สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผู้นำเหนือผู้นำ กรณีศึกษาการเปลี่ยนแปลง ดีแทค สิ่งที่น่ากลัว คือ ความถดถอย

จากประชาชาติธุรกิจ



เดิน ทางมาถึงจุดหมายปลายทางครั้งที่ 4 แล้ว สำหรับโครงงานสัมมนาผู้นำเหนือผู้นำ หรือในชื่อภาษาอังกฤษคือ Top Leaders Community (TLC) Thailand ที่หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ และบริษัท เอพีเอ็มกรุ๊ป จำกัด ร่วมกันจัดขึ้น

จากทั้งหมด 8 ครั้ง 8 โมดูลด้วยกัน

โดย ครั้งที่ 4 โมดูลที่ 4 นอกจากจะมี "ธนา เธียรอัจฉริยะ" ผู้บริหารระดับสูงของดีแทค มาร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญ ในเรื่องที่เกี่ยวกับหัวข้อ "The Business Case for Strategic Agility & Anticipate Change"

หากยังมีวิทยากรหลัก คือ "อิสระ ยงปิยะกุล" ที่ปรึกษาและวิทยากรอาวุโส บริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป มาร่วมพูดคุยในเรื่องที่เกี่ยวกับการเดินทางไปสู่ดินแดนใหม่ด้วย (อ่านในล้อมกรอบ)

ซึ่งเบื้องต้น "ธนา" เปิดเรื่องเล่าให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาฟังถึงวิธีคิด เพราะเมื่อเช้าก่อนมางานสัมมนาเขามีโอกาสเข้าไปอ่าน Face book และมีคนพูดถึงคริสโตเฟอร์ รีฟ ผู้เคยเล่นเป็นซูเปอร์แมนจนโด่งดัง ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว

ข้อความใน Face book มีหลายคนเขียนถามว่า ฮีโร่ในความหมาย คือ อะไร และก็มีหลายคนตอบว่า ฮีโร่ หรือ Leader ก็คือ คนธรรมดานี่แหละ แต่มีจิตใจที่มั่นคง แข็งแรง แม้เจออุปสรรคก็จะทำงานบนอุปสรรคนั้น

"ธนา" บอกว่า ตัวอย่างของ"คริสโตเฟอร์ รีฟ" ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จ แต่ในชีวิตจริงไม่มีความสำเร็จใดได้มาโดยไม่มีคำว่าล้มเหลว ความผิดพลาด หรือโง่เขลา

ผลเช่นนี้จึงทำให้ "ธนา" อยากแชร์ประสบการณ์ในเรื่องของความล้มเหลวให้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาฟัง โดยเขายกตัวอย่างของ "โธมัส อัลวา เอดิสัน" ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟ

"หลาย คนคงรู้จัก โธมัส อัลวา เอดิสัน ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟ ซึ่งกว่าเขาจะประสบความสำเร็จ เชื่อหรือไม่ว่า เขาต้องล้มเหลวและผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่ากว่า 2,000 ครั้ง ถึงจะมีหลอดไฟให้เราใช้กันอย่างทุกวันนี้ ถามว่า ถ้าเป็นตัวเรา ล้มเหลว 3 ครั้ง หรือ 5 ครั้ง ก็ล้มเลิกแล้ว แต่ก็มีคนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ยอมแพ้แม้จะล้มเหลวกว่าพันครั้งก็ตาม"

"เช่น เดียวกับไมเคิล จอร์แดน นักบาสเกตบอลที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งใครจะเชื่อล่ะว่า เส้นทางเดินของเขาครั้งหนึ่งเคยไม่ติดแม้แต่ทีมไฮสกูล แต่เขาก็ไม่ยอมแพ้ จนวันหนึ่งเขาประสบความสำเร็จ ผมถึงมองว่าความล้มเหลวของคนไม่ใช่ คำตอบของวันนี้หรือพรุ่งนี้ แต่เป็นคำตอบของอนาคต ว่าเขาพร้อมจะกรุยทางไปสู่ความสำเร็จหรือไม่"

คำตอบเช่นนี้เองจึงทำ ให้ "ธนา" มองย้อนกลับไปที่องค์กรของดีแทค ยิ่งเฉพาะในช่วงเกือบ 7 ปีที่แล้ว เขาบอกว่า...ตอนนั้นเราเกือบเจ๊งแล้ว แม้ช่วงนั้นเศรษฐกิจจะปกติแต่เรามีคู่แข่งเยอะมาก

