สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สภาทนายความ แนะกราบบังคมทูลแต่งตั้งนายกฯ มาตรา 7 ชี้วุฒิสภามีอำนาจพิจารณา-เติมเต็มสุญญากาศสภาทนายความ” แนะกราบบังคมทูลแต่งตั้งนายกฯ มาตรา 7 ชี้วุฒิสภามีอำนาจพิจารณา-เติมเต็มสุญญากาศ

สภาทนายความ” แนะกราบบังคมทูลแต่งตั้งนายกฯ มาตรา 7 ชี้วุฒิสภามีอำนาจพิจารณา-เติมเต็มสุญญากาศ

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

“สภาทนายความ” ออกแถลงการณ์ระบุนายกฯ-ครม.หมดอำนาจบริหารไปแล้วหลังศาล รธน.วินิจฉัย ชี้ “วุฒิสภา” มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งผู้มาดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญได้ จึงชอบที่จะนำมาตรา 7 มาวินิจฉัย แนะกราบบังคมทูลขอพระราชทานแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามประเพณี และแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่แทน ชี้สถาบันไม่ได้มีส่วนร่วมและไม่ได้ทรงเข้ามาวินิจฉัยในข้อเท็จจริง แต่เป็นหน้าที่ของวุฒิฯ เพื่อเติมเต็มสุญญากาศ
         วันนี้ (13 พ.ค.) นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ และกรรมการบริหารสภาทนายความ เปิดเผยว่า ทางสภาทนายความได้ออกแถลงการณ์ว่ารักษาการนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรี ทั้งคณะ ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจนหมดอำนาจบริหารไปแล้ว รวมทั้งกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้มี พ.ร.ฎ.ยุบสภาไป เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2556 จึงปรากฏความจริงว่าในการใช้อำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติของสภาผู้แทน ราษฎรได้ยุติลงแล้วโดยสิ้นเชิง วุฒิสภาจึงมีหน้าที่อย่างสำคัญในการสร้างสมดุลของอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจ บริหารที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดความมั่นคงของชาติ อย่างต่อเนื่องตลอดไป โดยอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาในมาตรา 132 (2) ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานวุฒิสภาหรือรองประธานวุฒิสภาผู้ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาตามข้อ บังคับการประชุมวุฒิสภาซึ่งเป็นกฎหมายอนุบัญญัติรองจากรัฐธรรมนูญ คือ การพิจารณาแต่งตั้งผู้มาดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญได้ ทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและตำแหน่งอื่นก็เป็นตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงชอบที่จะนำมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญมาวินิจฉัยกรณีนี้ได้ เพราะทางนิติศาสตร์นั้นการใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมายต้องให้มีผลบังคับตามหลัก นิติธรรมและหลักเกณฑ์สากล จึงไม่มีกรณีใดที่จะให้ประเทศชาติตกอยู่ในสภาวะไร้ฝ่ายบริหารและสภาผู้แทน ราษฎร
       
       ดังนั้น ประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา จึงต้องปฏิบัติดังนี้ 1. ในขณะที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรและไม่มีนายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภาหรือรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ตามมาตรา 132 (2) ประกอบกับมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ ต้องกราบบังคมทูลขอพระราชทานแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามประเพณีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร 2. รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ซึ่งทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาตามข้อบังคับ ข้อ 11 ของข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ต้องรีบหารือประธานองคมนตรีเพื่อขอให้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและขอพระราชทาน ให้เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกาเพื่อคัดสรรและแต่ง ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎรในช่วงระยะเวลา เปลี่ยนถ่ายอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติก่อนจะมีการเลือกตั้ง
       
       3. สถาบันพระมหากษัตริย์นั้นอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองตลอดเวลา เพราะกลไกของการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่จะเป็นไป ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและประเพณีการปกครองตามมาตรา 7 ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้มีส่วนร่วมและไม่ได้ทรงเข้ามาวินิจฉัยในข้อ เท็จจริงหรือข้อกฎหมายใด แต่เป็นหน้าที่ของประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิสภาในขณะนี้ ที่ต้องกระทำเพื่อเติมเต็มสุญญากาศของการไม่มีนายกรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร ประกอบกับภารกิจที่ต้องสร้างความมั่นคงของชาติและความเชื่อมั่นในทาง เศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และการลงทุนของภาคธุรกิจทั้งประเทศ รวมทั้งการขจัดการทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงการได้มาซึ่งสภาผู้แทนราษฎรและนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยในโอกาสต่อไปให้สอดคล้องกับวิธีการเลือกตั้ง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรัฐบาล


สภาทนายฯแถลงหนุนวุฒิฯแต่งตั้งนายกฯ

“สภาทนายความ” ออกแถลงหนุน “วุฒิสภา” ทำหน้าที่ตาม รธน.มาตรา132(2) แต่งตั้งตำแหน่งนายกฯใหม่

ภายหลังจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรักษาการรัฐมนตรีบางส่วน ถูกวินิจฉัยให้สิ้นสภาพไปโดยศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้คงมีเพียง ครม.รักษาการที่มีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีรักษาการนั้น เมื่อวันที่ 12 พ.ค.57 ที่ผ่านมา นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 10/2557 เรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญกรณีประธานวุฒิสภาหรือรองประธานวุฒิสภาทำหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา ในการกราบบังคมทูลให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ภายใต้สถานการณ์ที่ราชอาณาจักรไทยไม่มีนายกรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า

ตามที่สภาทนายความได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 9/2557 เผยแพร่ความเห็นทางกฎหมายให้แก่ประชาชนเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 9 พ.ค.57 นั้น เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดจากปัญหาของการหมดอำนาจการบริหารของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือรักษาการนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรีทั้งคณะ ที่ต้องยุติอำนาจหน้าที่ของตนตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว

กับกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรโดยอดีตนายกรัฐมนตรี มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาไปแล้วเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.56 จึงปรากฏความจริงแน่นอน ว่าการใช้อำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติ ของสภาผู้แทนราษฎรได้ยุติลงแล้วโดยสิ้นเชิง วุฒิสภาจึงมีหน้าที่อย่างสำคัญในการสร้างสมดุลย์ของอำนาจนิติบัญญัติ กับอำนาจบริหารที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ฯ เพื่อให้เกิดความมั่นคงของชาติอย่างต่อเนื่องตลอดไป

โดยอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ได้ถูกกำหนดไว้ชัดเจน ในรัฐธรรมนูญ ฯ ปี 2550 ม. 132 (2) ซึ่งประธานวุฒิสภาหรือรองประธานวุฒิสภาผู้ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่พิจารณาผู้มาดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตำแหน่งอื่น ก็เป็นตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงชอบที่จะนำมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญมาวินิจฉัยกรณีนี้ได้ เพราะทางนิติศาสตร์นั้น การใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมายต้องให้มีผลบังคับ ตามหลักนิติธรรมและหลักเกณฑ์สากล เหตุผลดังกล่าวข้างต้นแล้ว จึงไม่มีกรณีใดที่จะให้ประเทศชาติตกอยู่ในสภาวะไร้ฝ่ายบริหาร และสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา จึงต้องปฏิบัติดังนี้

1.ขณะที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร และไม่มีนายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา หรือ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ ตาม ม. 132 (2) ประกอบกับ ม. 7 ของรัฐธรรมนูญ ต้องกราบบังคมทูล ฯ ขอพระราชทาน แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือการแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร

2. รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ซึ่งทำหน้าที่ประธานวุฒิสภา ตามข้อ 11 ของข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ต้องรีบหารือประธานองคมนตรี เพื่อขอให้แต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี และขอพระราชทานให้เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชกฤษฎีกาเพื่อคัดสรรและแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่แทน สภาผู้แทนราษฎร ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายอำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติ ก่อนจะมีการเลือกตั้ง

