สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เจ้าสัวซีพีชี้หมดยุคปลาใหญ่กินปลาเล็ก เข้าสู่ ยุคปลาเร็วกินปลาช้า

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เจ้าสัวซีพีปรับ โมเดลธุรกิจค้าปลีกในจีน เป็นเทรดดิ้งมอลล์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนขนาดใหญ่ ย้ำแนวคิดปลาเร็วกินปลาช้า หมดสมัยปลาใหญ่กินปลาเล็ก

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กล่าวว่า บริษัท เจียไต๋ เอ็นเตอร์ไพรส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (CTEI) ในเครือซีพี ซึ่งดำเนินธุรกิจค้าปลีก โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศจีน จะปรับแผนรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว

"การทำธุรกิจจะอยู่รอดหรือไม่ อยู่ที่คน อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศจีนดีอยู่แล้ว แต่ธุรกิจจะดีหรือไม่อยู่ที่คน ต้องได้คนเก่งๆ มาบริหาร ซึ่งสำคัญที่สุด ส่วนเรื่องเงินเป็นประเด็นรองลงมา เนื่องจากธุรกิจของซีพี จะทำไม่เหมือนใคร เป็นธุรกิจที่ผสมผสานกันระหว่างอเมริกา ยุโรป เอเชียและจีน เพราะถ้าตามหลังเค้า เราก็แพ้เค้า เราชำนาญอะไร เค้าชำนาญอะไรก็ผสมกัน เราตั้งเป้า 20 ปีจะไปถึง 1 พันสาขา จากปัจจุบันมีทั้งสิ้น 77 สาขา กระจายทั่วประเทศจีน" นายธนินท์กล่าว

เขากล่าวว่า ในแง่โมเดลธุรกิจ ก็จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ด้วย โดยจะไม่ทำเฉพาะซูเปอร์เซ็นเตอร์อย่างเดียว เพราะมีต้นทุนที่แพงเกินไป การที่จะหาที่ดินที่ดีๆ เพื่อทำซูเปอร์ไม่ได้แล้ว ดังนั้น จะปรับเปลี่ยนโมเดลใหม่ ทำเป็นซูเปอร์แบรนด์ มอลล์ ซึ่งจะปรับให้สอดคล้องกับพื้นที่ 3 ขนาด ตั้งแต่ 2 หมื่นตารางเมตร 1 แสนตารางเมตร และ 2 แสนตารางเมตร โดยถ้าเป็นที่ดินเล็กก็ทำเล็ก ที่ดินขนาดกลางก็ทำกลาง ที่ดินใหญ่ก็ทำใหญ่ แต่คอนเซปต์ คือ จะทำครบหรือมีครบทุกอย่าง จะครอบคลุมประชากรทุกฐานะ โดยจะมีสินค้าหรูหราขายด้วย ไม่ได้ขายของถูกอย่างเดียว รูปแบบธุรกิจจะขึ้นอยู่กับที่ดินที่เราได้ครอบครองด้วย

นายธนินท์อธิบายว่า ซีพีได้ ร่างแผนธุรกิจรูปแบบเดียว เพื่อสนับสนุนแผนลงทุนของกลุ่มในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำเร็จในการสร้างซูเปอร์แบรนด์ มอลล์ ซึ่งเป็นชอปปิงมอลล์ในเซี่ยงไฮ้ ที่จะไม่ได้มีเรื่องของขนาดที่ใหญ่อย่างที่เป็นอยู่เข้ามาเกี่ยวข้องเพียง อย่างเดียวเท่านั้น แต่จะมีความยืดหยุ่นในรูปแบบพื้นที่ทั้งขนาดใหญ่ กลางและเล็กมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับต้นทุนที่ดิน และความต้องการของพื้นที่มีศักยภาพแต่ละแห่ง

นอกจากนี้ ในเรื่องของการบริหารจัดการ ถ้าเป็นดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จะจ้างนักบริหารรุ่นใหม่ จากญี่ปุ่นบริหารธุรกิจ เพราะญี่ปุ่นจะเก่งเรื่องดีพาร์ทเมนท์สโตร์ แต่หากเป็นเทรดมอลล์จะเอาซีอีโอจากอเมริกามา เพราะเขาเข้าใจธุรกิจมอลล์ โดยจะใช้ดิจิทัลมาช่วยบริหารมอลล์