"ที่สำคัญคู่แข่ง ของเรามีเงินทุนมากมาย ต่างกับเราที่เป็นบริษัทธรรมดา จนตอนหลังเราก็ซวนเซ จากส่วนแบ่งทางการตลาดที่เคยครองอยู่ประมาณ 30% ก็เหลือ 10% แถมยังมีข่าวลือสะพัด ทั้งเรื่องเลย์ออฟ พนักงาน และข่าวซีอีโอลาออก ตอนนั้น ซีอีโอของเรามีทั้งคนไทยและต่างชาติอย่างละคน ที่สำคัญเราไม่มีอะไรสู้คู่แข่งเลย งบฯการตลาดก็น้อย"

"จนมีหลายคน ตั้งคำถามว่า ระหว่าง ปี ค.ศ.1999-2002 ดีแทคเกิดอะไรขึ้น และอะไรเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นดีแทคไม่ได้มีอะไรใหม่เลย แถมไม่ได้ครอบครองเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่คนข้างนอกก็สงสัยว่าอะไรเป็นความ แตกต่างทั้ง ๆ ที่คนก็คนเดิมประมาณ 99%"

คำตอบ คือ วิธีคิด

ตอนนั้น "ธนา" และผู้บริหารดีแทค หลายคนช่วยกันระดมสมองและหาทางช่วยกันมองว่า ถ้าจะต้องเปลี่ยนทัศนคติและ วิธีคิดจะต้องเริ่มจากเปลี่ยนแปลงอะไรก่อน

คำตอบจึงแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ

หนึ่ง จะต้องบังคับให้เปลี่ยนแปลง

สอง สมัครใจให้เปลี่ยนแปลง

"ตอน นั้นค่อนข้างง่ายสำหรับดีแทค เพราะเราล้มเหลวมาก่อน จึงทำให้เข้าใจว่าวิธีการแบบเดิม ๆ ใช้ไม่ได้แล้ว แรก ๆ เราก็เริ่มทำ SWOT ซึ่งผมว่าทุกคนเข้าใจดี ว่าจุดแข็งของเราตอนนั้นไม่มีเลย แต่จุดอ่อนเพียบ ส่วนโอกาสใหม่ ๆ ที่คิดได้ตอนนั้น คือ เมื่อ 7 ปีที่แล้ว คือ เรื่อง 3G ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่เกิด"

"พูดตรง ๆ คือ คำตอบที่เห็นลาง ๆ ตอนนั้น คือ เราจะต้องพยายามคิดใหม่ จะต้องทำอะไรไม่เหมือนเดิม และจะต้องทำอะไรไม่เหมือนใคร ถึงจะสร้างความแตกต่างได้"

ที่สุดจึงเกิดคอนเซ็ปต์ Impossible Race ขึ้น !

"เนื่อง จากคนเราไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อมีโจทย์ที่จะต้องเปลี่ยน เราก็เลยเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน ด้วยการทดสอบวิ่ง 10 กิโลเมตร ภายใน 90 นาที ไปถามผู้บริหารทุกคน ทุกคนก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อผู้นำบอกว่า ต้องเป็นไปได้ และทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ที่สุด ทุกคนก็พร้อมที่จะทำให้เป็นให้ได้"

"ผมถึงค่อนข้างเชื่อ ปรัชญาของไคเซ็นที่บอกว่า การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้น หรือการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือทำ วันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน ผมว่าปรัชญาญี่ปุ่น ไคเซ็นเป็นปรัชญาที่ทุกคนสามารถทำได้ และนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง"

ที่สุดจึงถอดรหัสออกมาเป็น The 4 Rules อันประกอบด้วย

หนึ่ง Passion

สอง Effort

สาม Focus

สี่ Take risk be Opposite Try

ฉะนั้น จะเห็นว่า The 4 Rules นั้นไม่เพียงเกี่ยวข้องกับความโลภ ความมานะพยายาม ความชัดเจนแล้ว หากยังเกี่ยวข้องกับจังหวะเดินอย่างถูกต้องด้วย

ที่ สำคัญจะต้องพยายามเรียนรู้ที่จะนำจังหวะของเราไปใส่ในจังหวะของคนอื่นด้วย ในทางกลับกัน เราเองก็ควรเปิดรับที่จะนำจังหวะของคนอื่นมาใส่เราด้วย ถึงจะทำให้จังหวะของการเดินต่างเต็มไปด้วยความเข้าใจกัน

เพราะอย่าง ที่ทราบคู่แข่งของดีแทคมีอาวุธอยู่ครบมือ ครั้นจะแข่งในเชิงต่อสู้ก็เสียเปรียบ ดังนั้นทางเดียวที่จะชนะคู่แข่งได้ คือ ต้องเริ่มจากการลงทุนด้วยตัวเอง

