สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ก่อนประมูลคลื่น 3G ย้อนดูโมเดล มะกัน สกัดต่างชาติยึดครองกิจการโทรคมนาคม

จากประชาชาติธุรกิจ



คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) เตรียมออกประกาศห้าม ต่างด้าว เข้ามายึดกิจการโทรคมนาคม ทั้งในรูปแบบการถือหุ้นโดยตรงและโดยทางอ้อม(นอมินี) โดยหวังใช้บังคับให้ทันประมูล คลื่น 3 G ในเร็ววันนี้ ประชาชาติออนไลน์ นำเสนอ กรณีศึกษาจากสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับการตรวจสอบการถือหุ้นและการลงทุนของต่างชาติ ในกิจการโทรคมนาคม เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับประเทศไทย

.....ภายหลังการเปิดเสรีการลงทุนและการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานภายใต้กรอบ ความตกลงขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี ค.ศ.1998 เป็นต้นมา
     ประเทศสมาชิก WTO หลายประเทศได้มีการดำเนินการผ่อนคลายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนหรือ การเข้าถือหุ้นของบริษัทต่างชาติในกิจการโทรคมนาคมภายในประเทศ โดยในประเทศสหรัฐอเมริกา หน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม
     ได้แก่ Federal Communications Commission (FCC) ได้ออกกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเข้าสู่ตลาดโทรคมนาคมของต่างชาติในกิจการโทร คมนาคมของสหรัฐอเมริกา (Foreign Participation Order) โดยพิจารณาจากประเด็นการกำกับดูแลทั่วไปในเรื่องการแข่งขันและหลักการต่าง ตอบแทน
      ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงการเปิดเสรีบริการโทรคมนาคมของ WTO
     อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเหตุการณ์การก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.2001 ภายในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ได้มีการถกเถียงถึงประเด็นความมั่นคงแห่งชาติและการบังคับใช้กฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการควบคุมธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของต่างชาติภายใน สหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐอเมริกาได้ถือว่ากิจการโทรคมนาคมและการสื่อสาร เช่น อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์ และการสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นกิจการที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ (National Security) และการป้องกันประเทศ (National Defense)
    รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ให้คณะกรรมการด้านการลงทุนในประเทศสหรัฐอเมริกา (Committee on Foreign Investment is the United States : CFIUS) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1975 เข้ามามีบทบาทสำคัญในการกิจารณาตรวจสอบการเข้าครองหุ้นหรือการเข้าควบคุม กิจการที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งรวมถึงกิจการโทรคมนาคมในประเทศสหรัฐของบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลต่างชาติและบริษัทที่ถูกควบคุมหรือถือหุ้นใหญ่โดยรัฐบาลต่างชาติ
     ทั้งนี้ คณะกรรมการ CFIUS ประกอบไปด้วยผู้บริหารระดับสูง อันได้แก่ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงภายใน รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฉพาะด้าน
  ดังเช่น FCC ในกรณีของกิจการโทรคมนาคม    นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกายังมีอำนาจในการคัดค้านและปฏิเสธการลงทุนจากต่าง ชาติในธุรกิจที่มีผลกระทบหรืออาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติได้
    กรณีตัวอย่างที่คณะกรรมการ CFIUS ได้พิจารณาและตรวจสอบการลงทุนและการเข้าถือหุ้นจากต่างชาติที่สำคัญ ได้แก่
   @ กรณี บริษัท Global Crossing  ( ค.ศ. 2003  )
บริษัท Global Crossing ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ได้เผชิญกับสภาวะล้มละลาย จึงมีการเจรจาขายหุ้นให้กับบริษัท Hutchinson-Wampoa (Hutchinson) และ บริษัท Singapore Technologies Telemedia (STT) จำนวน 61.5% ของ Global Crossing ซึ่งคิดเป็นเงินมูลค่า $250 ล้าน
     อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่ CFIUS ได้เข้ามาตรวจสอบการเตรียมการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าว CFIUS ได้แสดงความกังวลต่อเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
      เนื่องจากบริษัท Hutchinson ถูกมองว่ามีส่วนเกี่ยวพันกับรัฐบาลจีน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องการรั่วไหลาของข้อมูลระบบสื่อสารของ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ส่งผ่านโครงข่ายของ Global Crossing และถึงแม้ว่าบริษัท Hutchison เสนอว่าจะให้กรรมการบริษัทจำนวน 4 ใน 10 คนเป็นคนสัญชาติอเมริกันก็ตาม CFIUS ก็ไม่อนุมัติการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าว
