สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ก.ล.ต.ยกระดับ ผู้สอบบัญชี

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ก.ล.ต.จับมือสิงคโปร์-มาเลเซีย ยกระดับคุณภาพการตรวจสอบบัญชีบริษัทจดทะเบียน ชี้ต่อไปผู้สอบบัญชีต้องให้ความเห็นว่า กิจการเสี่ยงจะล้มหรือไม่

นายธวัชชัย เกียรติกวานกุล ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับบัญชีตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต. ได้ร่วมมือกับก.ล.ต.ประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ ในการพัฒนาระบบการตรวจสอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยมีการประชุมร่วมกับสำนักงานผู้สอบบัญชีเพื่อวางกรอบการทำงานร่วมกัน นอกจากการร่วมมือในครั้งนี้ ยังเป็นการเพิ่มบทบาทของประเทศในกลุ่มอาเซียนในเวทีทางด้านระบบการตรวจสอบบัญชีของโลกอีกด้วย

ปัจจุบันกิจการของบริษัทจดทะเบียนมีขนาดใหญ่ขึ้น การทำธุรกิจก็มีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นผู้ตรวจสอบบัญชีจะต้องมีความพร้อมทั้งทางด้านทรัพยากรบุคคล และความรู้ทางด้านธุรกิจนั้นๆ มากขึ้น เพื่อให้งานตรวจสอบงบการเงินของทางบจ.มีคุณภาพ หรือให้งบสะท้อนฐานะของบริษัทให้มากที่สุด เพื่อให้นักลงทุนสามารถใช้งบการเงินเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนได้

“ผู้สอบบัญชีมีบทบาทสำคัญที่ช่วยส่งสัญญาณให้ผู้ลงทุนได้รับรู้ถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในบริษัทผ่านงบการเงิน เพื่อให้ผู้ลงทุนใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน ประกอบกับบริษัทจดทะเบียนและบริษัทหลักทรัพย์มีขนาดใหญ่ เชื่อมโยงต่างประเทศ และมีธุรกิจซับซ้อนยิ่งขึ้น ทำให้งานสอบบัญชีจะต้องอาศัยทีมงานที่มีความรู้ความสามารถ ภายใต้ระบบ การควบคุมคุณภาพที่ได้มาตรฐาน โดยหลังจากนี้ในการตรวจสอบงบการเงิน ผู้สอบบัญชีจะต้องระบุด้วยว่ากิจการนั้นๆ มีความสามารถที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในอนาคตหรือไม่ ซึ่งเป็นการบอกให้นักลงทุนรับทราบว่ากิจการนั้นๆ จะเจ๊งหรือไม่”

เขากล่าวต่อว่า ปัจจุบันก.ล.ต.มีการตรวจสอบคุณภาพการตรวจสอบบัญชี ของสำนักงานผู้สอบบัญชีอย่างต่อเนื่อง โดยหากสำนักงานใดมีความเสี่ยงก็จะเข้าไปตรวจบ่อยกว่าสำนักงานอื่นๆ ส่วนที่มีคุณภาพอยู่แล้ว อย่างน้อยภายใน 3 ปี ก็ต้องเข้าไปตรวจหนึ่งครั้ง ส่วนสำนักงานผู้สอบบัญชีรายใหญ่ หรือ บิ๊ก 4 นั้น ทาง ก.ล.ต.จะเข้าไปตรวจปีละครั้ง เนื่องจากบิ๊ก 4 นี้ มีงานตรวจสอบบัญชีจำนวนมาก คิดเป็นส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) กว่า 75% ของบจ.ทั้งหมด

จากการตรวจคุณภาพงานสอบบัญชีประจำปี 2556 ซึ่งได้ตรวจสอบสำนักงานสอบบัญชีแล้ว 8 แห่ง จากทั้งหมด 26 แห่ง พบว่าทุกแห่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดด้านการตอบรับงาน และการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้า เนื่องจากสำนักงาน สอบบัญชีส่วนใหญ่มีกระบวนการรับงานที่คำนึงถึงปัจจัยด้านความเสี่ยงของลูกค้าและความรู้ความสามารถ เฉพาะทางของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสอบบัญชีแล้ว

