สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โลกไร้พรมแดนในประเทศที่มีพรมแดน กับองค์ปาฐกที่ชื่อ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล


จากประชาชาติธุรกิจ



นาย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปาฐกถาเรื่อง "โลกไร้พรมแดนในประเทศที่มีพรมแดน" ณ ห้อง ร.103 ชั้น 1 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ประชาชาติออนไลน์เก็บความมาฝากกัน ดังนี้
                 เรื่องที่จะพูดวันนี้เป็นเรื่องใหญ่มากใหญ่กว่าเรื่องของคณะรัฐศาสตร์ ใหญ่กว่าเรื่องของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กระทั่งมีด้านที่อาจจะใหญ่กว่า ประเทศไทยของเรา จึงเรียนไว้ตั้งแต่ต้นว่าสิ่งที่จะพูดต่อไปนี้เป็นเพียงแง่คิดคำถามและการ ตั้งข้อสังเกต ซึ่งเป็นเพียงทัศนะส่วนตัวซึ่งอาจจะผิดหรือถูกก็ได้

ทั้งหมดแค่เพียงอยากจุดประเด็นให้นำไปคิดต่อและให้ผู้คนที่ห่วงใยบ้านเมืองนำไปช่วยกันพิจารณาทำความเข้าใจ

ก่อน อื่นต้องขอย้ำว่าการพูดถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจระดับรัฐนั้นย่อมหนีไม่พ้นจะ ต้องก้าวล่วงไปสู่ปริมณฑลของปรัชญาการเมืองด้วยเพราะผู้คนมองบทบาทของรัฐ ด้วยสายตาที่แตกต่างกันมีข้อเรียกร้องต่อรัฐที่แตกต่างกัน และรัฐเองก็มีจินตนาการเรื่องอำนาจของตน

รัฐ ชาติเป็นรัฐสมัยใหม่ซึ่งไม่ว่าเราจะรู้สึกคุ้นเคยสักแค่ไหนก็ตามก็ต้องยอม รับว่ารูปแบบของไทยและชาติไทยในความหมายสมัยใหม่ซี่งเราอาจนับอายุถอยหลังไป ได้เพียงประมาณ80-90ปีเท่านั้นเอง

อำนาจ การเมืองเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ซึ่งขึ้นต่อการยอมรับของผู้ อยู่ใต้อำนาจค่อนข้างมากและการยอมรับนั้นก็มักต้องอาศัยศรัทธาเกี่ยวกับ ประโยชน์สุขบางประการที่ผู้อยู่ใต้อำนาจเชื่อว่าอำนาจการเมืองจะนำมาให้

การ เกิดขึ้น มีอยู่และดำเนินไปของระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติ ก็เช่นเดียวกับอำนาจรัฐในรูปแบบอื่นคือต้องอาศัยจินตนาการทางการเมืองมารอง รับเพียงแต่ว่าข้ออ้างความชอบธรรมของรัฐชาติมีเนื้อหาสาระเป็นลักษณะเฉพาะ ของตนซึ่งต่างจากการใช้อำนาจปกครองแบบโบราณและเริ่มแตกต่างมากขี้นเรื่อยๆ กับชุดความคิดความเชื่อของสังคมโลกาภิวัตน์

เราอาจสรุปสั้นๆว่าอำนาจแบบรัฐชาติมีรากฐานอยู่บนจินตนาการใหญ่ทางการเมือง 3ประการคือ

1.มี การตีเส้นแบ่งความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างพลเมืองหรือประชากรของตนกับคน อื่นที่ไม่ได้สังกัดรัฐนี้พูดง่ายๆคือมีการนิยามสมาชิกภาพของประเทศไว้อย่าง ตายตัว มีเขา มีเรามีความเป็นคนไทยและไม่ใช่คนไทย ทั้งโดยบัญญัติทางกฎหมายและโดยนิยามทางวัฒนธรรม