    จนในที่สุด บริษัท Hutchison ต้องยอมถอนตัวและปล่อยให้บริษัท STT ของสิงคโปร์เป็นผู้เข้าซื้อหุ้น Global Crossing ดังกล่าวเพียงรายเดียว ส่งผลให้ CFIUS ยอมอนุมัติการเข้าซื้อหุ้น Global Crossing ในครั้งนี้
   @  กรณีของบริษัท IBM  ( ค.ศ. 2005 )
บริษัท IBM ตัดสินใจขายกิจการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer) ให้บริษัท Lenovo ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติจีน ทั้งนี้ CFIUS ได้อนุมัติการเข้าซื้อกิจการดังกล่าว ภายใต้เงื่อนไขที่บริษัท IBM และบริษัท Lenovo ต้องแยกการดำเนินงานด้านการวิจัย และอุปกรณ์ที่มีการใช้งานร่วมกันออกจากกันอย่างชัดเจน (full separation) โดย CFIUS ได้อนุมัติการดำเนินการเข้าซื้อกิจการในกรณีนี้ แม้ว่าจะมีการวิพากษ์วิจารณ์จาก สาธารณชนอย่างกว้างขวางในประเด็นเรื่องการครอบงำกิจการโดยคนต่างชาติ
  @  กรณีบริษัท China National Offshore Oil Corporation  ( ค.ศ. 2005 )
บริษัท China National Offshore Oil Corporation (CNOOC) ต้องการเข้าร่วมประมูลเพื่อซื้อบริษัท Unocal ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้น บริษัท Chevron อยู่ระหว่างการเจรจาเข้าซื้อบริษัท Unocal ด้วยเช่นกัน ทำให้บริษัท Chevron ออกมาประกาศว่า รัฐบาลจีนมีแผนเข้ามาควบคุมแหล่งพลังงานของสหรัฐผ่าน CNOOC จึงเป็นเหตุให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ผ่านทางสื่อมวลชนอย่างรุนแรง จนในท้ายที่สุด CNOOC ตัดสินใจยกเลิกแผนการเข้าประมูลดังกล่าวไป โดยยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ CFIUS
   @ กรณีบริษัท Dubai Ports World  ( ค.ศ.2006 )
     บริษัท Dubai Ports World (DPW) ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้การควบคุมของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เข้าซื้อ กิจการท่าเรือของสหรัฐอเมริกา กรณีดังกล่าวนี้เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชนอย่างมาก โดยหลังจากที่ CFIUS ได้อนุมัติการเข้าซื้อกิจการท่าเรือของ DPW สมาชิกสภาคองเกรสได้ออกมาโจมตีการทำงานของ CFIUS อย่างหนัก โดยตั้งข้อกล่าวหาว่า DPW เป็นบริษัทภายใต้การควบคุมของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ต้องสงสัยว่าให้ การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ 9/11 นอกจากนี้ ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ไปในทางลบอย่างมากผ่านทางสื่อต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา
   จนในที่สุด DPW ต้องยอมขายกิจการท่าเรือของสหรัฐอเมริกาเพื่อยุติความขัดแย้งทั้งหมด
    การวิพากษ์วิจารณ์โดยสาธารณชน สื่อมวลชน รวมถึงสมาชิกสภาคองเกรสต่อการพิจารณาและตรวจสอบการลงทุนและการเข้าครอบงำของ ต่างชาติในกิจการที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติของ CFIUS ส่งผลให้ต่อมาในปี ค.ศ.2007 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาภายใต้ประธานาธิบดี George W. Bush ได้ออกกฎหมายฉบับใหม่ ได้แก่ พระราชบัญญัติการลงทุนจากต่างประเทศและความมั่นคงแห่งชาติ (Foreign Investment and national Security Act of 2007 : FINSA) เพื่อเสริมสร้างกระบวนการตรวจสอบการลงทุนและการเข้าครอบงำของต่างชาติ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลต่างชาติ หรือบริษัทที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลต่างชาติในกิจการที่มีผลกระทบต่อ ความมั่นคงแห่งชาติของ CFIUS ให้เข้มแข็ง โปร่งใส และตรวจสอบได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้เพิ่มเติมระดับการตรวจสอบการลงทุนและการเข้าถือหุ้นจากต่างชาติ อย่างเข้มงวด  และขยายขอบเขตอำนาจของ CFIUS ให้มุ่งเน้นการพิจารณาธุรกิจที่ถือเป็น critical infrastructure และ critica technology
   ดังเช่น กิจการโทรคมนาคมและการสื่อสารที่ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญต่อความมั่นคง ของชาติและเป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการป้องกันประเทศ
    นอกจากนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าวยังเพิ่มบทบาทของสภาคองเกรสในการตรวจสอบการตัดสินใจของ CFIUS อีกด้วย
   ประเทศไทย ในเร็ววันนี้ จะมีการประมูลคลื่น 3 G 
    ปัญหาคือ เราเถียงกันจบหรือยังว่า กิจการโทรคมนาคม เป็นเรื่องความมั่นคง หรือ เป็นเรื่องความมั่งคั่งทางธุรกิจ ?
แน่ใจหรือว่า ดีแทค เอไอเอส และทรู เป็นไทยแท้ หรือ ไทยเทียม !!!

view