3. สถาบันพระมหากษัตริย์นั้น อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองตลอดเวลา เพราะกลไกของการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่จะเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และประเพณีการปกครอง ตาม ม. 7 ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้มีส่วนร่วม และไม่ได้ทรงเข้ามาวินิจฉัยในข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใด แต่เป็นหน้าที่ของประธานวุฒิสภา หรือรองประธานวุฒิสภา ในขณะนี้ที่ต้องกระทำเพื่อเติมเต็มสุญญากาศของการไม่มีนายกรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร ประกอบกับภารกิจที่ต้องสร้างความมั่นคงของชาติ และความเชื่อมั่นในทางเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และการลงทุนของภาคธุรกิจทั้งประเทศ รวมทั้งการขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่นรวมถึงการได้มาซึ่งสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ ฯ ในโอกาสต่อไปให้สอดคล้อง กับวิธีการเลือกตั้ง การได้มาซึ่ง ส.ส. และรัฐบาล ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในโอกาสต่อไปให้สอดคล้องกับวิธีการเลือกตั้ง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลในระบบรัฐสภาที่สมบูรณ์ สอดคล้องกับมาตรฐานของนานาอารยประเทศ ป้องกันระบบการซื้อเสียงและดำเนินการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยความโปร่งใสและเป็นธรรมอย่างสมบูรณ์


“คำนูณ” ยกฎีกาปี 40 ชี้อำนาจหน้าที่รองประธาน กอ. เปรียบเทียบ ”รักษาการรองนายกฯ”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

“ส.ว.คำนูณ” ชี้เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาปี 40 รองประธานคณะกรรมการข้าราชการอัยการ (กอ.) ทำแทนประธาน กอ. ไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องลงโทษทางวินัยร้ายแรง น่าจะเป็นบรรทัดฐานการทำหน้าที่รักษาการรองนายกฯ โต้ “นิวัฒน์ธำรง” อ้างอำนาจทูลเกล้าฯ พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ฟังแค่กฤษฎีการะดับสำนักงานขึ้นตรงต่อรัฐบาล ชี้ต้องให้ที่ประชุมใหญ่กฤษฎีกาพิจารณา
       
       วันนี้ (13 พ.ค.) เฟซบุ๊กส่วนตัวของ นายคำนูณ สิทธิสมาน ได้ระบุเนื้อหาว่า พยายามค้นหาข้อกฎหมาย และหรือ คำพิพากษาศาลฎีกา ว่าด้วยอำนาจการทำแทนว่าทำแทนได้ทุกเรื่อง หรือทำแทนในเรื่องสำคัญที่จะต้องเป็นอำนาจโดยเฉพาะของผู้ดำรงตำแหน่งเท่า นั้น เพิ่งค้นพบโดยความช่วยเหลือของกัลยาณมิตรว่ามีอยู่ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1745/2540 (ประชุมใหญ่) นายจารักษ์ คำสนิท โจทก์ นายโกเมน ภัทรภิรมย์ กับพวก จำเลย เป็นคำพิพากษาโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ซึ่งฎีกานี้วินิจฉัยว่ารองประธานคณะกรรมการข้าราชการอัยการ (กอ.) ทำแทนประธาน กอ. ไม่ได้ในเฉพาะเรื่องการลงโทษทางวินัยร้ายแรง ฎีกานี้วินิจฉัยถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้มีการถ่วงดุลอำนาจ ระหว่างประธาน กอ. กับอัยการสูงสุด น่าจะเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ของนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ในการเป็นผู้รักษาการในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556
       
       ก่อนหน้านี้ เฟซบุ๊กนายคำนูณ ระบุว่า รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี บอกว่าตัวเองมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 และมีอำนาจหน้าที่ทูลเกล้าฯ ถวายร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ โดยอ้างความเห็นกฤษฎีกานั้นหมูไป มุกเก่าแล้ว เพราะก็แค่ความเห็นของนายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ระดับสำนักงาน ที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลเท่านั่น ไม่ใช่ระดับคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะใดคณะหนึ่งที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเป็นอิสระจากรัฐบาลตามสมควร ถ้าจะอ้างกฤษฎีกาก็เอา แต่ต้องระดับคณะกรรมการกฤษฎีกา และเรื่องใหญ่ขนาดนี้ไม่ควรจะเป็นคณะใดคณะหนึ่งใน 12 คณะ ไม่ว่าจะเป็นคณะ 1 หรือคณะ 2 ควรเป็นประชุมใหญ่เลยด้วยซ้ำ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : สภาทนายความ แนะกราบบังคมทูล แต่งตั้งนายกฯ มาตรา 7 วุฒิสภา อำนาจพิจารณา เติมเต็ม สุญญากาศ

view