สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ความในใจ ศุภชัย เจียรวนนท์ Lastman Standing เกมเดิมพันอนาคต ทรู

จากประชาชาติธุรกิจ



เต็ม ไปด้วยคำถามและความประหลาดใจ พลันที่กลุ่มทรูนำโดย บิ๊กบอส "ศุภชัย เจียรวนนท์" เปิดเกมดุเดือดในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเดินเข้าสู่การเปิดประมูลคลื่น ความถี่มือถือ 3G ด้วยการเปิดประเด็นท้าทายการทำงานของ "กทช." ต่อการกำหนดเงื่อนไขการประมูลความถี่ โดยระบุว่า อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และเอื้อต่อยักษ์ข้ามชาติ โดยเฉพาะ "รัฐวิสาหกิจต่างชาติ" เข้ามาฮุบกิจการสื่อสารไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มทรู

"Lastman Standing" ในธุรกิจสื่อสาร (ในฐานะบริษัทไทย)

แม้ สิ่งที่บิ๊กกลุ่มทรูตั้งใจส่งผ่านไปยัง "กทช., รัฐบาล หรือแม้แต่สังคมไทย" จะมีแง่มุมน่าสนใจ แต่การสวม 2 บทบาท พร้อมกันทั้งในฐานะคนไทย-บริษัทไทย และแม่ทัพธุรกิจกลุ่มทรูทำให้ "สาร" ที่ส่งผ่านก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัย

เพราะหลังพิงฝา หรือไม่มีทางสู้อื่นใดอีกแล้ว

บิ๊กบอสกลุ่มทรู "ศุภชัย เจียรวนนท์" มีคำตอบในทุกคำถามในบรรทัดถัดไป

- ทำไมหยิบประเด็นนี้มาพูด

ที่ พูดเรื่องความมั่นคงของประเทศ ไม่ได้ตั้งใจว่า กทช. แต่ที่พูดแรงผมพูดว่า ถ้า คนต่างชาติมาเอาข้อมูลที่สำคัญหรือมีค่าของประเทศไปถือว่าเป็นฮีโร่ในประเทศ เขา แต่ถ้าคนไทยเอาข้อมูลสำคัญของประเทศไปให้ต่างชาติถือเป็นคนทรยศชาติ ผมต้องการเน้นเรื่องของความมั่นคง ระหว่างความเป็นไทยที่ต้องรักษาไว้กับการปล่อยให้ธุรกิจเป็นของต่างชาติ

ตอน พูดก็น้อยใจเหมือนกัน ไม่เข้าใจว่าทำไมระหว่างที่พูดถึงรู้สึกว่าเป็นคนส่วนน้อย เราโพซิชั่น 2 ประเด็น ประเด็นแรก ทำยังไงไม่ให้ประมูลแบบยุโรปทำให้ต้นทุนสูง ภาระไปอยู่ที่ผู้บริโภค ไปอยู่ที่ผู้ประกอบการไทย

ประเด็นที่ 2 ทำยังไงไม่ให้อุตสาหกรรมนี้ถูกควบคุมและครอบงำโดย ตปท. โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ ตปท.

ถ้าประมูลราคาสูงสุดเข้าว่าอย่างเดียว คนไทยสู้ไม่ได้ก็เท่ากับเชิญต่างชาติเข้ามา นำไปสู่ประเด็นที่ 2 โดยเฉพาะรัฐบาล ต่างประเทศ

ถ้าประเทศไทยหลับหูหลับตาเปิดจริง ๆ มาเลเซียจะเข้ามาประมูล ถามว่า เอกชนไทยจะไปประมูลแข่งกับรัฐมาเลเซียได้ ยังไง

- ทำไมไม่พูดแต่แรก มาพูดตอนใกล้ประมูลแล้ว

เราพูดมาเยอะแล้ว แต่เขาไม่ฟัง พูดกับ กทช. พูดในการประชาพิจารณ์อื่น ๆ

ถาม ว่า ผมทำไปทำไม ถ้าจะให้ผมขาย ผมก็ขายได้กำไรนะ แต่ถ้าถามในสำนึกตอนนี้ ในฐานะผู้นำขององค์กร ผมคิดว่า เราก็เป็นคนไทยคนสุดท้ายแล้วในแง่เอกชน ผมก็ทำใจลำบาก ขายก็ได้เงิน ก็อยู่สบาย

