สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ไดอารี่ราชินี บันทึกเดินทางส่วนพระองค์

จากประชาชาติธุรกิจ

คือท่อนหนึ่งในบทเพลงพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงประพันธ์คำร้องด้วยพระองค์เอง นับเป็นพระอัจฉริยภาพด้านอักษรที่พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในด้านภาษาและ วรรณกรรม

นอกจากจะทรงประพันธ์เนื้อเพลงแล้ว พระองค์ยังทรงเขียนบันทึกการเดินทาง ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศทางราชการ กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2502-2510 ตีพิมพ์โดยกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เสรีรัฐ เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 36 พรรษา เมื่อ พ.ศ. 2511 ใช้ชื่อหนังสือว่า "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ"

เนื้อหา ในบันทึกที่พระองค์ทรงเขียนขึ้นนั้นเต็มไปด้วยเกร็ดความรู้ ความประทับพระราชหฤทัย ความตื่นเต้น และความรู้สึกที่พระองค์ทรงประสบมาตลอดการเสด็จฯเยือนใน 15 ประเทศ ที่ทรงถ่ายทอดผ่านตัวอักษรจนกลายมาเป็นหนังสือทรงคุณค่าที่คนไทยควรอ่าน

การ เดินทางไปยังต่างแดนเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับทุกคน ไม่เว้นแม้กระทั่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถก็เช่นเดียวกัน พระองค์ทรงบันทึกถึงความตื่นเต้นครั้งนั้นว่า

"...การตามเสด็จ อเมริกาและยุโรปเมื่อหน้าร้อน พ.ศ. 2503 นับว่าเป็นการตามเสด็จทางราชการครั้งใหญ่สุดครั้งแรกของข้าพเจ้า รู้สึกว่าทุกอย่างตื่นเต้นไปหมด การ

ตระเตรียมเสื้อผ้าเครื่องแต่ง กายก็นับว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้หญิงเรา โดยเฉพาะสำหรับตัวข้าพเจ้าเอง เพราะการเสด็จไปทั้ง 25 ประเทศต้องใช้เวลาหลายเดือน คือตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วง จนถึงหน้าหนาวหิมะตก เสื้อผ้าจึงจำเป็นต้องเตรียมไปสำหรับทุกหน้าและทุกโอกาส..."

จาก บันทึกจะเห็นว่าพระองค์ทรงกังวลพระราชหฤทัยเกี่ยวกับฉลองพระองค์ไม่น้อยที เดียว เนื่องจากพระองค์เสด็จในฐานะพระราชินีเคียงคู่พระมหากษัตริย์ไทย ฉลองพระองค์ทุกชุดจึงต้องเน้นไปที่ความเหมาะสมแต่ละโอกาส พระองค์ทรงค้นหาพระรูปพระมเหสีของรัชกาลก่อน ๆ ที่มีอยู่ในวังหลวง และของเจ้านายองค์อื่น ๆ มาทอดพระเนตร แต่สุดท้ายก็ตัดสินพระทัยฉลองพระองค์แบบไทยสากลและทั่วโลกนิยม

"...ชุด สากลของผู้หญิงที่แต่งไปงานที่เมืองฝรั่งเป็นของจำเป็นเท่ากับรองเท้าและ กระเป๋าถือในการแต่งกายไปงานของเมืองเราทีเดียว ถ้าขาดไปเสียเขาก็ถือว่าแต่งกายไม่ครบถ้วน มีผู้บ่นว่าเหตุใดข้าพเจ้าจึงชอบสวมหมวกเวลาไป

ต่างประเทศ นอกจากไม่สวยแล้ว ยังไม่เป็นไทยอีกด้วย ข้าพเจ้าขอตอบว่า เมื่อแต่งกายไทยก็ไม่ได้สวม ที่สวมตอนแต่งสากลก็ไม่ใช่ว่าชอบ แต่แต่งเพื่อให้ถูกระเบียบสากลที่เขาใช้กันในต่างประเทศต่างหาก..."

จาก การตามเสด็จในครั้งนั้น พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริว่า สมควรที่จะสรรค์สร้างการแต่งกายชุดไทยให้เป็นไปตามประเพณีที่ดีงาม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการศึกษา ค้นคว้าเครื่องแต่งกายสมัยต่าง ๆ ปรับปรุงพัฒนาให้เหมาะสมกันจนได้ "ชุดไทยพระราชนิยม" 8 ชุด

แม้ พระองค์จะทรงพิถีพิถันเกี่ยวกับฉลองพระองค์ แต่ก็ทรงพลาดจนได้ จากบันทึกส่วนพระองค์ที่ทรงเขียนว่า "เมื่อตามเสด็จไปประเทศอังกฤษครั้งนั้น ข้าพเจ้าทำพลาดไปนิดหนึ่งเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย ข้าพเจ้าลืมไปว่าตอนนั้นไม่เหมือนสมัยนี้ ฝรั่งยังไม่รู้จักเครื่องแต่งกายแบบไทยเรา

...ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็น งานใหญ่ คงจะมีผู้คนเฝ้าแหนไม่น้อย น่าที่ข้าพเจ้าจะอวดเครื่องแต่งกายแบบไทยของเราบ้าง เพราะที่อเมริกาไม่มีงานใหญ่ที่จะไปในตอนกลางวันเช่นนั้นเลย ข้าพเจ้าจึงแต่งแต่ชุดสากลเรื่อยมา"

ในระหว่างที่พระราชินีเสด็จ พร้อมกับพระเจ้าอยู่หัว ทรงประทับรถม้าเป็นพระราชพาหนะไปยังงานเลี้ยงที่นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนถวาย เป็นพระเกียรตินั้น ฝนตกพรำตลอดเวลา ทำให้อากาศค่อนข้างเย็นเพราะรถม้าเปิดหลังคาจึงมาใช้เฟอร์สีน้ำตาลอ่อนห่ม ทับชุดไทย

"ข้าพเจ้าเข้าใจทันทีว่าการที่หนังสือพิมพ์อังกฤษลงข่าว คล้ายตกใจที่พระราชินีไทยไม่สวมหมวกไปงานใหญ่ของนายกเทศมนตรีของเขาคงคิดว่า เราไม่ให้เกียรติแก่เขาละกระมัง เพราะตอนนั้นเขายังไม่ทราบว่าเราแต่งชุดไทยของเราก็เพราะเราให้เกียรติแก่ เขาต่างหากเล่า ข้าพเจ้ายอมรับเป็นความบกพร่องของข้าพเจ้าเองที่ปากหนักไม่ได้แจ้งให้ หนังสือพิมพ์ทราบเรื่องเครื่องแต่งกายไว้ก่อน

...ตลอดเวลาที่ตามเสด็จประเทศต่าง ๆ ครั้งนั้น

ที่อเมริกาก็ดี ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปก็ดี ข้าพเจ้าเห็นธรรมเนียมแตกต่างกันทำให้เวียนศีรษะไม่น้อย ปฏิบัติตามร่องรอยแทบไม่ถูก

เรื่อง ถุงมือนี้บางประเทศก็ปฏิบัติอย่างหนึ่ง บางประเทศก็อีกอย่างหนึ่ง ข้าพเจ้าไปถึงไหนก็ต้องใช้ความสังเกตว่าเขานิยมกันอย่างไร แล้วก็รีบผ่อนปรนไปตามความนิยมของเขา ทำให้ลำบากใจมากเพราะไม่สามารถตั้งกฎเกณฑ์อะไรในเรื่องนี้"

ดูเหมือนว่าฉลองพระองค์จะกลายเป็นเรื่องที่สื่อต่างประเทศให้ความสนใจมากทีเดียว ในบันทึกพระองค์ทรงเขียนถึงเรื่องนี้ในตอนหนึ่งว่า

"มี หนังสือพิมพ์และผู้แทนสื่อมวลชนเข้าเฝ้าที่โรงแรมปลาซ่า ข้าพเจ้าถึงจะเคยกับการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์มาแล้วบ้างในต่างประเทศ ก็ยังไม่หายกลัวสักที เพราะไม่เคยรู้มาก่อนเขาจะสัมภาษณ์แนวไหน โดยมากมักถามแล้วตอบทันที

...ข้าพเจ้าถูกถามปัญหาที่กลัวอยู่แล้ว พยายามนั่งแอบตัวลีบ ปัญหานี้คือ เรื่องการใช้จ่าย เพราะว่าข้าพเจ้าออกจะเป็นคนที่ทำข่าวเกรียวกราว ระยะนี้ในหนังสือพิมพ์ต่างประเทศในประเทศก็เช่นเดียวกัน นักหนังสือพิมพ์ถามว่า "เสื้อผ้าของพระราชินีส่วนมากตัดที่ไหน" เพราะเขาอ่านตามหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งกล่าวว่า ข้าพเจ้าใช้เงินปีละ 10 ล้านบาท สำหรับแต่งตัวอย่างเดียว ไม่ใช่ของรูปพรรณอื่น ๆ

ข้าพเจ้า ตอบเขาว่า "เสื้อผ้าส่วนมากตัดในเมืองไทย ที่ตัดเมืองนอกก็เฉพาะเวลาตามเสด็จไปต่างประเทศในฐานะเป็นผู้แทนของคนไทย เท่านั้น จึงจะใช้ชาวต่างประเทศ" เขาหัวเราะบอกว่า "ไม่เป็นไรจะช่วยแก้ข่าวให้ ตัวเขาเองก็ไม่เชื่อเหมือนกัน เพราะว่าถ้าดูตามตัวเลขปีละ 10 ล้านแล้ว รู้สึกว่าถ้าใช้หมดในปีเดียว 10 ล้านบาท ไม่ให้เหลือสักแดงเดียวละก็ จะต้องซื้อเสื้อ Fur แพงที่สุด เปลี่ยนทุกเดือน แม้แต่ชุดนอนก็ต้องปักให้เต็มพรึ่บไปหมด ไม่อย่างนั้นใช้ไม่หมดแน่ 10 ล้านเฉพาะค่าแต่งตัว"

...ถ้าจะเปรียบ ตัวเองก็เหมือนคนที่ถูกตัดสินให้มีความผิดถูกทำโทษมีป้ายแขวนคอว่า ทำตัวฟุ่มเฟือยถึงกับเสียค่าใช้จ่ายในการตัดเสื้อปีละ 10 ล้านบาท"

นี่ คือเรื่องราวบางส่วนที่คัดมาจากบทพระราชนิพนธ์ที่พระองค์ทรงบันทึกไว้ แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 44 ปีแล้ว แต่บันทึกนี้ก็ยังคงคุณค่า แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพและการทรงดำรงอยู่ในฐานะราชินีของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้อย่างสมพระเกียรติของราชวงศ์จักรีโดยไม่ขาดตกบกพร่อง จวบจนถึงปัจจุบันที่ขณะนี้ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปี พ.ศ. 2555


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ไดอารี่ราชินี บันทึกเดินทางส่วนพระองค์

view