สำนักงานผู้สอบบัญชี ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุดด้านการปฏิบัติงาน เนื่องจากผู้สอบบัญชีและผู้สอบทานการควบคุมคุณภาพงานมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานสอบบัญชีไม่เพียงพอ และไม่ได้ปรับปรุงคู่มือการสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่ออกใหม่ในหลายประเด็น เช่น การตรวจสอบรายการที่มีความเสี่ยงจากการทุจริต และการตรวจสอบกลุ่มกิจการ ซึ่งอาจแก้ไขด้วยการให้ผู้สอบบัญชีและผู้สอบทานการควบคุมคุณภาพงานมีส่วนร่วมในงานสอบบัญชี มากยิ่งขึ้น ปรับปรุงคู่มือการสอบบัญชีและแนวการสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐาน และฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบดังกล่าวอย่างเพียงพอ

“ในการตรวจสอบ สำนักงานใดที่ได้คะแนนต่ำ หรือมีส่วนที่ต้องปรับปรุง ก.ล.ต.ก็จะให้สำนักงานนั้นๆ กลับไปทำแผนในการดำเนินการแก้ไข หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น ก่อนที่จะนำรายงานนั้นมาให้ก.ล.ต.พิจารณาดูว่าสิ่งที่จะดำเนินการนั้นเพียงพอที่จะทำให้งานด้านการตรวจสอบมีคุณภาพมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งหากก.ล.ต.เห็นว่ามีส่วนใดควรจะทำเพิ่ม ก็จะให้สำนักงานเพิ่มเติมไป อย่างไรก็ตามการดำเนินการต่างๆ จะพยายามไม่ให้เป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับสำนักงานผู้สอบบัญชี”


ก.ล.ต. เปิดเผยผลการตรวจคุณภาพงานสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชี 8 แห่ง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

       ก.ล.ต. เผยผลการตรวจคุณภาพงานสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชี 8 แห่ง ผ่านการตรวจคุณภาพทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่ยังต้องปรับปรุงข้อบกพร่องในด้านการปฏิบัติงานสอบบัญชี เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับตลาดทุนไทยมากยิ่งขึ้น
       
       ก.ล.ต. เปิดเผยผลการตรวจคุณภาพงานสอบบัญชีประจำปี 2556 ซึ่งครอบคลุมการตรวจคุณภาพใน 6 องค์ประกอบ ในการตรวจสำนักงานสอบบัญชีจำนวน 8 แห่ง ปีแรกของรอบที่สอง (1 มกราคม 2556 -31 ธันวาคม 2558) พบว่าทุกแห่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพ โดยได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดด้านการตอบรับงาน และการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้า (Client acceptance and continuance: A&C) เนื่องจากสำนักงานสอบบัญชีส่วนใหญ่มีกระบวนการรับงานที่คำนึงถึงปัจจัยด้าน ความเสี่ยงของลูกค้าและความรู้ความสามารถเฉพาะทางของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสอบ บัญชี
       
       ขณะที่ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุดด้านการปฏิบัติงาน (Engagement performance: EP) เนื่องจากผู้สอบบัญชีและผู้สอบทานการควบคุมคุณภาพงานมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ งานสอบบัญชีไม่เพียงพอ และไม่ได้ปรับปรุงคู่มือการสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่ออก ใหม่
       
       ผลการตรวจคุณภาพงานสอบบัญชีเรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยและสิ่ง ที่ต้องปรับปรุง สรุปได้ดังนี้ (1) การตอบรับงานและการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้า (Client acceptance and continuance: A&C) สำนักงานสอบบัญชีบางแห่งอาจต้องปรับปรุงโดยกำหนดให้ต้องพิจารณาข้อมูลสำคัญ ของลูกค้าที่ต้องได้มาก่อนการอนุมัติรับงาน และประเมินความเพียงพอของทรัพยากรบุคคลทั้งในด้านความรู้ความสามารถและเวลา ในการปฏิบัติงาน รวมถึงปรับปรุงหลักเกณฑ์ประเมินความเสี่ยงให้การใช้ดุลยพินิจกำหนดระดับความ เสี่ยงมีความเหมาะสม

ก.ล.ต. เปิดเผยผลการตรวจคุณภาพงานสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชี 8 แห่ง

       (2) ทรัพยากรบุคคล (Human resources: HR) สำนักงาน สอบบัญชีบางแห่งยังมีข้อบกพร่องในการจัดสรรกำลังคนไม่เหมาะสมกับปริมาณงาน และหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานไม่เหมาะสม ซึ่งอาจแก้ไขได้โดยจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้เพียงพอเพื่อ ปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพได้ และกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลให้สะท้อนคุณภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน
       