ในสำนึกของคนไทยคนหนึ่งไม่ อยากให้ 3G ดีเลย์ ไม่อยากขวางให้เอไอเอส ดีแทค ไม่ได้ทำ 3G อยากให้เขาทำ แต่ตั้งคำถามว่า ควรให้เทเลนอร์ หรือเทมาเส็กควบคุมกิจการเหล่านี้หรือเปล่า

อย่าลืมนะครับ นี่คือจุดเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมนี้ ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองต้องคิดไหมกับจุดเปลี่ยนแปลงนี้ เขาเป็นเสืออยู่แล้ว จะให้ปีกเขาอีกไหม หรือจะเล็มปีกเขานิดนึง (อย่าโค้ดผมนะ)

ไม่ใช่ว่าเราไม่มีตังค์ เราเลยเกเร ไม่ใช่เลย ถ้ากับบริษัทไทยด้วยกัน หรือกับเอกชนต่างชาติ เรามีตังค์ประมูลสู้แน่นอน แต่ถ้าให้แข่งกับรัฐบาลต่างประเทศจะไปเทียบได้ยังไง

- เขาก็ถือใน 2G อยู่แล้ว มาถือ 3G อีกต่างกันยังไง

3G เป็นโอกาสให้อุตสาหกรรมนี้เปิดเสรีอย่างแท้จริง แม้กระทั่งกรณีของเอไอเอส หรือดีแทคซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นรัฐวิสาหกิจของต่างประเทศ พูดตรง ๆ ถามผมในฐานะบริษัทผมยินดีแข่งกับเขา ในฐานะคนไทยตามหลัก เอไอเอส กับดีแทคควรได้ทำต่อ แต่ถามว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ของเขาควรมีสิทธิถือหุ้นในจำนวนที่เป็นอยู่หรือเปล่า โดยผ่านโครงสร้างนอมินี

เป็นคำถามที่ใหญ่มากสำหรับประเทศไทยด้วย เพราะเขาเป็นรัฐต่างชาติ

ถ้า ไม่อยากไปบีบให้เขาเกิดความเสียหายก็มีหลายวิธี คุณจะถือหุ้นก็ได้ แต่หุ้นของคุณเป็นแบบไทยทรัสต์ฟันด์ ไม่มีสิทธิโหวตเหมือนสมัยไอเอ็มเอฟได้ไหม

ประเด็นนี้เป็นประเด็น ที่คนระดับประเทศ เช่น กทช.ต้องคิด ต้องคิดว่าอยากเห็นอุตสาหกรรมนี้มีบทบาทสำคัญกับประเทศและลูกหลานอย่างไร ซึ่งจะมีอิทธิพลอย่างสูงต่อวิถีชีวิตคนไทยในอนาคต

บรอดแบนด์ไร้สาย 3G หรือ 4G 5G ก็คือสื่อ ไม่ใช่แค่โทรศัพท์เฉย ๆ อีกแล้ว ต่อไปคืออินเทอร์เน็ตดี ๆ นี่เอง ประเด็น คือ บริษัทสื่อที่ใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบันชื่อกูเกิล ชื่อยูทูบ ถ้าวันหนึ่งบริษัทที่คุมท่อส่งผ่าน บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จะ 3 หรือ 4G เป็นต่างชาติหมดเลย ยูทูบ กูเกิลเผยแพร่อะไรที่กระเทือนความมั่นคงของประเทศ คุณไปหยุดเขาไม่ได้นะ

- กทช.น่าจะกังวลกับเรื่องนอมินี

เท มาเส็กและเทเลนอร์ก็ต่างชาติ เป็นประเทศที่โปร่งใสที่สุดประเทศหนึ่งในยุโรป และเอเชียยังรับโครงสร้างนอมินีได้โดยไม่หวั่นเกรงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ใน แง่การแข่งขันเราพร้อมแข่งกับเอกชนด้วยกัน เพราะวิธีคิดของเขาจะรีเทิร์น ออน อินเวสเมนต์ แต่ถ้าเป็นรัฐวิสาหกิจจะมีนโยบายมากกว่านั้น