นั่นก็คือ การเดิน เดิน และก็เดินๆๆ

"ธนา" บอกว่า ตัวอย่างกฎข้อหนึ่งของ Effort ที่เขารู้สึกว่าเหมือนที่เขาคิด คือ คำพูดของ "บัณฑิต อึ้งรังสี" วาทยกรระดับโลกที่บอกว่า...ผมจะไปคาร์เนกี้ ฮอลล์ได้อย่างไร คุณก็ต้องซ้อม ซ้อม และก็ซ้อม

ผลเช่นนี้จึงกลายเป็นคำตอบว่า ที่ดีแทคเกิดการเปลี่ยนแปลงมาจนทุกวันนี้ หาใช่เกิดจากกุศโลบายใด ๆ ไม่ หากเกิดจากการเดินนั่นเอง

"เรา เริ่มที่จะเดินสำรวจตลาด ซีอีโอลงไปเองเลย จึงทำให้เราได้ข้อมูลมากมายมาทำโปรโมชั่นที่โดนใจลูกค้า จนถึงทุกวันนี้ที่เราดีขึ้นเพราะเราเปลี่ยนแปลง และลงมือทำจริง ๆ ไปสัมผัสลูกค้าจริง ๆ เดินไปทุกที่ ทุกเขต เพื่อให้เข้าใจลูกค้ามากขึ้น"

"จุด สำคัญ คือ ซีอีโอเปลี่ยนแปลงก่อน เราจึงต้องเปลี่ยนตาม ผมถึงเชื่อว่าในการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ตัวผู้นำจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน ทำให้ดูก่อน เพื่อให้พนักงานเปลี่ยนตาม ที่สำคัญผู้นำต้องทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำไปเรื่อย ๆ ซึ่งนี่คือ เรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงของดีแทค"

"ที่ ต้องใช้การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกัน ต้องทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง และผู้นำต้องสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง และทำเป็นตัวอย่างให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ฉะนั้นถ้าถามว่า ช่วงไหนยากที่สุด ผมตอบได้เลยว่า ช่วงแรก เนื่องจากผู้บริหารต้องฟังเยอะ ทั้งรับฟังจากลูกน้องและลูกค้า"

"เมื่อฟังแล้วต้องพยายามค่อย ๆ แก้ปัญหา จนทุกคนเริ่มเข้าใจ ซึ่งเหมือนกับ ดีแทค ที่เราได้เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงจากทัศนคติ และเราก็ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต จนทุกวันนี้เราเข้าใจมากขึ้น และพร้อมที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีต่อไป"

แต่กระนั้นสิ่งที่ "ธนา" ห่วงอีกอย่างในขณะนี้ ก็คือ เมื่อเราผ่านจุดแห่งความสำเร็จมาแล้ว หลายคนกลับกำลังถดถอย คล้าย ๆ กับว่าเมื่อตอนบริษัทไม่ดี ทุกคนพร้อมใจกันสามัคคี แต่เมื่อทุกอย่างอยู่ในภาวะปกติหลายคนกลับมองแต่คนอื่น

ด้วยเหตุผล นี้ "ธนา" จึงแก้เกมด้วยการให้ทุกคนจับสลาก และให้ทุกคนกลับไปคิดหลังเลิกงานที่บ้านว่า...ถ้าเราจะต้องออกจากดีแทคสิ้น เดือนนี้ เรามีอะไรที่เสียดายและยังไม่ได้ทำอีกบ้าง

"มีอะไรที่ ผูกพันกันบ้าง และออกไปแล้วจะคิดถึงอะไรบ้าง รวมถึงดีแทคให้อะไรกับคุณบ้าง ผมก็ให้ทุกคนไปคิดมา พอเล่าไปเล่ามา ทุกคนเริ่มอินและร้องไห้"

"จนผม เกิดกระบวนการคิดขึ้นมาอย่างหนึ่งว่า ทุกคนคงเห็นสิ่งดี ๆ ที่บริษัทให้ตลอดมา ทั้ง ๆ ที่บริษัทก็เหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่เปลี่ยน คือ คนต่างหาก เพราะวิธีคิดเขาเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อเขาเข้าใจ เขาก็มีทัศนคติใหม่ และเริ่มเรียนรู้ว่าเขาเปลี่ยนไปจริง ๆ พอคิดเช่นนั้นได้ เขาก็พร้อมทำงานกันอย่างเต็มที่"

อันเป็นสาเหตุที่ทำให้องค์กรดีแทคเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้

ทุกวันที่ "ธนา" กุมบังเหียนอยู่เบื้องหลังแห่งความสำเร็จนั้น ?

view