สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ก้าวย่างสไตล์ ล่ำซำ ต้นแบบโมเดล เปลี่ยน เพื่ออยู่รอด

จากประชาชาติธุรกิจ


ทุ กกคนรู้ว่ามันไม่ได้พูดกัน ง่าย ๆ แล้วว่า ธุรกิจการเงินอยู่ในมือของคนไม่กี่ตระกูล เพราะบางตระกูลก็กระจุยกระจายกันไปช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลก ที่ดูเหมือนเป็นโลกของสโมสรเล็ก ๆ ของคนไม่กี่ตระกูล ก็กลายเป็นโลกการเงินแบบกว้าง คนที่ขึ้นมาบริหารก็มีไม่กี่คนที่มาจากตระกูลดั้งเดิม ตลอดเวลา 30 ปีที่ผมทำงานด้านการเงินมา ประเด็นนี้มันก็กลายเป็นเรื่องเล็ก เพราะประเด็นทุกวันนี้ มันอยู่ที่เรื่องความโปร่งใส บริหารความเสี่ยงดีหรือเปล่า มากกว่าว่าคนนี้นามสกุลอะไร"

นั่น เป็นมุมมองของ "บัณฑูร ล่ำซำ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ทายาท "ล่ำซำ" ที่ดูแลแบงก์รวงข้าว เป็น รุ่นที่ 5 สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและเข้ามากระทบ ธุรกิจของครอบครัว ดังนั้น ทุกการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ทั้งในระดับธุรกิจและเศรษฐกิจประเทศ จะได้เห็นการปรับตัวของเครือธนาคารกสิกรไทยอยู่เสมอ

"สไตล์" การบริหารธุรกิจแบบปรับตัว เพื่อให้รับกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ถือเป็นกลยุทธ์ของ "ล่ำซำ" มาแต่ไหนแต่ไร

แต่ เดิม ธุรกิจของตระกูลล่ำซำ สร้างธุรกิจมาในแบบฉบับธุรกิจครอบครัว เฉกเช่นเดียวกับตระกูลอื่น แต่เมื่อเกิดกระแสการไหลเข้าของธุรกิจและทุน ต่างชาติ ก็ปรับตัวให้สอดคล้อง ด้วยการเปิดทางให้ "ฝรั่ง" เข้ามาร่วมทุนและนั่งบริหาร เพราะนอกจากทุนแล้ว นั่นคือแนวทางการเปิดรับองค์ความรู้ (know how) และเทคโนโลยีที่อีกซีกโลกใช้ทำธุรกิจ

การเดินกลยุทธ์เช่นที่กล่าว มีให้เห็น ตั้งแต่อดีต ที่ "ล่ำซำ" ทำธุรกิจค้าข้าวร่วมกับพันธมิตรจากอังกฤษ อันเป็นที่มาของการก่อตั้งล็อกซเล่ย์ไรซ์ ถึงยุคที่ตระกูลเริ่มก่อตั้งธุรกิจประกันอย่าง "เมืองไทยประกันชีวิต" ที่เติบโตมาดังที่เห็นในปัจจุบัน ก็เป็นผลจากการตัดสินใจเลือก "กลุ่มฟอร์ทิส" เข้าร่วมแชร์ ทั้งเทคโนโลยีและ know how

อย่างไรก็ตาม ระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่น่าสนใจของการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มล่ำซำ

ภาย หลังการแยกกันแบบ "ต่างคน ต่างโต" ในหลายสิบปีที่ผ่านมาของธุรกิจการเงินในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นภัทรประกันภัย เมืองไทยประกันภัย เมืองไทยประกันชีวิต และธนาคารกสิกรไทย ทั้งหมดกำลังกลับมารวมตัวกันเป็นรูปธรรมอีกครั้ง นับตั้งแต่ควบรวมระหว่างภัทรประกันภัยกับเมืองไทยประกันภัย (บริษัทใหม่ชื่อเมืองไทยประกันภัย) และล่าสุดธนาคารกสิกรไทยก็ได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นจาก 10% เป็น 51% ในบริษัทเมืองไทยกรุ๊ปโฮลดิ้ง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต

บัณฑูรเล่าถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน มุมมองก็ต้องเปลี่ยนไป เดิมธนาคารกับประกันก่อตั้งโดยคนของ ล่ำซำ แต่ต้องแยกกันไป เพราะธนาคารโตเร็วตามเศรษฐกิจ ขณะที่ประกันโตช้า เพราะทัศนคติต่อประกันของคนไทยยังไม่ดี แต่เมื่อความเชื่อของลูกค้าเปลี่ยน ทั้ง 2 ธุรกิจจึงต้องเชื่อมเข้าหากัน กลายเป็นตลาดเดียวกัน เพราะลูกค้ามีความต้องการทั้งการลงทุนและป้องกันความเสี่ยงพร้อมกัน

"จริง ๆ การขายหุ้นให้แบงก์ ก็เท่ากับขายให้คนนอก เพราะล่ำซำไม่ได้ถือหุ้นแบงก์มากขนาดนั้น แต่ต่อจากนี้ไป ประกันต้องพึ่งช่องทางของแบงก์ เขามองกันแล้วว่า การควบรวมเข้ากับเครือข่ายแบงก์ ส่วนที่เหลืออยู่ของล่ำซำจะได้ประโยชน์มากกว่า พลังการขยายธุรกิจสูงขึ้นกว่าเดิม จริง ๆ นักลงทุนสถาบันเขาเพ่งเล็งกันมากว่า นี่ซูเอี๋ยกันเองไหม เอาเงินของแบงก์ไปซื้อหุ้นประกันของพวกตัวเองราคาแพง ๆ หรือเปล่า ดังนั้น การเจรจาต่าง ๆ ผมถึงไม่เกี่ยวข้องเลย ให้ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทยกับคณะกรรมการอิสระเท่านั้นเจรจา"

หลัง จากดีลการเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นในเมืองไทยโฮลดิ้งของธนาคารกสิกรไทย มุมมองของบัณฑูรยังสะท้อนให้เห็นว่า ต่อจากนี้ไป ธุรกิจของ "ล่ำซำ" คงแบ่งให้คนอื่นมาแชร์น้อยลง โดยบัณฑูรกล่าวว่า "ตอนนี้ธนาคารกสิกรไทยถือหุ้นในบริษัทในเครือทั้ง 100% และจะยังไม่เปลี่ยนไปจากโมเดลนี้ เพราะไม่จำเป็นต้องแบ่งให้ใคร"

การ รุกคืบที่ได้เห็นจากอดีตและคงอยู่ จนปัจจุบัน คือการยอมเปิดรับทุน, เทคโนโลยี, know how และให้มืออาชีพจากภายนอกเข้ามาบริหาร จึงเป็นโมเดล ธุรกิจครอบครัวที่ไม่มีใครเหมือน และแม้ความเป็นจริง ทุกวันนี้ "ล่ำซำ" ไม่ได้ ถือหุ้นใหญ่ในบางธุรกิจ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในเชิงสัญลักษณ์นั้น ความยิ่งใหญ่ของ "ล่ำซำ" ไม่ได้เสื่อมคลายหายไปไหน

view