มองใน หมวกของคนไทย ไม่ใช่หน้าที่ผมคนเดียวที่จะทำ ถ้าเราไปถึงจุดที่คิดว่าได้ไลเซนส์มาในราคาที่แฟร์ และไม่ถูกวิธีการ ไม่ถูกล็อกโดยวิธีการที่เกินความจริงจนกลายเป็นต่างชาติหมด เราก็สู้ต่ออยู่แล้ว ใครจะถือหุ้นใครเท่าไร ไม่ใช่หน้าที่ผมคนเดียว เป็นหน้าที่ของคนที่เกี่ยวข้องด้วยที่ต้องดู

หน้าที่เราตอนนี้ คือ ยืนหยัดปักฐาน ทำยังไงให้ผ่านการประมูลครั้งนี้ไปแล้วเรายังเป็นโอเปอเรเตอร์ไทยอยู่ ไม่ถูกทรานฟอร์มไปเป็นต่างประเทศ

ถ้าต้นทุนการประมูลใช้ 2-3 หมื่นล้าน เป็นไปได้ที่ทรูมูฟจะต้องทรานฟอร์มไปเป็นของต่างประเทศ ต้องยอมนอมินีสตรักเจอร์ ผมคงไม่มีปัญญาทำ แคชโฟลว์ก็คงไม่มีเหลือแล้ว แล้วทำไงครับ เราก็ทำได้แค่นี้

ผมอาจสบายต่อไปก็ทำงานน้อย แต่ต่อไปลูกหลานซึ่งต้องอยู่ในชีวิตใหม่ มีอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ มีมือถือ บางทีเราบอกว่า คอนเทนต์ลักษณะนี้ไม่สมควรให้เด็กไทยเข้าถึง แต่ ตปท.อาจบอกว่า ไม่เห็นเป็นไร ประเทศผมไม่เห็นสนใจ ต่างกรรมต่างวาระ เขาอาจมีศาสนาไม่เหมือนเรา เขาก็ไม่แคร์ ไม่สนใจ คุณฟ้องเขา เขาก็ฟ้องกลับ ต่อสู้ในระดับประเทศเขาก็สู้ได้เพราะเขาเป็นรัฐวิสาหกิจ เวลาเจรจาอะไรยังส่งทูตมาเจรจานะ อำนาจต่อรองสูง

เป็นจุดเปลี่ยนที่คนไทยต้องคิด

- แบบนี้จะทำให้ 3G ดีเลย์ไปไหม

ไม่ต้องดีเลย์ครับ ถ้า กทช.ปรับเงื่อนไขทุกอย่างให้ดี ทุกอย่างก็เดินต่อตามไทม์เฟรมได้

- ไม่ใช่เพราะมีปัญหาการเงิน

ที่ ผ่านมาเราลงทุนต่อเนื่อง ต้องใช้คำว่า หลายแสนล้านแล้ว ทรูมูฟดีขึ้นทุกปี ทรูคอร์ปก็เช่นกัน มีเงินสดระดับหนึ่ง ไปเรสต์ทุนไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องดูว่าแพงแค่ไหน ถ้าไม่แพงเกินไป และขอให้ชำระเป็นงวดสู้ได้แน่ แต่ถ้าระดับหลายหมื่นล้านคง ไม่ไหว

ในมุมของเราการประมูลควรวัดว่า คุณคอมมิตว่าจะลงทุนในประเทศนี้เท่าไร ความทั่วถึงครอบคลุม ไม่ควรบอกว่า ใครซื้อคลื่นแพงที่สุดไปถือว่าชนะ

วันประชาพิจารณ์ที่ผ่านมาจะเห็น ว่าทั้ง 2 เจ้า ขอเวลาโรลเอาต์เน็ตเวิร์กให้ยืดออกไป เพราะอะไร เพราะเขามองในแง่ธุรกิจอย่างเดียวจึงมองว่าค่อย ๆ ลงดีกว่า

แต่ กทช.น่าจะมองถึงสิ่งที่ประเทศจะได้รับมากกว่า ยิ่งลงเร็ว ความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศก็ยิ่งเร็วขึ้น

