สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เบเนตอง ฝ่ามรสุม ทายาท ปัญหาท้าทายธุรกิจครอบครัว

จากประชาชาติธุรกิจ



หากเอ่ยชื่อแบรนด์′เบเนตอง′ (Benetton) คนในวัย 35 ปี คงพอคุ้นหูคุ้นตากับเสื้อผ้าสีสันสดใสที่เคยเป็นแบรนด์สุดฮิตเมื่อเป็นวัยรุ่น

 

เบ เนตองโดดเด่นอยู่ในโลกแฟชั่นนานหลายปี แต่พอมาถึงทุกวันนี้ แบรนด์เกิดใหม่อย่าง ซารา และ เอชแอนด์เอ็ม กลับมาขโมยซีนแบรนด์เก่าแก่ไปหมด รวมถึงมัดใจกลุ่มนักช็อปวัยรุ่นที่ภักดีต่อแบรนด์      ด้วยการขยายสาขาไปทั่วทุกมุมโลก

 

′ไทม์′ระบุว่า แบรนด์เบเนตองยังไม่ได้ล้มหายตายจากไป ถึงแม้ว่ายอดขาย   ปีที่แล้วจะอยู่ที่ 3 พันล้านดอลลาร์ และโฆษณาธีม ′ยูไนเต็ด คัลเลอร์ส ออฟ   เบ เนตอง′ ก็ห่างหายไป ขณะที่ธุรกิจก็ไม่เติบโตถึงขั้นดาวจรัสแสงเหมือนเมื่อก่อน แต่แบรนด์ที่มีอายุเก่าแก่ถึง 43 ปี ก็ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในแง่การบริหารธุรกิจ

เพราะ หลังฉากความสำเร็จ พี่น้องตระกูลเบเนตองทั้ง 4 ซึ่งเริ่มต้นธุรกิจจากการถักเสื้อสเวตเตอร์ โดยยืมเครื่องถักผ้าจากคนอื่น กำลังเผชิญกับภารกิจที่    แสนหนักหนา เช่นเดียวกับเพื่อน ๆ ที่อยู่ในธุรกิจครอบครัวรายอื่น ๆ นั่นคือการส่ง  ต่อคบเพลิงความสำเร็จให้แก่คนรุ่นถัดไป

 

ผู้ สืบทอดในตระกูลเบเนตองทั้ง 4 ได้แก่ ลูซิอาโน คาร์โล กิลเบอร์โต และ กุยเลียนา ซึ่งดูแลการดำเนินงานของเบเนตองกรุ๊ปมาตลอดหลายปี แต่ในปีนี้พวกเขาต้องผ่านก้าวสำคัญ เพื่อจัดวางโครงสร้างธุรกิจครอบครัว ที่ต้องแบ่งทรัพย์สินออกเป็น 4 กองเท่า ๆ กัน ซึ่งโครงสร้างใหม่นี้จะมีความชัดเจนมากขึ้นในเรื่องของการสืบทอดมรดกและการ ลดทอนบทบาทของสมาชิกในครอบครัว บางคนในอนาคต

 

ปัจจุบันลูกหลาน 4 จาก 14 คน อยู่ในบอร์ดบริหารของบริษัทโฮลดิ้งของเบเนตองที่มีชื่อว่า Edizione และ มีเพียง ′อเลสซานโดร เบเนตอง′ ลูกชายคนโตของลูซิอาโน ที่มีบทบาทในทางปฏิบัติ ในตำแหน่งรองประธานบริหารของเบเนตองกรุ๊ป เพื่อดูแลด้านบริหารและกลยุทธ์ ตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน

 

อเล สซานโดรจบการศึกษาจากฮาร์วาร์ด บิสซิเนสสกูล แล้วทำงานในโกลด์แมน แซกส์ และก่อตั้งไพรเวตอีควิตี้ ที่เน้นลงทุนในบริษัทขนาดกลางในอิตาลี ซึ่งปัจจุบัน ถือครองหุ้นรวมมูลค่า 1.4 พันล้านดอลลาร์

น่า สนใจว่า การเปลี่ยนเจเนอเรชั่นในธุรกิจครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ ทั่วไปพบว่า มีบริษัทครอบครัวเพียง 1 ใน 3 ที่สามารถอยู่รอดได้ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านจากยุคบุกเบิกไปสู่รุ่นต่อไป และมีบริษัทเพียง     1 ใน 10 ที่สามารถประสบความสำเร็จในการส่งไม้ต่อจากทายาทรุ่น 2 ไปสู่รุ่นที่ 3 

 

ยิ่ง อาณาจักรนั้นมีลูกหลานจำนวนมากและห่างกันมากขึ้น ก็ยิ่งเป็นภาระหนักที่จะทำให้พวกเขาอยู่ในแถว เพราะบางครั้งปัญหาใหญ่สุดของธุรกิจครอบครัวมาจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน มาก ดูอย่าง    นักธุรกิจอินเดีย พี่น้องตระกูลอัมบานี ′มูเคช′ และ ′อานิล′ ที่มีความขัดแย้งจนต้องแยกอาณาจักรธุรกิจจากรุ่นพ่อ เช่นเดียวกับในเยอรมนีที่พบเห็นความแตกแยกในตระกูลพอร์ช (Porsche)

 

กรณีของเบเนตอง ได้มีการหารือกันในครอบครัวอย่างละเอียด แม้ผู้บริหารบางคนจะมองว่าอเลสซานโดรเป็นผู้ที่มีความ     โดด เด่นที่สุดในหมู่ทายาทรุ่นถัดไป แต่ก็ยังไม่มีการตัดสินใจว่าใครจะขึ้นมาดูแลอาณาจักรแห่งนี้ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ภายใต้อำนาจของ กิลเบอร์โตเป็นผู้ดูแลด้านการเงินตั้งแต่ยุคก่อตั้ง ขณะที่กุยเลียนาดูแลด้านเสื้อผ้า ส่วนคาร์โลดูแลด้านการผลิต และลูซิอาโนดูแลด้านการโฆษณา

 

แม้เบเนตองจะกำเนิดจากธุรกิจเสื้อสเวตเตอร์ แต่ก็ขยับขยายอาณาจักรด้วย การสร้างความหลากหลาย โดยปีที่แล้ว     เบเนตองกรุ๊ปมีสัดส่วนไม่ถึง 1 ใน 4 ของธุรกิจทั้งหมดที่มียอดขายรวมกว่า        16 พันล้านดอลลาร์ ส่วนที่เหลือมาจากธุรกิจอื่น ๆ ในเครือ

 

ความ ท้าทายตอนนี้คืออเลสซานโดรจะต้องฟื้นแบรนด์เบเนตองให้กลับมาจรัสแสงอีกครั้ง และรุกตลาดโลกให้หนักขึ้น เพราะการแข่งขันในอิตาลีดุเดือดมากขึ้น ซึ่ง    เบเนตองจะต้องให้หุ้นส่วนท้องถิ่นเข้ามาช่วย อย่างในอินเดีย ′ทาทากรุ๊ป′ จะช่วยบริหารร้าน ′ซิสเลย์′ (Sysley) 95 แห่ง เช่นเดียวกับที่เม็กซิโก ตุรกี รัสเซีย และจีน ที่เบเนตองตั้งเป้าจะรุกเข้าไป

 

ขณะที่อเลสซานโดรเน้นว่าจะยังรักษาวัฒนธรรมของการเป็นผู้ประกอบการที่ เข้มแข็งเอาไว้

view