การประเมินราคาทรัพย์สิน(2)
อรัญญา กาญจนพิพัฒน์กุล
ผู้เชี่ยวชาญด้านประเมินราคาทรัพย์สิน
สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์
2. หลักพื้นฐานในการกำหนดมูลค่าทรัพย์สิน
การกำหนดมูลค่าทรัพย์สินจะต้องเข้าใจหลักพื้นฐานของมูลค่า มูลค่าทรัพย์สินจะถูกกำหนดโดยคน ภายใต้หลักพื้นฐานหรือกฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง มูลค่าเกิดจากความพึงพอใจที่สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลที่ได้รับจากการใช้ทรัพย์สินนั้นๆ เกิดจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทาน ความไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ทรัพย์สินมีแนวโน้มสูงขึ้น
มูลค่าสามารถพิจารณาได้สองลักษณะ คือมูลค่าในการใช้หมายถึงมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถประเมินออกมาในรูปของความพอใจที่ให้แก่ผู้ใช้ เช่นความน่าอยู่ หรือรายได้อันเกิดจากอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ อีกความหมายหนึ่งคือ มูลค่าในการแลกเปลี่ยน หมายถึงมูลค่าทางการเงินหรืออำนาจซื้อที่เกิดจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือเรียกว่ามูลค่าตลาด(market value) ซึ่งไม่ใช่ราคาตลาด(marketPrice) ราคาตลาดหมายถึงราคาซื้อขายที่เกิดจากความสามารถในการต่อรองราคาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ตลอดจนปัจจัยอื่นที่ทำให้ราคาตลาดอาจมากกว่าหรือน้อยกว่า หรือเท่ากับมูลค่าตลาด ดังนั้นราคาที่เป็นธรรมจะเป็นราคาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับมูลค่าทรัพย์สิน ดังนั้นหลักพื้นฐานในการกำหนดมูลค่าจะพิจารณาจากเหตุเหล่านี้
หลักพื้นฐานในการกำหนดมูลค่าทรัพย์สิน
- หลักการคาดคะเน (anticipation)
- หลักการเปลี่ยนแปลง (change)
- หลักความสมดุล (balance)
- หลักการแข่งขัน (competition)
- หลักความสอดคล้อง (comformity)
- หลักการใช้ประโยชน์ตามสภาพ (consistent use)
หลักพื้นฐานในการกำหนดมูลค่าทรัพย์สิน
- หลักการสนับสนุนหรือการเกื้อกูล (contribution)
- หลักผลตอบแทนเพิ่มขึ้นและลดลง (increasing and decreasing return)
- หลักการทดแทน(substitution)
- หลักอุปสงค์และอุปทาน(demand and supply)
ความคิดเห็น