- มีแนวร่วมบ้างไหม

มี ทีโอทีกับ กสทฯ ก็มีคนให้กำลังใจ แต่ว่าจริง ๆ แล้วที่ให้กำลังใจมากที่สุด คือ ที่ท่านนายกฯมาพูดที่กทช. แม้จะไม่ได้บอกว่า ต้องทำอย่างไร แต่เขาก็เห็นว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่ต้องพิจารณา ดีกว่าที่ผ่านมา มีผู้ใหญ่บางคนบอกว่า ศุภชัยยังไงก็สู้ ต่างประเทศไม่ได้ ขายไปเถอะ

- ทิศทางคนจะเปลี่ยนจาก 2G ไป 3G

ผม ว่า 3G เกิดเมื่อไร คนจะเปลี่ยนจาก 2G ภายใน 8 ปี แต่ประเด็นของผม คือ ในที่สุดทุกอย่างต้องสะท้อนต้นทุน กทช.ต้องมากำกับต้นทุน ถ้าลงทุน 2 หมื่นล้าน ไปกับไลเซนส์ ถ้าลงทุนเน็ตเวิร์กอีก 2 หมื่น ต้นทุนก็เท�ากับ 4 หมื่น ซึ่งสุดท้ายก็ไปชาร์จที่ผู้บริโภคอยู่ดี

- คู่แข่งพร้อมจ่ายแพง

ความ พร้อมจ่ายในที่นี้มาจากความเหลื่อมล้ำในอดีต ประเด็นคือว่า ยิ่งประมูลยิ่งสูง เกมยิ่งเป็นของรายใหญ่ ถ้าไม่ใช่รายใหญ่ในประเทศ ก็ต้องเป็นรายใหญ่จากนอกประเทศหรือรัฐวิสาหกิจจากนอกประเทศที่มีความสนใจจะ ลงทุนในไทย ด้วยวัตถุประสงค์อะไรก็แล้วแต่ แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า การล่าอาณานิคมทุกวันนี้ได้เปลี่ยนจากการยึดพื้นที่ยึดคนมาเป็นวัตถุดิบ ธรรมชาติ ซึ่งก็คือคลื่นความถี่

- ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนจะฟ้องให้เลื่อนประมูลไหม

การ วางจุดยืนด้านกฎหมายจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังประมูลก็ได้ เพราะคำว่าผิดกฎหมาย ผิดรัฐธรรมนูญยังไงก็ผิด ไม่สำคัญว่าก่อนหรือหลังประมูล

แต่เชื่อว่า กทช.น่าจะรอบคอบ ไม่ให้ในวันข้างหน้าเกิดปัญหา

ผม เรียนตรง ๆ ว่า หมวดสื่อสารเป็นหมวดที่ประเทศในภาคพื้นเอเชีย หรือแม้ในยุโรปก็โพรเท็กต์ตัวเอง ไม่ให้อเมริกาเข้า ในอเมริกาบอกว่า เปิดก็จริง แต่เปิดใน วันที่แข็งแรงมากแล้ว ทุกวันนี้มีแค่ดอยช์ เทเลคอมเข้าไป

ญี่ปุ่นเปิดประตูใหญ่ ปิดประตูเล็ก วันนี้ไม่เหลือต่างชาติสักราย สิงคโปร์มีโอเปอเรเตอร์ต่างประเทศไหม ไม่มี มาเลเซียไม่มี เกาหลีไม่มี อีกทั้งการประมูลที่เกิดในยุโรปทุกคนวิพากษ์วิจารณ์ว่าล้มเหลว

ประเทศ แถบเอเชียจึงใช้ "บิวตี้ คอนเทสต์" ในญี่ปุ่นให้ฟรีเลยด้วยซ้ำ เพราะประเมินว่าทำได้ แต่ต้องเสร็จใน 2 ปี ถ้าไทยทำตามยุโรปโดยการประมูลจะเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่ทำ กทช.ในอนาคตจะดีเฟนด์ยังไง ถ้าอุตสาหกรรมตกในมือของต่างชาติทั้งหมด

- แต่วิธีประมูลโปร่งใสที่สุด

ขึ้น อยู่กับว่ามองมุมไหน ความโปร่งใส คือ คลื่นนี้ต้องได้ราคาสูงสุด หรือคือต้องรู้ต้นทุนที่ถูกต้องของระบบโครงข่าย ซึ่งต่อไปจะนำไปชาร์จผู้บริโภค

ความโปร่งใสอยู่ตรงไหน ถ้าอินดัสตรีถูกครอบงำโดยโอเปอเรเตอร์รายใหญ่และเป็นรัฐวิสาหกิจต่างประเทศ อาจกลายเป็นว่า คุณทำงานนี้เพื่อรายใหญ่

วิธีการนี้ไม่เหมาะกับ ประเทศไทยทั่วโลกบอกแล้วว่า ไม่ใช่วิธีที่ดี ในเอเชียยังไม่ทำ ในยุโรปก็วิเคราะห์ว่า ล้มเหลว ยังจะทำอีกเหรอ ถ้าแพงมาก ๆ ถามว่า รัฐได้จริงหรือ ก็กลับคืนไปเป็นต้นทุนของประชาชนอยู่ดี สุดท้ายแล้วความโปร่งใสคืออะไร

- แต่บิวตี้คอนเทสต์อาจมองว่าเฟเวอร์ รายใดรายหนึ่งได้

เฟเวอร์ ธุรกิจคนไทยผิดตรงไหน แล้วทำไมต้องเฟเวอร์ต่างชาติ ขอให้ระหว่างคนไทยเท่าเทียมกัน ถ้าเท่าเทียมกันหรือถ้าเป็นเอกชนด้วยกันก็ยังสู้ได้เพราะเขาจะมุ่งในเชิง ธุรกิจ

- บริษัทไทยควรได้แต้มต่อต่างชาติ

ผมไม่เคยคิดว่า ควรได้แต้มต่อ แต่มองว่าถ้าไม่สามารถที่จะบอกว่า ยกเลิกโครงสร้างนอมินีได้ แตะตรงนั้นไม่ได้ อย่าไปยุ่งเลย เราก็ต้องกลับมาบอกว่า คลื่นความถี่มีอยู่

ถ้ามีอยู่ 100 บริษัทที่มีคนไทยเป็นผู้กำกับดูแล ควรได้ไปมากกว่าครึ่งหนึ่งได้ไหม อย่างน้อยก็ยังเป็นเช็กแอนด์บาลานซ์ กับบริษัทต่างประเทศ

บริษัทไทยไม่ได้หมายถึงทรูคนเดียว แต่หมายถึงบริษัทไทยทั้งหมดที่สนใจ

- ทรูอยู่ในกลุ่มบริษัทไทยที่จะรวมตัวซื้อหุ้นชินจากเทมาเส็กด้วย

ไม่ เป็นความจริงครับ แต่ถ้าเขาจะขายเราก็สนใจ ต้องเข้าใจการเงินนิดนึง การเงินเป็นเรื่องของทั้งเงินทุน เงินกู้ กระแสเงินสดที่มี รวมไปถึงการหาพันธมิตร เกิดขึ้นได้หมด ถ้าทำแล้วเมกเซนส์ทางธุรกิจ แต่ไม่ได้มีการคุยกัน เฉพาะตัวทรูมูฟเองมีโอเปอเรเตอร์ต่างประเทศมาติดต่อเป็นระยะ ๆ

- ทำไมสนใจ

ถ้า เขาจะขายเราก็สนใจ แต่ผมว่าเขาไม่ขาย ไปถามทีไรก็บอกไม่เป็นความจริง อาจมีคนพยายามเสนอเขา และกำลังหาวิธีการก็เป็นได้ แต่ผมยังไม่เคยคุยกับใครเรื่องแนวความคิดนี้

- ถ้าสุดท้ายราคาประมูลตั้งต้นไม่แพง ถือว่าผลักดันสำเร็จหรือยัง

เรา ก็อาจโอเคนะ แต่ถามว่า ประเทศไทยโอเคไหม ถ้าประเทศไทยโอเค ผมก็ โอเค ผมไม่สามารถจะบอกว่า ผมผลักดันคนเดียว เป็นตะเข้ขวางคลองผมก็ไม่ทำ

 

view