       (3) ข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง (Ethical requirements: ER) พบ ว่าสำนักงานสอบบัญชีบางแห่งปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณยังไม่เพียงพอ และเหมาะสมหลายด้าน เช่น กระบวนการตรวจสอบความเป็นอิสระไม่เพียงพอ โดยพบว่าการระบุบริษัทในเครือหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกันไม่ครบถ้วน และไม่มีกระบวนการพิจารณาความเหมาะสมของงานบริการที่ไม่ใช่การสอบบัญชี(non- audit services) ที่ให้บริการแก่ลูกค้าสอบบัญชี ซึ่งควรปรับปรุงโดยการจัดให้มีกระบวนการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวอย่างเพียง พอว่ามีผลต่อความเป็นอิสระหรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือไม่
       
       (4) การติดตามผล (Monitoring: MR) พบว่าสำนักงานสอบบัญชีบางแห่งยังมีแนวทางและขั้นตอนการติดตามผลไม่เพียงพอ และเหมาะสม และไม่จัดทำแผนการดำเนินการเพื่อติดตามผลการแก้ไขข้อบกพร่องโดยอาจแก้ไขด้วย การจัดทำแนวทางและขั้นตอนการติดตามผลให้ครอบคลุมข้อกำหนดของมาตรฐานการสอบ บัญชี วิเคราะห์หาสาเหตุของข้อบกพร่อง และจัดทำแผนการดำเนินการเพื่อติดตามผล
       
       (5) ความรับผิดชอบของผู้นำต่อคุณภาพภายในสำนักงาน (Leadership responsibilities: LD) โดย ภาพรวม แม้หัวหน้าสำนักงานสอบบัญชีได้กำหนดวัฒนธรรมในองค์กรให้เรื่องคุณภาพงานสอบ บัญชีเป็นสิ่งสำคัญแล้ว แต่ยังพบการปฏิบัติงานสอบบัญชีที่บกพร่องหลายประเด็น แสดงให้เห็นว่าหัวหน้าสำนักงานสอบบัญชีต้องเคร่งครัดในการกำหนดให้ผู้ ปฏิบัติงานนำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชีไปปฏิบัติ อย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ
       
       (6) ด้านการปฏิบัติงาน (Engagement performance: EP) พบ ว่าผู้สอบบัญชีและผู้สอบทานการควบคุมคุณภาพงานยังมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน สอบบัญชีไม่เพียงพอรวมถึงคู่มือการสอบบัญชียังไม่เพียงพอและเหมาะสมในหลาย ประเด็น เช่น การตรวจสอบรายการที่มีความเสี่ยงจากการทุจริต และการตรวจสอบกลุ่มกิจการ ซึ่งอาจแก้ไขด้วยการให้ผู้สอบบัญชีและผู้สอบทานการควบคุมคุณภาพงานมีส่วน ร่วมในงานสอบบัญชีมากยิ่งขึ้น ปรับปรุงคู่มือการสอบบัญชีและแนวการสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานและฝึกอบรม พนักงานเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบดังกล่าวอย่างเพียงพอ
       
       นายธวัชชัย เกียรติกวานกุล ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับบัญชีตลาดทุน ก.ล.ต. กล่าวว่า ผู้สอบบัญชีมีบทบาทสำคัญที่ช่วยส่งสัญญาณให้ผู้ลงทุนได้รับรู้ถึงความผิด ปกติที่อาจเกิดขึ้นในบริษัทผ่านงบการเงิน เพื่อให้ผู้ลงทุนใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน ประกอบกับบริษัทจดทะเบียนและบริษัทหลักทรัพย์มีขนาดใหญ่ และมีธุรกิจซับซ้อนยิ่งขึ้น ทำให้งานสอบบัญชีจะต้องอาศัยทีมงานที่มีความรู้ความสามารถ ภายใต้ระบบการควบคุมคุณภาพที่ได้มาตรฐาน
       
       ดังนั้น สำนักงานสอบบัญชีจึงควรให้ความสำคัญกับข้อบกพร่องในองค์ประกอบต่าง ๆ โดยวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่อง พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไข โดยกำหนดแผนการแก้ไขและขั้นตอนการดำเนินการอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นให้แก่ตลาดทุนไทย
       
       MnHrManagerOnline@gmail.com


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ก.ล.ต. ยกระดับ ผู้สอบบัญชี

view