จาก โพสต์ทูเดย์
โดย...ชลลดา อิงศรีสว่าง
ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เมื่อฟองสบู่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาแตก ทำให้เกิดหนี้เสียมหาศาล ส่งผลให้ธนาคารและบริษัทประกันขนาดใหญ่ของอเมริกาล้มละลาย และผลร้ายยังข้ามฟากมาที่สหภาพยุโรป และเอเชีย
วิกฤตเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ กระทบกับภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในภาคการค้าต่างประเทศ แต่ธนาคารพาณิชย์ของไทยกลับแข็งแกร่ง มีเงินกองทุนในระดับสูง มีการสำรองหนี้เสียสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจน้อยมาก อัตราการทำกำไรก็ยังดี
แม้ธนาคารพาณิชย์ของไทยจะยังคงแข็งแกร่ง แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะคนกำกับและดูแล ก็ไม่ได้ลดราวาศอกให้กับความเสี่ยง ยังคงตั้งหน้าตั้งตาเข้มกับการดูแลธนาคารพาณิชย์ต่อไป
ล่าสุด ธปท.ได้ออกหนังสือสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจัดทำการประเมินผลกระทบความ เสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในตลาดอนุพันธ์นอกตลาด (OTC Derivatives) เพื่อดูผลกระทบหรือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับเงินกองทุนที่มีอยู่ตามหลัก เกณฑ์บาเซิล 2
มาตรการนี้ถือว่าเพิ่มเติมจากข้อกำหนดเดิมที่ให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงเงิน กองทุนรองรับเฉพาะความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น เพราะ ธปท.เห็นว่าอาจจะไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในตลาดอนุพันธ์นอกตลาด และอาจไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการเงิน
ทั้งนี้ ธปท.จะให้ธนาคารพาณิชย์ลองจัดทำแบบประเมินผลกระทบตามหลักเกณฑ์การคำนวณ สินทรัพย์เสี่ยง สำหรับความเสี่ยงจากการลดลงของคุณภาพเครดิตของคู่สัญญา (Credit Valuation Adjustment Risk หรือ CVA Risk) ในเกณฑ์บาเซิล 3 ที่ ธปท.อาจจะนำมาใช้ในอนาคตด้วย โดยให้ธนาคารพาณิชย์ทดลองประเมินผลกระทบเหล่านี้ต่อเงินกองทุนในงวดสิ้นไตร มาส 2 สิ้นงวดไตรมาส 3 และสิ้นงวดไตรมาส 4 ปีนี้ เพื่อจะได้รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบเบื้องต้น และนำมาประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางใช้กับธนาคารในประเทศไทยต่อไป
สาเหตุที่ ธปท.มีคำสั่งให้ดำเนินการทดลองการประเมินผลกระทบ เพราะเห็นว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ผ่านมา ทำให้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่เกิดความเสี่ยงเฉพาะการผิดนัดการชำระ หนี้ของคู่สัญญานั้น ไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตลาดอนุพันธ์ที่เป็นธุรกรรมซื้อขาย ล่วงหน้า
สิ่งที่ ธปท.สั่งให้ธนาคารดำเนินการนี้ เพราะเห็นตัวอย่างมาจากสถาบันการเงินในอเมริกาที่พากันล้มละลาย และดึงเอาสถาบันการเงินข้ามชาติกระทบไปด้วยจากการซื้อตราสารอนุพันธ์จาก สถาบันการเงินที่ล้มละลายเป็นลูกโซ่ต่อๆ กันมา ซึ่งในช่วงนั้นธนาคารไทยธนาคารเป็นธนาคารแห่งเดียวที่มีการซื้ออนุพันธ์ของ สถาบันการเงินในอเมริกาเยอะที่สุด ทำให้ฐานะของธนาคารมีปัญหา จนในที่สุด ธปท.ต้องขายหุ้นธนาคารไทยธนาคารให้กับธนาคารซีไอเอ็มบีจากมาเลเซียไป
ดังนั้น หากไม่มีการเตรียมตัวเพื่อรองรับที่ดีพอ อาจเกิดความเสียหายต่อธนาคารพาณิชย์ได้ในอนาคต และหากเสียหายก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ฝากเงิน เพราะรัฐบาลได้เปลี่ยนแปลงระบบการคุ้มครองเงินฝาก จากรัฐบาลคุ้มครองเงินฝาก 100% เป็นการคุ้มครองผ่านสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และจะคุ้มครองเงินฝากตามที่สถาบันระบุเท่านั้น
ดังนั้น การออกกฎระเบียบควบคุมสถาบันการเงินอย่างเข้มงวด อาจจะเป็นต้นทุนของธนาคารและเป็นต้นทุนของผู้ถือหุ้นบ้าง แต่เป็นการเสียเพื่อจะได้ในระยะยาว
กรณีนี้ต่างกับธนาคารของรัฐ ที่กระทรวงการคลังเคยอยากให้ธนาคารของรัฐเข้มแข็ง จึงให้ ธปท.เข้ามาตรวจสอบ และใช้เกณฑ์สำรองเงินกองทุนและสำรองหนี้เหมือนธนาคารพาณิชย์ แต่เมื่อธนาคารรัฐประสบปัญหาต้องเพิ่มทุนหลายแห่ง กระทรวงการคลังก็เลือกที่จะปรับเกณฑ์การกำกับดูแลให้รบกวนเงินอุดหนุนจากรัฐ น้อยลง
การใช้วิธีเศรษฐกิจไม่ดียิ่งเข้มงวดของ ธปท. อาจจะเป็นมาตรการที่ทำร้ายจิตใจนักลงทุน แต่ช่วยสร้างระบบให้เข้มแข็งขึ้น จึงไม่ควรจะเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจแต่อย่างใด
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน