จากประชาชาติธุรกิจ
วิกฤตการณ์เศรษฐกิจในยุคปัจจุบันมีสาเหตุหลักมาจากการก่อหนี้ที่มากเกินไป ไม่ว่าหนี้เหล่านั้นจะเป็นหนี้ภาครัฐบาลหรือหนี้ภาคเอกชน
นี่เป็นปรากฏการณ์ที่แตกต่างกับความเชื่อ
ใน ยุคก่อนๆ มาก เพราะในยุคก่อนๆ นั้น เรามักเชื่อกันว่าการก่อหนี้จะช่วยให้เศรษฐกิจพัฒนาก้าวหน้าไปได้ การกระตุ้นทางเศรษฐกิจซึ่งอาศัยการลงทุนและการบริโภค รัฐบาลก็อาจต้องก่อหนี้จึงจะช่วยให้งบประมาณรายจ่ายสามารถมีมากกว่างบประมาณ รายรับได้
แม้ในปัจจุบัน ผู้ที่มีอิทธิพลทางนโยบายจำนวนมากก็ยังเชื่อกันว่าการกระตุ้นอุปสงค์รวมต้อง มีการเพิ่มสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจหรือลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้ประชาชนก่อ หนี้ได้มากๆ
อย่างไรก็ตาม เราจะสังเกตเห็นว่าการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกรอบปัจจุบันที่
เริ่ม ต้นที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ.2551 แล้วระบาดไปทั่วยุโรปนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก การดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่นักเศรษฐศาสตร์สนับสนุนก็ไม่ประสบผลสำเร็จ การดำเนินนโยบายการเงินก็ไม่สำเร็จเท่ายุคก่อนๆ
ที่จริงแล้ว ขีดจำกัดสำคัญของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบสูตรสำเร็จเหล่านี้มาจากปัญหา หนี้สินที่รุนแรงยิ่งขึ้นทุกเม็ดเงินที่นำไปกระตุ้น
การเพิ่มรายจ่ายของระบบเศรษฐกิจกลับเป็นการเพิ่มหนี้ในขณะเดียวกันด้วย
การกระตุ้นทางการคลังทำให้การขาดดุล
งบ ประมาณพอกพูนและนำไปสู่ปัญหาหนี้สาธารณะ ส่วนนโยบายการเงินแบบขยายตัว เช่น นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำมิได้ช่วยให้ภาคธุรกิจเพิ่มการลงทุนเพราะมีการลงทุน ล้นเกินอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤต ส่วนประชาชนทั่วไปซึ่งมักมองอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำผิดปกติในแง่ดีก็นำสภาพ คล่องที่หาง่ายไปใช้กับการบริโภคที่ไม่สร้างรายได้ให้ในอนาคต สักระยะหนึ่งก็กลายเป็นปัญหาหนี้
ครัวเรือนที่จะเป็นภาระต้องชดใช้ ทำให้เศรษฐกิจในอนาคตฟื้นตัวได้อย่างลำบากเพราะประชาชนต้องบีบรัดการใช้จ่าย
ในบรรดาหนี้ประเภทต่างๆ หนี้ครัวเรือนเป็นหนี้ประเภทใหม่ที่น่ากังวลที่สุดเพราะครัวเรือนมัก
หลง ทางกับตัวแปรบางตัว เช่น อัตราดอกเบี้ยและรายจ่ายของรัฐที่ไม่ยั่งยืนได้ง่าย มีความสามารถในการวิเคราะห์เศรษฐกิจน้อยและเป็นเหยื่อของนโยบายการกระตุ้น เศรษฐกิจในยามที่ไม่น่าจับจ่ายใช้สอยมากที่สุด ไม่เหมือนภาคธุรกิจที่มีความ
ครบถ้วนทางข้อมูลและมีสายตาที่ยาวไกลกว่า
ดัง นั้น นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะวิกฤตการณ์ที่ประเทศที่ประสบปัญหามีหนี้สิน มากอยู่แล้วจึงขาดประสิทธิภาพและทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวด เร็วไม่ได้
การกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินการคลังกลับทำให้เศรษฐกิจ เสี่ยงยิ่งขึ้นในขณะที่มาตรการรัดเข็มขัดก็ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวรุนแรงยิ่ง ขึ้น ซึ่งนำไปสู่มีข้อโจมตีว่าแนวทางการวิเคราะห์ของนิวเคนส์เซียนและนิวคลาสสิก ที่มีอิทธิพลอยู่อย่างยาวนานนั้นล้มเหลวในการให้แนวทางการแก้ไขวิกฤต เศรษฐกิจแบบใหม่และควรที่จะได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง มิให้ ?ตัน? เหมือนอย่างทุกวันนี้