เล็งเปิด 'ดิจิทัล อควาเรียม'

ซีพี กรุ๊ปยังวางแผนที่จะตั้งดิจิทัล อควาเรียม ในเมืองกวางโจว ที่มีเนื้อที่ครอบคลุม 1 แสนตารางเมตร แต่นายธนินท์ไม่ได้เปิดเผยถึงการลงทุนส่วนนี้ นอกจากกล่าวว่า ดิจิทัล อควาเรียม ต้องเป็นการลงทุนขนาดเล็กที่ปรับเปลี่ยนได้ง่าย ซึ่งดิจิทัล อควาเรียม เคยสร้างมาแล้วในสิงคโปร์กับญี่ปุ่น และดิจิทัล อควาเรียม สามารถนำเสนอพัฒนาการจริงของพืชมีชีวิตและสัตว์ใต้น้ำ พร้อมยกตัวอย่างบรรดาผู้เข้าเยี่ยมสามารถจะเห็นปลาเจริญเติบโตในอควาเรียม

เขากล่าวว่า การทำธุรกิจขนาดใหญ่อย่างวอลมาร์ท ปรับตัวได้ช้า ธุรกิจสมัยใหม่หรือโมเดลธุรกิจใหม่ต้องปรับตัวให้เร็ว โดยเฉพาะเดี๋ยวนี้คอนเซปต์ทำธุรกิจจะต้องเป็นลักษณะปลาเร็วกินปลาช้า ไม่ใช่ปลาใหญ่กินปลาเล็กแล้ว ทุกอย่างต้องปรับตัวเร็ว ธุรกิจเอสเอ็มอีจะปรับตัวเร็ว ดังนั้น รูปแบบค้าปลีกที่ปรับใหม่เป็นเทรดมอลล์ จะใช้พื้นที่ทำซูเปอร์น้อยลง แต่พื้นที่จะเปิดให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กเช่า โดยจะเลือกผู้เช่า หรือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สามารถบริหารธุรกิจได้ดีมีกำไร ก็จะแบ่งกำไรกัน เพื่อจูงใจให้เอสเอ็มอี แต่หากเอสเอ็มอีไหนบริหารแล้วขาดทุน ก็จะเปลี่ยนผู้เช่าทันที

ปรับรูปแบบดันยอดขายพุ่ง
 "ธุรกิจของเรากำไรดี แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะไม่ดี เพราะเราปรับรูปแบบการทำธุรกิจเป็นแบบผสมผสานกัน เราปรับมา 2 ปีแล้ว ปรับเมื่อไร ยอดขายก็พุ่งขึ้น "นายธนินท์ กล่าวและย้ำว่า สถานที่เป็นสิ่งสำคัญ ต้องหาให้ได้เหมาะสมกับรูปแบบ โดยจะทำทั้งมอลล์ ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ และซูเปอร์มาร์เก็ต  เนื่องจากหากเปิดเป็นเทรดดิ้งมอลล์ จะใช้คนน้อยลงถึง 3 เท่า จากที่เปิดเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตอย่างเดียว โดยหากเราเปิดซูเปอร์ 1 พันแห่ง เหมือนอย่างวอลมาร์ท สหรัฐ ต้องใช้คนถึง 3 แสนคน แต่หากเปิดเป็นมอลล์ เราใช้พลังของเถ้าแก่ หรือพวกเอสเอ็มอี ยกตัวอย่างไซส์ 2 หมื่นตารางเมตร เราใช้แค่ 6 พันตารางเมตร ที่เหลือให้เถ้าแก่เช่า ทำให้ต้นทุนถูกลงไปมาก

ทั้งนี้ เขามองเศรษฐกิจจีนมีศักยภาพอย่างมากที่จะเติบโต และซีพีได้ แบ่งกลุ่มลูกค้าในจีนออกเป็น 4 กลุ่ม คือ รายได้ต่ำ แม่บ้าน กำลังซื้อสูง และกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ กลุ่มลูกค้าเหล่านี้มีพฤติกรรมการบริโภคแตกต่างกัน ซึ่งซีพีต้องเข้าให้ถึงความต้องการของลูกค้าเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม ในจีนก็มีผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กอยู่มากมาย ที่มีความคล่องตัวมากและกำลังหาโอกาสทางธุรกิจ กลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้ สามารถผันตัวเองขึ้นมาเป็นพันธมิตรธุรกิจของกลุ่มได้ ด้วยการเปิดชอปปิงมอลล์หรือซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่งจะพอใจกับค่าเช่าที่เป็นธรรม และการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน ด้วยแนวทางนี้ กลุ่มซีพีสามารถจะคัดเลือกผู้ประกอบการมีประสิทธิภาพเพื่อการขายสินค้า

ไม่ห่วงฟองสบู่ในจีน

ส่วนที่มีความเป็นห่วงกันว่าเศรษฐกิจของประเทศจีน อาจจะเกิดภาวะฟองสบู่หรือไม่นั้น นายธนินท์มองว่า เขาไม่ห่วงและมั่นใจว่าเศรษฐกิจจีนจะเกิดฟองสบู่ เพราะราคาที่ดินยังถูกมาก เมื่อเทียบกับฮ่องกง ยกเว้นที่เซี่ยงไฮ้ เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรยังถูก ทำให้คนยังมีรายได้ต่ำ ประชากรอีก 70 ล้านคน ยังต้องการที่อยู่อาศัย

นายธนินท์ กล่าวว่า ในส่วนของธุรกิจมอเตอร์ไซค์ ซึ่งปัจจุบันมียอดขายเติบโตมากยอดขาย 1.5 ล้านคันต่อปี และมีกำไรดี เพราะขายเป็นเงินสด ซึ่งเครือซีพีตั้งเป้าไว้ว่าภายใน 2-3 ปีข้างหน้ายอดขายจะถึง 3 ล้านคัน

ทั้งนี้ ธุรกิจซีพีในประเทศจีนถือว่าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งนายธนินท์ ระบุว่า ในปีที่ผ่านมา กลุ่มซีพีสามารถ ทำยอดขายได้สูงที่สุดในประเทศจีน หากวัดจากนักธุรกิจจีนโพ้นทะเลที่ไปลงทุนในประเทศจีน โดยเร็วๆ นี้ ทางรัฐบาลจีนจะมอบรางวัลให้กับกลุ่มซีพีด้วย

นอกจากนี้ กลุ่มซีพียังมีแผนที่จะนำบริษัทเจียไต๋ อาหารสัตว์ หรือซีพีพี เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงด้วย โดยคาดว่าจะสามารถขายหุ้นได้ในเดือน ก.พ. 2553


ธนินท์ย้ำแนวคิดปลาเร็วกินปลาช้า ปรับโมเดลค้าปลีกในจีน

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"ธนินท์" ตอกย้ำแนวคิดปลาเร็วกินปลาช้า หมดสมัยปลาใหญ่กินปลาเล็ก ปรับโมเดลธุรกิจค้าปลีกในจีนใหม่ เป็นเทรดดิ้งมอลล์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กล่าวว่า บริษัท เจียไต๋ เอ็นเตอร์ไพรส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (CTEI) ในเครือซีพี ซึ่งดำเนินธุรกิจค้าปลีก โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศจีน จะปรับแผนรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว

"การทำธุรกิจจะอยู่รอดหรือไม่ อยู่ที่คน อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศจีนดีอยู่แล้ว แต่ธุรกิจจะดีหรือไม่อยู่ที่คน ต้องได้คนเก่งๆ มาบริหาร ซึ่งสำคัญที่สุด ส่วนเรื่องเงินเป็นประเด็นรองลงมา เนื่องจากธุรกิจของซีพี จะทำไม่เหมือนใคร เป็นธุรกิจที่ผสมผสานกันระหว่างอเมริกา ยุโรป เอเชียและจีน เพราะถ้าตามหลังเค้า เราก็แพ้เค้า เราชำนาญอะไร เค้าชำนาญอะไรก็ผสมกัน เราตั้งเป้า 20 ปีจะไปถึง 1 พันสาขา จากปัจจุบันมีทั้งสิ้น 77 สาขา กระจายทั่วประเทศจีน" นายธนินท์กล่าว

เขากล่าวว่า ในแง่โมเดลธุรกิจ ก็จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ด้วย โดยจะไม่ทำเฉพาะซูเปอร์เซ็นเตอร์อย่างเดียว เพราะมีต้นทุนที่แพงเกินไป การที่จะหาที่ดินที่ดีๆ เพื่อทำซูเปอร์ไม่ได้แล้ว ดังนั้น จะปรับเปลี่ยนโมเดลใหม่ ทำเป็นซูเปอร์แบรนด์ มอลล์ ซึ่งจะปรับให้สอดคล้องกับพื้นที่ 3 ขนาด ตั้งแต่ 2 หมื่นตารางเมตร 1 แสนตารางเมตร และ 2 แสนตารางเมตร โดยถ้าเป็นที่ดินเล็กก็ทำเล็ก ที่ดินขนาดกลางก็ทำกลาง ที่ดินใหญ่ก็ทำใหญ่ แต่คอนเซปต์ คือ จะทำครบหรือมีครบทุกอย่าง จะครอบคลุมประชากรทุกฐานะ โดยจะมีสินค้าหรูหราขายด้วย ไม่ได้ขายของถูกอย่างเดียว รูปแบบธุรกิจจะขึ้นอยู่กับที่ดินที่เราได้ครอบครองด้วย

นายธนินท์อธิบายว่า ซีพีได้ร่างแผนธุรกิจรูปแบบเดียว เพื่อสนับสนุนแผนลงทุนของกลุ่มในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสำเร็จในการสร้างซูเปอร์แบรนด์ มอลล์ ซึ่งเป็นชอปปิงมอลล์ในเซี่ยงไฮ้ ที่จะไม่ได้มีเรื่องของขนาดที่ใหญ่อย่างที่เป็นอยู่เข้ามาเกี่ยวข้องเพียง อย่างเดียวเท่านั้น แต่จะมีความยืดหยุ่นในรูปแบบพื้นที่ทั้งขนาดใหญ่ กลางและเล็กมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับต้นทุนที่ดิน และความต้องการของพื้นที่มีศักยภาพแต่ละแห่ง

นอกจากนี้ ในเรื่องของการบริหารจัดการ ถ้าเป็นดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จะจ้างนักบริหารรุ่นใหม่ จากญี่ปุ่นบริหารธุรกิจ เพราะญี่ปุ่นจะเก่งเรื่องดีพาร์ทเมนท์สโตร์ แต่หากเป็นเทรดมอลล์จะเอาซีอีโอจากอเมริกามา เพราะเขาเข้าใจธุรกิจมอลล์ โดยจะใช้ดิจิทัลมาช่วยบริหารมอลล์

เล็งเปิด 'ดิจิทัล อควาเรียม'

ซีพี กรุ๊ปยังวางแผนที่จะตั้งดิจิทัล อควาเรียม ในเมืองกวางโจว ที่มีเนื้อที่ครอบคลุม 1 แสนตารางเมตร แต่นายธนินท์ไม่ได้เปิดเผยถึงการลงทุนส่วนนี้ นอกจากกล่าวว่า ดิจิทัล อควาเรียม ต้องเป็นการลงทุนขนาดเล็กที่ปรับเปลี่ยนได้ง่าย ซึ่งดิจิทัล อควาเรียม เคยสร้างมาแล้วในสิงคโปร์กับญี่ปุ่น และดิจิทัล อควาเรียม สามารถนำเสนอพัฒนาการจริงของพืชมีชีวิตและสัตว์ใต้น้ำ พร้อมยกตัวอย่างบรรดาผู้เข้าเยี่ยมสามารถจะเห็นปลาเจริญเติบโตในอควาเรียม

เขากล่าวว่า การทำธุรกิจขนาดใหญ่อย่างวอลมาร์ท ปรับตัวได้ช้า ธุรกิจสมัยใหม่หรือโมเดลธุรกิจใหม่ต้องปรับตัวให้เร็ว โดยเฉพาะเดี๋ยวนี้คอนเซปต์ทำธุรกิจจะต้องเป็นลักษณะปลาเร็วกินปลาช้า ไม่ใช่ปลาใหญ่กินปลาเล็กแล้ว ทุกอย่างต้องปรับตัวเร็ว ธุรกิจเอสเอ็มอีจะปรับตัวเร็ว ดังนั้น รูปแบบค้าปลีกที่ปรับใหม่เป็นเทรดมอลล์ จะใช้พื้นที่ทำซูเปอร์น้อยลง แต่พื้นที่จะเปิดให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กเช่า โดยจะเลือกผู้เช่า หรือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่สามารถบริหารธุรกิจได้ดีมีกำไร ก็จะแบ่งกำไรกัน เพื่อจูงใจให้เอสเอ็มอี แต่หากเอสเอ็มอีไหนบริหารแล้วขาดทุน ก็จะเปลี่ยนผู้เช่าทันที


ปรับรูปแบบดันยอดขายพุ่ง

"ธุรกิจของเรากำไรดี แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะไม่ดี เพราะเราปรับรูปแบบการทำธุรกิจเป็นแบบผสมผสานกัน เราปรับมา 2 ปีแล้ว ปรับเมื่อไร ยอดขายก็พุ่งขึ้น "นายธนินท์ กล่าวและย้ำว่า สถานที่เป็นสิ่งสำคัญ ต้องหาให้ได้เหมาะสมกับรูปแบบ โดยจะทำทั้งมอลล์ ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ และซูเปอร์มาร์เก็ต  เนื่องจากหากเปิดเป็นเทรดดิ้งมอลล์ จะใช้คนน้อยลงถึง 3 เท่า จากที่เปิดเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตอย่างเดียว โดยหากเราเปิดซูเปอร์ 1 พันแห่ง เหมือนอย่างวอลมาร์ท สหรัฐ ต้องใช้คนถึง 3 แสนคน แต่หากเปิดเป็นมอลล์ เราใช้พลังของเถ้าแก่ หรือพวกเอสเอ็มอี ยกตัวอย่างไซส์ 2 หมื่นตารางเมตร เราใช้แค่ 6 พันตารางเมตร ที่เหลือให้เถ้าแก่เช่า ทำให้ต้นทุนถูกลงไปมาก

ทั้งนี้ เขามองเศรษฐกิจจีนมีศักยภาพอย่างมากที่จะเติบโต และซีพีได้แบ่งกลุ่มลูกค้าในจีนออกเป็น 4 กลุ่ม คือ รายได้ต่ำ แม่บ้าน กำลังซื้อสูง และกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ กลุ่มลูกค้าเหล่านี้มีพฤติกรรมการบริโภคแตกต่างกัน ซึ่งซีพีต้องเข้าให้ถึงความต้องการของลูกค้าเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม ในจีนก็มีผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กอยู่มากมาย ที่มีความคล่องตัวมากและกำลังหาโอกาสทางธุรกิจ กลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้ สามารถผันตัวเองขึ้นมาเป็นพันธมิตรธุรกิจของกลุ่มได้ ด้วยการเปิดชอปปิงมอลล์หรือซูเปอร์เซ็นเตอร์ ซึ่งจะพอใจกับค่าเช่าที่เป็นธรรม และการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน ด้วยแนวทางนี้ กลุ่มซีพีสามารถจะคัดเลือกผู้ประกอบการมีประสิทธิภาพเพื่อการขายสินค้า

ไม่ห่วงฟองสบู่ในจีน

ส่วนที่มีความเป็นห่วงกันว่าเศรษฐกิจของประเทศจีน อาจจะเกิดภาวะฟองสบู่หรือไม่นั้น นายธนินท์มองว่า เขาไม่ห่วงและมั่นใจว่าเศรษฐกิจจีนจะเกิดฟองสบู่ เพราะราคาที่ดินยังถูกมาก เมื่อเทียบกับฮ่องกง ยกเว้นที่เซี่ยงไฮ้ เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรยังถูก ทำให้คนยังมีรายได้ต่ำ ประชากรอีก 70 ล้านคน ยังต้องการที่อยู่อาศัย

นายธนินท์ กล่าวว่า ในส่วนของธุรกิจมอเตอร์ไซค์ ซึ่งปัจจุบันมียอดขายเติบโตมากยอดขาย 1.5 ล้านคันต่อปี และมีกำไรดี เพราะขายเป็นเงินสด ซึ่งเครือซีพีตั้งเป้าไว้ว่าภายใน 2-3 ปีข้างหน้ายอดขายจะถึง 3 ล้านคัน

view