สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คดีผู้บริโภคพุ่ง 3.5 แสนคดี ผู้บริโภคโดนฟ้องอ่วม สินเชื่อบุคคลอันดับ1ชี้กลไกบกพร่องชาวบ้านเสียเปรียบ

จากประชาชาติธุรกิจ



ตะลึงคดีผู้บริโภคปี52พุ่ง 3.5 แสน คดีกู้ยืม ค้ำประกัน สินเชื่อบุคคล 146,465 คดี บัตรเครดิต 92,680 คดี ส่วนใหญ่มากกว่า 90% ผู้ประกอบการใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค เล่นงานผู้บริโภคอ่วม ด้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเวทีวิพากษ์วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคมีปัญหายุ่บยั่บ ไม่เอื้อให้ชาวบ้านใช้สิทธิฟ้องผู้ประกอบการ

นาย สราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เปิดเผย "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า แนวโน้มคดี ผู้บริโภคที่เข้าสู่ศาลได้เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2552 มีการฟ้องคดีผู้บริโภคถึง 356,230 คดี เมื่อเทียบกับคดีแพ่งทั่วประเทศ 6.5 แสนคดี เป็นคดีผู้บริโภค 3.5 แสนคดี มากกว่า 50% ของ คดีแพ่ง

คดี ผู้บริโภค แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ คดีกู้ยืม ค้ำประกัน สินเชื่อบุคคล 146,465 คดี บัตรเครดิต 92,680 คดี กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา 52,924 คดี เช่าซื้อรถยนต์ 33,884 คดี ที่เหลือเป็นคดีเล็ก ๆ ที่มียอดหนี้ไม่เกิน 30,000 บาท คดีผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 90 ผู้ประกอบการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้บริโภค ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากไม่สามารถชำระหนี้ตามข้อตกลงหรือสัญญาที่ได้ทำไว้

การ ฟ้องคดีผู้บริโภค เป็นไปตาม พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ที่ เอื้ออำนวยเรื่องความสะดวก การประหยัด และความรวดเร็ว แก่ผู้บริโภค แต่เมื่อผู้ประกอบการนำใช้ฟ้องผู้บริโภค ก็มิได้ทำให้ผู้บริโภคจะเสียเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะเมื่อผู้ประกอบการยื่นฟ้องผู้บริโภคสามารถฟ้องแย้งได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม และการที่ศาลสามารถพิจารณาคดีได้เร็วนั้น ถือว่าเป็น การช่วยผู้บริโภคได้ด้วย เนื่องจากถ้าคดียืดเยื้อ ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 อาจเป็นภาระหนักของผู้บริโภค

หลักสำคัญอีกข้อ หนึ่งของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 คือ เรื่องหลักไม่เป็นทางการ ความเคร่งครัดในพิธีการเหมือนคดีแพ่งทั่ว ๆ ไปจะลดน้อยลง การแพ้ชนะคดีโดยอาศัยความรู้หรือไม่รู้ในการพิจารณาคดีจะลดน้อยลง เพราะมีความพยายามทำให้ง่ายขึ้น มีเจ้าพนักงานคดีเข้ามาให้ความช่วยเหลือคู่ความ เช่น ถ้ามาฟ้องด้วยวาจา ทางศาลก็มีเจ้าพนักงานคดีซึ่งจบกฎหมายเนติบัณฑิตเข้ามาช่วยเหลือดูแลในการ เขียนคำฟ้องต่าง ๆ ให้

เมื่อคดีเข้ามาสู่ศาล กฎหมายยังเปิดช่องให้มีการประนีประนอม เพื่อหาทางออก เพราะหากมีการตกลงกันได้ ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค ดังนั้นกลไกทางกฎหมายจึงเอื้อประโยชน์กับทั้งสองฝ่ายให้ได้รับความเป็นธรรม จากศาลเท่าเทียมกัน

"สาเหตุที่ผู้บริโภคไม่ค่อยใช้สิทธิตามกฎหมาย ใหม่ อาจเป็นเพราะยังไม่ตื่นตัวเท่าที่ควร เช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความเสียหายจากสินค้า หรือ Product Liability Law ผู้บริโภคก็ใช้กฎหมายฉบับนี้น้อยมาก รวมถึง พ.ร.บ.ว่าด้วยสัญญาไม่เป็นธรรม เมื่อ 10 ปีที่แล้วแทบไม่มีการนำไปใช้ เช่นเดียวกับองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 61 วรรค 2 ก็ยังไม่เกิดเป็นรูปธรรม" นายสราวุธกล่าว

รองเลขาธิการสำนัก งานศาลยุติธรรม กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค สำนักงานศาลยุติธรรมได้มีการประมวลปัญหาต่าง ๆ หากส่วนไหนไม่เป็นธรรมกับตัวผู้บริโภค ก็สามารถเสนอแก้ไขปรับปรุงได้ โดยสำนักงานศาลยุติธรรมไม่ขัดข้อง และจริง ๆ แล้วร่างกฎหมายเดิมได้กำหนดให้ผู้บริโภคใช้สิทธิฟ้องผู้ประกอบการเท่านั้น แต่ต่อมามีการแก้ไขเปิดช่องให้ผู้ประกอบการฟ้องผู้บริโภคในชั้นคณะกรรมการ กฤษฎีกา

ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ยังมีปัญหาในการบังคับใช้หลายประเด็น ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงกฎหมายฉบับนี้ได้จริง เช่น การเขียนคำฟ้อง คำร้อง คำเบิกความ คำโต้แย้ง ด้วยเจ้าพนักงานคดีตามกฎหมายฉบับนี้มีไม่เพียงพอหรือไม่มีเลย ผู้บริโภคต้องเป็นฝ่ายจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องที่จะยื่นฟ้องคดีเองทั้ง หมด หากไม่มีก็จะฟ้องคดีไม่ได้ หนังสือรับรองบริษัทฉบับจริง ขั้นต่ำฉบับละ 200 บาท เอกสารเวชระเบียนในคดีทางการแพทย์ ทะเบียนราษฎรของจำเลยจากสำนักงานเขต นอกจากนี้ผู้พิพากษาหลายท่านต้องการให้ผู้บริโภคจัดหาทนายความเข้ามาดำเนิน คดี ทั้งที่คดีผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องมีทนายความ

"ศาลบางแห่งไม่มี ความพร้อมในการสนับสนุนด้านการเขียนคำฟ้อง ต้องให้ผู้บริโภคทิ้งเอกสารไว้ แล้วค่อยนัดมารับดูคำฟ้องภายหลัง หรือบางครั้งคำฟ้องที่เขียนไม่ตรงตามข้อเท็จจริงทำให้การใช้สิทธิของผู้ บริโภคไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้การต้องเสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หมายนัด ของผู้บริโภคในคดีผู้บริโภค เช่น ศาลแขวงพระโขนง ที่ให้โจทก์คดีซานติก้าผับต้องเสียค่านำหมายกรณีเรียกผู้ถือหุ้นเข้ามาเป็น จำเลยร่วมจำนวน 30 คนกว่าหมื่นบาท" นางสาวสารีกล่าว

ในส่วนของศาลเอง ก็มีปัญหาในการใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้เช่นกัน ยกตัวอย่างสำคัญเช่น มาตรา 4 การไม่มีเจ้าพนักงานคดี หรือมีไม่เพียงพอตามกฎหมาย ถือเป็นปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถใช้กฎหมายฉบับนี้ได้จริงตามวัตถุประสงค์และ เจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยเฉพาะการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานโดยศาลรับภาระเป็นผู้สืบ พยาน รวมไปถึงการสืบเสาะหรือพิสูจน์ให้ได้มาซึ่งพฤติกรรม และพฤติการณ์ของคู่กรณีว่ามีความผิดจริงตามฟ้อง ซึ่งในกฎหมายระบุว่าต้องเป็นหน้าที่ของศาลหรือเจ้าพนักงานคดี

นอกจาก นี้ทางเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ยกตัวอย่างมาตรา 16 การส่งหมายเรียกจำเลยและสำเนาคำฟ้องของ เจ้าพนักงานศาลที่ล่าช้า หรือไม่ได้ส่ง การปฏิเสธรับคำร้องขอหมายเรียกพยานบุคคล-เอกสารจากผู้บริโภค โดยอ้างว่าต้องเสียค่านำหมายก่อน มาตรา 18 การต้องเสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หมายนัด ของผู้บริโภคในคดีผู้บริโภค มาตรา 20 เจ้าพนักงานคดีมีไม่เพียงพอหรือไม่มีเลย ศาลบางแห่งไม่มีความพร้อมเท่าที่ควรในการสนับสนุนด้านการเขียนคำฟ้องด้วย วาจาให้กับผู้บริโภค และอีกหลายมาตรา ซึ่งล้วนแล้วทำให้ การใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคพ.ศ. 2551 ไม่สมบูรณ์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

view