เมื่อพิจารณาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจใน ปัจจุบัน ขนาดของความรุนแรงนั้นนับว่าเป็นที่สองรองจากวิกฤตสมัยเศรษฐกิจตกต่ำครั้ง ใหญ่แห่งทศวรรษ 1930 (The Great Depression) โดยมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการถดถอยอีกครั้ง (Double dip recession) คล้ายๆ กับที่เคยเกิดขึ้นในช่วงท้ายของทศวรรษ 1930
การถดถอยรอบสอง นี้ส่วนสำคัญมาจากขนาดของหนี้ภาคครัวเรือนที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทาง เศรษฐกิจ หลายประเทศที่มีหนี้สาธารณะและหนี้ภาคธุรกิจสูงอยู่แล้วจำต้องหวังพึ่งการ ใช้จ่ายของภาคครัวเรือน แต่เมื่อถึงจุดที่หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับที่สูงมากแล้ว การถดถอยอีกรอบสองจึงมีความชัดเจนขึ้น
ในยุโรป หลายประเทศมีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจรอบสอง เศรษฐกิจของอังกฤษและสเปนเติบโตติดลบแล้วสองไตรมาสติดต่อกันในขณะที่ โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก สโลเวเนีย รวมทั้งกรีซเจ้าเก่ากำลังอยู่ในภาวะถดถอย
ถ้าไม่นับกรีซ ซึ่งไม่ปรากฏตัวเลข ประเทศเหล่านี้ล้วนมีหนี้ภาคครัวเรือนสูงทั้งสิ้น (ไม่เหมือนประเทศในแถบเอเชียที่ระดับการพัฒนาทางวัตถุยังไม่สูงเท่า) การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจึงเสี่ยงต่อภาวะถดถอยอีก ซึ่งอีกระยะหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อไปยังการค้าการผลิตในสหรัฐและแคนาดา
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่เข้าสู่วิกฤตจากสาเหตุส่วนหนึ่งเพราะหนี้ภาคครัวเรือนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วตามนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ขอ งกรีนสแปน ในขณะนี้สัดส่วนของหนี้ครัวเรือนต่อรายได้เริ่มผ่อนคลายความรุนแรงลง ดังนั้น จึงต้องพิจารณาต่อไปว่าความเป็นไปได้ของวิกฤตรอบสองในยุโรปจะเป็นอุปสรรคต่อ การฟื้นตัวมากน้อยเพียงใด ถ้าเผชิญวิกฤตรอบสองก็จะเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ซ้ำรอยสมัยภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำเมื่อทศวรรษ 1930
ออสเตรเลียและแคนาดาเป็นประเทศที่สัด ส่วนของหนี้ครัวเรือนได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและโครงสร้างความอ่อนแอนี้จะทำ ให้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตรอบสองได้ง่าย
สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกยังนับว่าระดับของหนี้ภาคครัวเรือนยังไม่เป็นอุปสรรคมากนักเนื่องจากฐานะ การครองชีพของหลายประเทศยังไม่สูง ประเทศที่มีหนี้ครัวเรือนสูงได้แก่มาเลเซีย เกาหลี และสิงคโปร์ ส่วนไทยสัดส่วนของหนี้ครัวเรือนอยู่ยัง ในระดับปานกลางใกล้เคียงกับอินโดนีเซียแต่ยังสูงกว่าสัดส่วนก่อนเกิดวิกฤตปี พ.ศ.2540 ในขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนในจีนอยู่ในระดับที่ต่ำ
อย่าง ไรก็ตาม ถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกรอบสองขึ้นและมีความรุนแรงต่อภูมิภาคเอเชีย ภาพเหล่านี้ก็อาจจะเปลี่ยนไปเพราะเป็นภูมิภาคที่อาศัยรายได้จากการค้า ระหว่างประเทศที่จะซบเซาลง
ภายใต้ความรุนแรงของวิกฤตรอบสองที่อาจสร้างปัญหาเศรษฐกิจให้ซบเซายาวนานออกไป ไทย
จะมีความเสี่ยงจากหนี้ภาครัฐรวมทั้งหนี้ใน
ภาค การธนาคารซึ่งรวมถึงหนี้ภาคครัวเรือนโดยที่การเติบโตทางเศรษฐกิจและความ สามารถทางการแข่งขันค่อนข้างรั้งท้ายในภูมิภาค จึงมิได้ปลอดภัยนัก
ส่วนจีนซึ่งเป็นพลังหลักของภูมิภาคนับว่าปลอดภัย
ที่สุดเพราะมีหนี้ภาครัฐและหนี้ภาคครัวเรือนที่ต่ำ
ความน่าเป็นห่วงอาจมีอยู่บ้างตรงที่มีหนี้ภาคธุรกิจที่ค่อนข้างใหญ่
คําถามสำคัญคือเราจะมีแนวทางเศรษฐกิจอย่างไรจึงจะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากหนี้ภาคครัวเรือนได้
ประการ แรก เราคงต้องทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจว่าการฟื้นตัว ทางเศรษฐกิจนั้นต้องมาจากการตัดสินใจของภาคธุรกิจขนาดย่อมและภาคครัวเรือน ที่สามารถเพิ่มยอดขายหรือการตลาดของตนได้ ไม่ใช่การตัดสินใจ
ทางการเงินที่เพียงแค่ระดมเงินทุนจากการกู้ยืมแทนการใช้แหล่งเงินของตนเอง การกู้ยืมที่มากขึ้น
อาจไม่ช่วยให้มีรายได้มากขึ้นถ้าหากการลงทุนหรือการใช้จ่ายนั้นไม่ทำให้ธุรกิจแข่งขันได้เมื่อเทียบกับคู่แข่งอื่นๆ
ประการ ที่สอง เราต้องหลีกเลี่ยงนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำผิดปกตินานเกินไปเพราะเป็น ปัจจัยที่ทำให้ภาคครัวเรือนรู้สึกว่าได้รับโอกาสในการกู้ยืมด้วยต้นทุนต่ำ พิเศษแม้ว่าโครงการที่จะใช้จ่ายนั้นอาจยังไม่ถึงเวลาหรือคุ้มค่านัก ภาคธุรกิจขนาดใหญ่จะไม่มีปัญหานี้เนื่องจากมีโอกาสทางการตลาดและอำนาจเหนือ ตลาดและจะให้ความสำคัญกับปัจจัยนี้อย่างรอบคอบมากกว่าความรู้สึกผิวเผิน เกี่ยวกับต้นทุนอัตราดอกเบี้ยที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของต้นทุนเท่านั้น
ประการต่อไป เราควรระมัดระวังการดำเนินนโยบายการคลังที่มุ่งผลการกระตุ้นระยะสั้นที่
ไม่ยั่งยืนเนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมและภาคครัวเรือนจะเห็นโอกาสการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นสภาพที่
คาด หวังว่าจะต้องเป็นไปในระยะยาวด้วย เมื่อโครงการเหล่านั้นของรัฐสิ้นสุดลงหรือไม่สามารถดำเนินต่อไปทุกๆ ปีก็จะทำให้รายได้ของผู้กู้เหล่านั้นสิ้นสุดลงและกลายเป็นหนี้เสีย เพราะไม่สามารถหาตลาดหรือแหล่งรายได้อื่นมาทดแทน
อีกประการหนึ่ง รัฐไม่ควรกระตุ้นให้ประชาชนเป็นกลไกในการแบกรับภาระในการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของสถานการณ์ การชักจูงให้ประชาชนใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยเช่นการกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยและ ยานพาหนะเนื่องจากการใช้จ่ายเหล่านี้เป็นการตัดเงินออมของประชาชนให้ลดลง รัฐบาลควรเลือกวิธีการลดภาระภาษีของประชาชนจากรายหลักเหล่านี้มากกว่าเพราะ จะไม่กระทบการออม
ของภาคครัวเรือนมากกว่าการกระตุ้นผ่านการก่อหนี้
ในการป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์เศรษฐกิจยุคใหม่ ความรอบคอบระมัดระวังเกี่ยวกับปัญหาหนี้ต่างๆ เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง หนี้ภาคครัวเรือนที่ไม่เคยมีปัญหาในยุคเศรษฐกิจตกต่ำแห่งทศวรรษ 1930 หรือในยุควิกฤตการณ์น้ำมันโลกกำลังเป็น
หนี้ก้อนใหญ่ที่เริ่มสร้างวิกฤตให้กับระบบทุนนิยมสมัยใหม่และกำลังเป็นอุปสรรคที่ท้าทายอย่างสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
เป็นจุดเริ่มสำคัญของวิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐและเป็นแรงกดดันต่อหลายประเทศในยุโรปให้เข้าสู่วิกฤตรอบต่อไป
นี่คือบทเรียนใหม่อีกบทหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจระดับมหภาคที่ต้องดำเนินอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงของวิกฤต
คอลัมน์ ดุลยภาพ ดุลยพินิจ/โดย ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์/ นสพ.มติชนรายวัน
สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน