประธานกรรมการบริหาร บริษัทโตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด เป็นที่ปรึกษา
ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2551-2564 (PDP 2007 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) รัฐได้กำหนดให้มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จำนวน 1,000 เมกะวัตต์ ในปี 2563 และอีกจำนวน 1,000 เมกะวัตต์ ในปี 2564 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัฐเอาจริงและพร้อมเดินหน้าเพื่อสร้างพลังงานให้กับประเทศ แต่โดยทั่วไปกระแสการยอมรับของประชาชนต่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ใน ปัจจุบันยังไม่มากเท่าที่ควร และยังถูกต่อต้านจากประชาชนบางกลุ่มโดยเฉพาะชุมชนที่อาศัยอยู่รอบโรงไฟฟ้า
ดังนั้น สิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญในขณะนี้ คือประชาชนขาดความรู้เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 
ขอบ เขตของงานวิจัยชิ้นนี้ได้เน้นการศึกษาเฉพาะด้านกลยุทธ์การสื่อสารสาธารณะใน การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยศึกษาการสร้างความรู้ความเข้าใจในเชิงภาพรวมของข้อดี ข้อเสีย ของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ และคำนึงถึงขอบเขตของการสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างศักยภาพให้ ประชาชนเข้าถึง เข้าใจ และพัฒนาไปสู่การยอมรับของประชาชนต่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ผ่านทางเครือ ข่ายทั้งในภาคราชการ เอกชน และภาคประชาสังคม โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
งานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งเน้นการศึกษาวิเคราะห์เพื่อแสวงหากลยุทธ์การสื่อสารที่ชัดเจน ปฏิบัติได้และเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย รวมถึงการประยุกต์หลักธรรมและความเชื่อในพระพุทธศาสนา หลักธรรมาภิบาลกับการจัดการยุคใหม่ ทฤษฏีและหลักพื้นฐานในการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการคิดอย่างเป็นระบบ
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า กลยุทธ์การสื่อสารสาธารณะจะต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ใช้หลักธรรมาภิบาลในการสื่อสารเพื่อสร้างการยอมรับของประชาชน ด้วยความจริง เปิดเผย และโปร่งใส นักสื่อสารต้องทำงานเชิงรุก และชี้แจงข้อมูลด้วยความเป็นกลางและยุติธรรม ทั้งผลดีและผลเสียของโครงการอย่างรอบด้านทุกแง่ทุกมุม
โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้เสนอให้มีการส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ด้วยการรู้ รัก สามัคคี รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันด้วยท่าทีที่เป็นมิตรและใช้แนวทางสันติวิธี ในการยุติข้อขัดแย้ง รวมทั้งส่งเสริมความเชื่อแบบโยนิโสมนสิการ (การพิจารณาโดยแยบคาย) เพื่อพัฒนากระบวนความคิด การรับรู้ และการตัดสินใจของประชาชนแบบรู้จริง เห็นจริง ไม่หลงเชื่อผู้ยุยงจากภายนอกโดยง่าย
ทั้งนี้ก็อย่างที่ได้กล่าวในงานวิจัยชิ้นนี้แล้ว โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์นั้นจะมีผลดี หรือผลเสียอย่างไร ก็ขึ้นกับสื่อสาธารณะที่จะทำหน้าที่บอกกล่าวให้การศึกษาแก่ประชาชน ขอเพียงแต่ว่า ข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอนั้นตรงไปตรงมาและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวม มิใช่คนบางกลุ่ม ก็พอ

view