รายงานโดย :กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์:
|
หลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย
โดยทั่วไปแล้วหลักการพื้นฐานของ Corporate Governance ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจะคล้ายกับหน่วยงานระดับประเทศหลายแห่ง (เช่น OECD) อาจแบ่งได้ 4 ประการหลักๆ คือ
1.หลักของความโปร่งใส หรือที่เรียกว่า “Transparency” คือ การสร้างความไว้วางใจระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ในภาวะการแข่งขัน ซึ่งความโปร่งใสนั้น ถ้าหากทำในระหว่างสมาชิกในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น กรรมการที่เป็นสมาชิกในครอบครัวก็ย่อมจะส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและมี การส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการทำงานของบริษัทธุรกิจครอบครัวได้
เพราะจะทำให้ผู้ถือหุ้นและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถเข้ามามีส่วน ร่วมและให้ความเห็นต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของครอบครัวต่อไปได้ โดยไม่เกิดความห่วงกังวลว่าผู้บริหารซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวจะ ยักย้ายถ่ายเทผลประโยชน์เพราะสามารถตรวจสอบได้
2.ความซื่อสัตย์หรือที่เรียกว่า “Integrity” ซึ่งบริษัท กำหนดให้กรรมการหรือบริษัททำธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา มีการทำรายงานและมีการทำสารสนเทศที่เปิดเผยให้ครบถ้วนเกี่ยวกับฐานะการเงิน อย่างน่าเชื่อถือได้ ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อธุรกิจครอบครัวเช่นกัน
หากสมาชิกในธุรกิจครอบครัวทุกคนจะต้องมีความซื่อสัตย์มีความมั่นคง ในหลักการในการจัดการธุรกิจครอบครัว ก็จะลดข้อพิพาทลงและการจัดการโดยความซื่อสัตย์ก็จะส่งผลให้ธุรกิจครอบครัว เติบโตได้อย่างมั่นคง
3.ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติตามหน้าที่ (Accountability) อันนี้ก็เป็นเรื่องของคณะกรรมการกับผู้ถือหุ้นก็เช่นเดียวกัน หากคณะกรรมการของบริษัทครอบครัวและผู้ถือหุ้นที่เป็นสมาชิกในครอบครัวมีความ รับผิดชอบตามกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ก็จะส่งผลต่อความสำเร็จของกิจการได้เป็นอย่างดี
4.ความสามารถในการแข่งขันหรือที่เรียกว่า “Competitive ness” ก็คือ การสร้างมูลค่าและความเจริญและเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทธุรกิจ ครอบครัว การกำกับดูแลจะต้องมีความคล่องตัว และเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและไม่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการโดยเฉพาะใน สภาวะการแข่งขันอย่างสูง การทำให้ธุรกิจครอบครัวแข่งขันได้จึงมีความสำคัญ ซึ่งหลักข้อนี้ก็สำคัญมากเพราะหากธุรกิจครอบครัวมีความสามารถในการแข่งขันก็ สามารถเจริญเติบโตได้เช่นเดียวกัน โดยไม่เพียงแต่จะสิ้นสุดลงแค่รุ่นที่ 3 เท่านั้น
จากแนวคิดหลัก 4 ประการดังกล่าวจึงเป็นที่มาของหลักเกณฑ์ 15 ประการที่ตลาดแห่งประเทศไทยมีความประสงค์ที่จะนำมาใช้ให้กับบริษัทจดทะเบียน นั้น ผมเชื่อว่าบริษัทธุรกิจครอบครัวที่มีการจัดการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็จะทำ ให้บริการธุรกิจครอบครัวเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ผมจึงอยากจะให้ท่านผู้อ่านพิจารณาหลักเกณฑ์ 15 ประการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ของครอบครัวได้อย่างไร
อีกทั้งยังเป็นการเตรียมพร้อมก่อนที่บริษัทครอบครัวจะเข้า จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้อีกด้วย เพราะกระบวนการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็จะเป็นวิธีการอัน หนึ่งสืบทอดธุรกิจอย่างยั่งยืนจากรุ่นสู่รุ่นดังที่ได้เคยเขียนไว้ในบทความ ที่แล้ว
ข้อ 1.ให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายและหลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัทไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
หลักเกณฑ์ข้อนี้บริษัทธุรกิจครอบครัวจึงควรจะมีการพัฒนาและ กำหนดนโยบายของธุรกิจครอบครัวในการกำกับดูแลกิจการครอบครัวให้ชัดเจน เขียนไว้เป็นลักษณะของธรรมนูญครอบครัว (Family Constitution) หรือข้อพึงปฏิบัติของสมาชิกในครอบครัว (Code of Conduct) วิสัยทัศน์ของครอบครัวและแนวทางการดำเนินกิจการตลอดจนคุณค่าของธุรกิจในครอบครัว การจัดตั้งโครงสร้างของสภาธุรกิจครอบครัว (Family Council)
การกำหนดนโยบายและการกำกับดูแลเป็นลายลักษณ์อักษร นอกเหนือไปจากข้อบังคับของบริษัท การกำหนดนโยบายต่างๆ เหล่านี้ก็จะทำให้คณะกรรมการในครอบครัวมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสามารถ กำหนดนโยบายได้ โดยเฉพาะเมื่อกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จะทำให้สิ่งที่บริษัทธุรกิจครอบครัวสามารถนำมา ใช้ได้ ส่วนจะให้มีผลผูกพันทางกฎหมายหรือไม่นั้นก็เป็นเรื่อง
ผมคิดว่าการกำหนดไว้แต่เพียงลายลักษณ์อักษรคงไม่เพียงพอ แต่คงจะต้องให้สมาชิกในครอบครัวได้เรียนรู้ทราบหลักการดังกล่าวและปฏิบัติ ตามนโยบายอยู่ตลอดเวลาด้วย
ทั้งนี้ โดยการจัดการอบรมและเผยแพร่ให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าใจหลักการและเหตุผลในการปฏิบัติหลักการกำกับดูแลกิจการดังกล่าว