2.มี การถือว่าประชากรที่สังกัดอำนาจรัฐเดียวกันเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันในหลายมิติ กระทั่งเปรียบดังสมาชิกในครอบครัวใหญ่เดียวกันซึ่งมีชะตากรรมทุกข์สุขร้อน หนาวรวมกัน

3.เช่น นี้แล้วจึงถือว่าทั้งประเทศเป็นหน่วยผลประโยชน์ใหญ่และถือว่าผลประโยชน์ส่วน รวมมีจริง โดยมักเรียกขานว่าเป็นผลประโยชน์แห่งชาติทั้งนี้โดยมีนัยว่าทุกคนที่เป็น สมาชิกของชาติย่อมได้รับผลประโยชน์ดังกล่าวอย่างทั่วหน้าแม้ว่าบางทีอาจจะ ไม่เสมอกัน

จากจินตนาการใหญ่ทั้ง3 ประการนี้รัฐชาติจึงได้ออกแบบสถาบันการเมืองการปกครองขึ้นมารองรับและตรา กฏหมายจำนวนนับไม่ถ้วนขึ้นมาเพื่อจักตั้งความสัมพันธ์ทางอำนาจกับความ สัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสังคมให้เป็นไปตามความเชื่อของรัฐนอกจากนี้แล้วยัง ดำเนินการปลูกฝังขัดเกลาจิตสำนึกของประชากรให้เข้ามาอยู่ในกรอบเดียวกัน

        ในความเห็นของผมเราอาจเรียกขบวนการเหล่านี้โดยรวมว่าเป็นระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติ และ แน่นอนเมื่อพูดถึงกรณีของประเทศไทยระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติได้ถูกวิพากษ์ วิจารณ์มาโดยตลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยนักวิชาการและปัญญาชนจำนวนมากทุกสิ่ง ทุกอย่างเกี่ยวกับรัฐชาตินิยมความชอบธรรมของตัวสถาบันการเมืองการปกครองความ เป็นธรรมของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ หรือความถูกต้องของสิ่งที่เรียกว่า"วัฒนธรรมแห่งชาติ" และอีกหลายๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางอำนาจ

                แต่ ถึงกระนั้นผมคิดว่าคำวิจารณ์เหล่านั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญสำหรับการพูดคุยใน วันนี้เนื่องจากที่ผ่านมาแม้ว่าเราจะไม่เห็นด้วยกับหลายสิ่งหลายอย่างที่รัฐ ไทยเป็นอยู่และทำไปแต่ข้อวิจารณ์ก็ยังคงจำกัดอยู่ในกรอบของรัฐชาติอยู่ดีเรา เพียงอยากให้รัฐชาติของไทยเป็นรัฐชาติที่ดีขึ้นเรื่อยๆ

                แต่ ปัญหามีอยู่ว่าในขณะนี้ตัวแบบที่ตกเป็นเป้าวิจารณ์ของนักวิชาการและปัญญาชน เองกลับกำลังถูกแปรด้วยปัจจัยอื่นอยู่ตลอดเวลากล่าวให้ชัดขึ้นคือว่าตัว ระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติของไทยกำลังถูกหักล้างกัดกร่อนอย่างรวดเร็วด้วยยุค สมัยที่เปลี่ยนไปจนทำให้เกิดคำถามว่ารัฐชาติของไทยจะสามารถรักษาระเบียบ อำนาจของตนไว้หรือไม่สายไปแล้วหรือไม่ที่จะจำกัดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยไว้ในกรอบคิดแบบรัฐชาติและสุดท้ายคืออะไรจะเกิดขึ้นเมื่อรัฐชาติ ต้องแปรรูปไปเป็นรัฐแบบอื่นเราพร้อมหรือไม่ที่จะพบกับการเปลี่ยนแปลงระดับ นั้นพวกเราในฐานะประชาชนของประเทศไทยจะสามารถควบคุมทิศทางการเปลี่ยนแปลงและ จังหวะก้าวการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้แค่ไหน

                ที่ น่ากังวลคือที่ผ่านมาเรายังมีองค์ความรู้ไม่พอที่จะตอบคำถามเหล่านั้นและอาจ ต้องทำการค้นคว้าวิจัยโดยด่วนผมคิดว่าควรจะเป็นวาระสำคัญที่สุดของวงการ วิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายสังคมศาสตร์

                มา ถึงวันนี้การเอ่ยถึงความขัดแย้งระหว่างรัฐชาติกับกระแสโลกาภิวัตน์คงไม่ สามารถพูดกันในความหมายเก่าๆได้อีกแล้วและผมคงไม่ต้องพูดก็ได้ว่าการเปลี่ยน แปลงของยุคสมัยไปในทิศทางนี้ ได้ทำให้เกิดความสับสนอลหม่านในแนวคิดเรื่องชาติขนาดไหนแต่เฉพาะหน้าผมขอ ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงภายในสังคมไทยดังกล่าวทำให้มีการใช้ จินตภาพเรื่องชาติต่างจากเดิมไป2เรื่อง

        เรื่องแรกคือเราใช้ ชาติเป็น วาทกรรมทางการเมืองสำหรับต่อสู้กันภายในประเทศ เช่นมีการพูดถึงการกู้ชาติให้รอดพ้นจากคนไทยด้วยกันหรือไม่ก็ช่วงชิงกันเป็น ผู้พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติทั้งที่ความเป็นจริงในเรื่องนี้ก็เป็นดัง ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นคือนับวันยิ่งทำให้ว่างเปล่าด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์

                เรื่องที่สอง เรามีการใช้วาทกรรมเรื่อง ชาติไป ในทางการตลาดมากขึ้นเรื่อยๆและถือเป็นส่วนหนึ่งของงานโฆษณาสินค้าที่ปกติมัก ไม่ค่อยถูกจำกัดด้วยหิริโอตัปปะหรือความรับผิดชอบเรี่องความถูกต้องทางหลัก การใดๆ

        ตัวอย่าง ชัดเจนในเรื่องนี้คือกรณีแจกเช็คช่วยชาติซึ่งเป็นนโยบายกระตุ้นการบริโภคภาย ในประเทศของรัฐบาลเมื่อต้นปีที่ผ่านมาทั้งนี้รัฐบาลได้ตกลงกับห้างร้านต่างๆ ในการรับเช็คและเพิ่มมูลค่าของเช็คเพื่อประกันว่าผู้ที่ได้รับแจกเงินหัวละ 2,000บาทจะหมดสิ้นแรงจูงใจในการเอาเงินจำนวนนั้นไปเก็บออม และมีการบอกผู้บริโภคว่าแค่ออกไปหาความบันเทิงเริงรมย์ก็ถือว่ารักชาติมากแล้ว

                นอก จากนี้ผมยังเคยเห็นป้ายคำขวัญตามเมืองท่องเที่ยวต่างๆ ระบุว่านักท่องเที่ยวเป็นคนสำคัญของชาติซึ่งนับเรื่องแปลกหูแปลกตามากสำหรับ คนที่ถูกสอนมาว่าบุคคลสำคัญของชาติควรจะประกอบด้วยคุณงามความดีบางประการ

                ผม ขออนุญาตย้ำตรงนี้ว่านี่เป็นเรื่องใหญ่กว่าความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง เสื้อสีต่างๆที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันแม้ว่าในบางมิติปัญหาทั้ง 2ระดับอาจจะเกี่ยวโยงกันอยู่

                การ เปลี่ยนแปลงในลักษณะของรัฐนั้นถึงอย่างไรก็ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงใน ระดับระบอบการปกครอง และในระดับรัฐบาลทั้งโดยทฤษฎีรัฐศาสตร์และจากประสบการณ์ตรงของประเทศไทย ลักษณะของรัฐมีความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนวิถีวัฒนธรรมอย่าง แยกไม่ออกและบ่อยครั้งเมื่อเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปรูปแบบของรัฐก็หนี ไม่พ้นที่จะต้องเปลี่ยนตาม

        ถาม ว่ารัฐไทยกำลังเผชิญปัญหาอะไรบ้างที่ทำให้เกิดความจำเป็นในการปรับปรุงหรือ ปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจต่อเรื่องนี้ถ้าพูดเป็นรายละเอียดรูปธรรมก็ คงไม่สามารถลำดับได้หมดสิ้นแต่ในความเห็นของผมคิดว่าอาจจัดเป็นหมวดปัญหาได้ 2ประเภท

        1.ปัญหาการบูรณาการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกลุ่มทุนโลกาภิวัตน์กับผลประโยชน์ของส่วนอื่นๆในสังคมไทย

        2.ปัญหาความไม่ลงตัวในเรื่องการจัดสรรอำนาจทางการเมืองและพื้นที่ทางการเมืองในสังคมแบบ"พหุลักษณะ"

        ตาม ความเห็นของผม สิ่งแรกที่รัฐต้องทำคือ "บูรณาการสังคมไทย"เสียใหม่ ยอมรับการมีอยู่ของทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องแทนที่จะปิดบังมันไว้ด้วยจินตนาการ เรื่องชาติจากนั้นหาทางประโยชน์ระหว่างทุนข้ามชาติทุนไทย แรงงานต่างชาติ เกษตรกรรายย่อยชุมชนท้องถิ่น ผู้ค้าปลีก ชาวประมงพื้นบ้าน คนชั้นกลาง คนชั้นล่างข้าราชการทั้งทหารและพลเรือน และอีกหลายภาคส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นสังคมไทยปัจจุบัน

                ขณะ ที่เรื่องความไม่ลงตัวในการจัดสรรอำนาจและพื้นที่ทางการเมืองถามว่าเรื่อง นี้เกี่ยวกับยุคโลกาภิวัตน์อย่างไรผมคิดว่าเกี่ยวข้องกันอยู่ใน 2ประเด็น

                1.ระบบ เศรษฐกิจแบบไร้พรมแดนตลอดจนโลกาภิวัตน์ในด้านข่าวสารส่งผลให้สังคมไทยแตกพหุ อย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่ของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มวัฒนธรรมข้อนี้ทำให้สังคมไทยปกครองยาก ขึ้น

                2.โลกา ภิวัตน์ทำให้เกิดชนชั้นนำกลุ่มใหม่ๆที่มั่งคั่งขึ้นมาอย่างรวดเร็วและมหาศาล เช่นเดียวกับชนชั้นที่มาทีหลังในประวัติศาสตร์และทุกหนแห่งในโลกคนเหล่านี้ ต้องการส่วนแบ่งในอำนาจการเมืองการปกครองทำให้เกิดเป็นความขัดแย้งต่อเนื่อง ถึงปัจจุบัน

                ล่า สุดตัวอย่างที่น่าสนใจในเรื่องนี้ได้แก่ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลไทยกับ กัมพูชาดังที่ทราบกันอยู่แล้วการที่นายกรัฐมนตรีเขมรแต่งตั้งอดีตนายก รัฐมนตรีไทยเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจนั้นได้สร้างความไม่พอใจให้กับนายก รัฐมนตรีไทยคนปัจจุบันเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเห็นว่าอดีตนายกรัฐมนตรีท่าน นี้มีความผิดทั้งในทางการเมืองและทางอาญาขณะเดียวกันก็มีคนไทยบางส่วนที่ โกรธแค้นฝ่ายกัมพูชาเพราะพวกเขาเห็นว่าแทรกแซงกิจการภายในของไทยหรืออย่าง น้อยไม่ให้เกียรติประเทศไทยเท่าที่ควรและมีคนไทยอีกจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วย กับการโต้ตอบถึงขั้นเรียกทูตกลับของรัฐบาลไทยหากกลับเทอารมณ์ไปวิตกกังวลว่า ความขัดแย้งนี้จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจไทยในกัมพูชา

        จะเห็นว่าทุกวันนี้ แม้แต่เรื่องความขัดแย้งระดับคลาสสิกคือเรื่องศักดิ์ศรีของประเทศ คนไทยก็ไม่ได้เห็นพ้องต้องกัน

                ในฐานะนักเรียนรัฐศาสตร์ผมคิดว่าคำถามใหญ่สุดสำหรับประเทศไทยในชั่วโมงนี้ คือ

                1.ใน ยุคโลกาภิวัตน์เป็นไปได้หรือไม่ที่ประเทศไทยจะปฏิเสธการมีส่วนแบ่งในพื้นที่ อำนาจของชนชั้นนำจากกลุ่มทุนโลกาภิวัตน์และถ้าปฏิเสธไม่ได้จะทำอย่างไรจะออก แบบสถาบันการเมืองแบบไหนจึงจะทำให้ทุกฝ่ายมีพื้นที่ทางการเมืองอันพอเหมาะพอ ควร

                2.ในยุคโลกาภิวัตน์รัฐไทยจะปกครองสังคมพหุลักษณ์ด้วยระบบรวมศูนย์อำนาจได้ต่อไปหรือไม่และถ้าทำไม่ได้จะทำอย่างไร

                แน่นอนคำตอบสำหรับคำถามใหญ่2 ข้อนี้ ถ้าจะให้ชัดเจนจริงๆ คงไม่ใช่เรื่องที่คิดเอาเองตามใจชอบได้

                สรุป รวมความแล้วคือการที่โลกไร้พรมแดนเข้ามาอยู่ในประเทศที่มีพรมแดนทำให้เรา ต้องพิจารณาหาหนทางบูรณาการประเทศกันใหม่ทั้งในส่วนที่เป็นภาครัฐและภาค สังคมตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม ยิ่งไปกว่านั้นการสร้างความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันใหม่ในบริบทของความเป็นจริง แห่งปัจจุบันคงจะไม่สามารถทำได้ในกรอบคิดดั้งเดิมของลัทธิชาตินิยมหรือภาย ใต้ระเบียบอำนาจแบบเก่าๆอย่างที่เราคุ้นเคยกัน

                ปัจจุบัน อำนาจรัฐไทยถูกจำกัดโดยเงื่อนไขโลกาภิวัตน์อยู่แล้วแต่ไม่ได้ถูกกำกับโดย ประชาสังคมเท่าที่ควรอำนาจรัฐบางส่วนถูกโอนให้สถาบันตลาดแต่ตลาดเองก็ไม่ สามารถให้ความเป็นธรรมกับสมาชิกในสังคมได้อย่างทั่วถึงมิหนำซ้ำยังจะดึงรัฐ ไปรับใช้การขยายตัวของทุนอยู่ตลอดเวลา

                เรา คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้คนไทยจำนวนไม่น้อยที่ฝากความมั่งคั่งและอยู่รอด ของตนไว้กับทุนและแรงงานจากต่างประเทศอีกจำนวนไม่น้อยพอใจชีวิตที่ไม่ต้อง ถูกนิยามด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติและกินอยู่แต่งกายไปตามกระแสบริโภคสากล

                แต่ เราก็ต้องยอมรับเช่นกันว่ายังมีอีกหลายกลุ่มที่เดือดร้อนกับโลกที่ไร้พรมแดน บ้างถูกเบียดยึดพื้นที่ทางเศรษฐกิจและการเมืองบ้างถูกคุกคามความอยู่รอด อย่างแท้จริงและบ้างเพียงรู้สึกเจ็บปวดเมื่อโลกที่ตัวเองคุ้นเคยกำลังเลือน หายไป

                เพราะฉะนั้น ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา การดำรงอยู่ของทั้ง2 ส่วนเป็นสาเหตุสำคัญของกรณีพิพาทในหลายๆเรื่องและนี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้ต้องมีการปรับสมดุลกันในประเทศไทย

view