สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิด10ประเด็นหลัก ปัญหา-แนวทางแก้ไขจัดเลือกตั้ง

เปิด10ประเด็นหลัก'ปัญหา-แนวทางแก้ไขจัดเลือกตั้ง

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สมศ. จวก สสค. วิจัยผิดพลาดชี้นำสังคมไปในทางที่ไม่ถูก ยันการประเมินภายนอกไม่ได้แย้งเวลาครูออกจากห้องเรียน

พร้อมติงวิถีชีวิตครูไม่บันทึกการสอน พัฒนาการเรียนการสอนเวลามีหน่วยงานมาประเมินต้องมาทำเอกสาร ด้าน สสค.โต้งานวิจัยสะท้อนจากครูทั่วประเทศ แจงผลวิจัยรวมถึงเวลาเตรียมการไม่ใช่เวลาเข้าประเมินอย่างเดียว

ที่อาคารพญาไท พลาซ่า สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)(สมศ.) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสมศ. แถลงข่าวความจริงการใช้เวลาประเมินครูไทย ของสมศ. ว่าผลงานวิจัยของ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน(สสค.) เรื่องกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู พบว่า ใน 1 ปีมีวันเปิดเรียน 200 วันครูต้องใช้เวลากับกิจกรรมที่ไม่ใช่การสอบถึง 84 วัน คิดเป็นร้อยละ 42 โดยอันดับ 1ที่ครูใช้เวลามากที่สุด คือการประเมินจากหน่วยงานภายนอก(ประเมินร.ร./ครู/นร.)43 วัน โดยใช้เวลากับการประเมินสมศ.มากที่สุด 9 วันนั้น ถือเป็นงานวิจัยที่ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เกิดผลกระทบในทางลบ และเกิดการชี้นำสังคมไปในทางที่ไม่ถูก เพราะงานวิจัยชิ้นนี้ดูจากฐานคิดก็ผิดแล้ว เนื่องจากสมศ.ได้ใช้เวลาในการประเมินสูงสุดเพียง 3 วัน ใน 5 ปี หรือเฉลี่ยประมาณ 5 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น ดังนั้น สมศ.ไป1ครั้งใน 5 ปี และใน1 ครั้งไปเพียง 3วัน อยากถามว่า 9 วัน เอาฐานคิดมาจากไหน อีกทั้งตามแผนภูมิในการวัดเป็น 1 ปี แต่สมศ. 5 ปี ตั้งต้นก็ผิดก็พลาดแล้ว จะมาบอกว่าสมศ.ใช้เวลาอันดับ 1 ไม่ถูกต้อง

“เมื่อผลวิจัยดังกล่าวเผยแพร่สู่สังคม ก็เป็นการชี้นำสังคมไปในทางที่ไม่ถูก ทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อน เมื่อชี้นำผิดแบบนี้ สมศ.ก็ตกเป็นจำเลยสังคมแล้วใครจะรับผิดชอบ ซึ่งงานวิจัยของไทยจำนวนไม่น้อยที่เป็นแบบนี้ และไม่สามารถนำไปใช้ได้ อีกทั้งยังทำให้เกิดผลกระทบในทางลบ ดังนั้นคุณภาพงานวิจัยจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก อีกทั้ง ในการประเมินภายนอกของสมศ. ถ้าวิถีชีวิตครูดำเนินไปตามกฎกระทรวง ข้อปฎิบัติที่ตามต้นสังกัดกำหนดให้ ใครสอนอะไรให้เตรียมการสอนวิชานั้น เพื่อกำหนดว่าสอนอะไร วัตถุประสงค์เพื่ออะไร ประเมินเด็กอย่างไร วางแผนการสอนเป็นชั่วโมง ประเมินการสอน และนำผลการประเมินนั้นมาพัฒนา เอกสารที่ครูทำก็จะนำไปมาใช้ในการประเมินภายในและประเมินภายนอก สมศ. แต่ชีวิตจริงไม่ใช่ ครูไม่ได้ทำ ครูสอนโดยไม่บันทึก ไม่ได้มีแผนการสอน พอสมศ.ไปประเมิน ครูต้องมาทำเอกสารต่างๆเพื่อการประเมิน แสดงว่าวิถีชีวิตครูไม่ใช่วิถีชีวิตคุณภาพ สมศ.จึงอยากให้ครูพัฒนาการเรียนการสอน”ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าว

ดร.ไกรยศ ภัทรวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า ผลการวิจัยชิ้นนี้ได้ดำเนินการตามหลักวิชาการ โดยสุ่มตัวอย่างจากครูสอนดีทุกตำบลทั่วประเทศ ซึ่งผลการวิจัยที่ระบุว่าใช้เวลากับการประเมิน สมศ.มากที่สุด 9 วันนั้น มาจากคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ครูต้องมีการเตรียมการ เช่น การจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง การเดินทาง และการพบปะกับเจ้าหน้าที่ว่าต้องใช้เวลากี่วัน ดังนั้น ผลการวิจัยนี้จึงรวมถึงเวลาในการเตรียมการด้วย ไม่ใช่เวลาที่เข้ามาประเมินเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามคำถามนี้มีครูที่ตอบว่าใช้เวลามากกว่า 9 วัน เป็นจำนวนมาก แต่เราก็นำมาหาค่าเฉลี่ยจนได้ผลวิจัยที่ 9 วัน

“ผลการวิจัยมาจากเสียงสะท้อนของครูทั่วประเทศ เราจำเป็นต้องฟัง และมาร่วมกันหาคำตอบ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นความทุกข์ของครูที่ไม่เคยส่งเสียงมาให้สังคมได้รับทราบเลย ซึ่ง สสค.ไม่สามารถจะมาแก้ตัวเลขที่ครูบอกได้ เรามีแต่ข้อเท็จจริง มีเอกสารเป็นตั้งๆ และไม่ได้มุ่งชี้ผลการวิจัยไปที่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ดังนั้นอยากให้ลองลงพื้นที่ไปสอบถามครูดู และความจริงก็จะปรากฏ”ดร.ไกรยศ กล่าว.

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า หากมองแบบเป็นกลางจะพบว่าทั้งข้อมูลการวิจัยของสสค. และประเด็นที่สมศ.ยกขึ้นมาชี้แจงนั้นไม่ใช่ตัวเลขจริงทั้งหมด แต่เป็นตัวเลขการสำรวจครูบางกลุ่ม ฉะนั้นต้องยอมรับว่า ไม่มีงานวิจัยใดที่สมบูรณ์จึงไม่ควรเสียเวลาเรื่องวันที่ใช้มากน้อยเพียงใด แต่สิ่งสำคัญคือ ความรู้สึกกังวลใจ และความทุกข์ของครูที่เกิดขึ้นจริงผ่านกระบวนการประเมิน สิ่งที่ควรทำคือ การช่วยกันทบทวนการประเมิน เรื่องตัวชี้วัดต่างๆว่ามีคุณภาพเพียงพอ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างมีคุณภาพได้ และไม่เป็นภาระให้ครูน่าจะเป็นทางออกร่วมกันที่สมศ.และทุกฝ่ายที่เข้าไปทำกิจกรรมกับครู


กกต.เห็นชอบ43ประเด็นแก้จัดการจัดเลือกตั้ง

กกต.เห็นชอบ 43 ประเด็นแก้จัดการจัดเลือกตั้ง เตรียมชงกมธ.ยกร่างรธน. เพิ่มอำนาจกกต.ตรวจค้น เรียกพยาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมกกต.วันนี้ ( 20 ม.ค.) ที่ประชุมได้เห็นชอบข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขการจัดการเลือกตั้งที่ด้านบริหารงานเลือกตั้ง นำโดยนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง ได้จัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญคณะที่ 8 ของคณะกรรมาธิการยกร่างรับธรรมนูญซึ่งมีนายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธาน ทั้งนี้ข้อเสนอดังกล่าว กกต.ได้จัดทำเป็นตารางเปรียบเทียบปัญหา และแนวทางการแก้ไข ซึ่งได้มีแบ่งสภาพปัญหาเป็นก่อนและหลังมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้ง โดยมีแนวทางแก้ไขการจัดการเลือกตั้ง แบ่งเป็น 10 ขั้นตอนรวม 43 ประเด็น มีสาระสำคัญ ประกอบด้วย กรณีมีการยุบสภา ให้แยกการออกพ.ร.ฎ.ยุบสภาและกำหนดวันเลือกตั้ง เป็นละฉบับ โดยครม.ออกพ.ร.ฎ.ยุบสภา และกกต.ออกพ.ร.ฎ.ออกพ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้ง ให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี

ส่วนก่อนมีพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง เห็นควรให้แก้ไขระยะเวลาการห้ามทำผิดกฎหมายเลือกตั้งขยายเป็น 180 วัน กำหนดให้โครงการของรัฐที่สุ่มเสี่ยงต่อการได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้งแม้ได้รับอนุมัติก่อนมีพระราชกฤษฎีกาไม่สามารถดำเนินการได้หลังจากมีพระราชกฤษฎีกาแล้ว และเมื่อมีพ.ร.ฎ. เลือกตั้งแล้ว การเปิดรับสมัครให้สามารถรับเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ทางไปรษณีย์ หรืออินเทอร์เน็ต เพื่อรองรับกรณีมีการชุมนุมปิดล้อมสถานที่รับสมัคร และให้ขยายการจัดเลือกตั้งส.ว.เป็น 45 วันเท่ากับการเลือกตั้งส.ส. การหาเสียงให้จำกัดค่าใช้จ่ายการหาเสียงเท่าที่จำเป็นและรัฐให้การสนับสนุนในการหาเสียงอย่างเต็มที่ กำหนดข้อห้ามในหาเสียงให้ครอบคลุมพฤติกรรมการทุจริตการเลือกตั้ง นโยบายหาเสียงที่ใช้ห้ามแสดงตัวเงินชัดเจน ห้ามผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเข้ายุ่งเกี่ยวกิจกรรมการเมืองทุกประเภท

สำหรับการลงคะแนนเลือกตั้งนั้น กำหนดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้า 2 วันและขยายเวลาการลงคะแนนจากเดิมถึง15.00น.มาเป็น08.00-16.00 น. และให้การลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดมีผลเฉพาะการเลือกตั้งคราวนั้นๆ การเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักร มีการนำเสนอปัญหาว่าค่าใช้จ่ายต่อหัวสูงไม่คุ้มค่าจัดการ การลงคะแนนไม่เป็นไปโดยลับอย่างแท้จริงเนื่องจากมีการถ่ายรูปบัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนแล้วเผยแพร่ทางอินเตอร์เนต อีกทั้งผลคะแนนนอกราชอาณาจักรไม่มีผลเปลี่ยนแปลงผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้ง ดังนั้นหากจะคงไว้ ควรให้การลงทะเบียนขอใช้สิทธิมีผลเฉพาะการเลือกตั้งในคราวนั้น ๆ และใช้รูปแบบการเลือกตั้งทางไปรษณีย์เป็นหลัก พร้อมพัฒนาการใช้สิทธิผ่านทางอินเตอร์เนต รวมทั้งให้นับคะแนนที่สถานทูตหรือสถานกงสุล แล้วค่อยส่งผลคะแนนกลับประเทศ

นอกจากนี้ในเรื่องของการลงคะแนนเสนอว่ากรณีมีการชุมนุมปิดล้อมหน่วยเลือกตั้ง สถานที่จัดเก็บ กระจายอุปกรณ์การจัดเลือกตั้ง นอกจากกกต.จะดำเนินการตามกฎหมายแล้วให้สามารประกาศเลื่อนการเลือกตั้งเฉพาะหน่วยที่มีปัญหาได้ และเปิดทางให้มีการใช้เครื่องลงคะแนนอัตโนมัติในการเลือกตั้ง ขยายเวลาลงคะแนนในวันเลือกตั้งเป็น08.00-16.00น. รวมทั้งเพื่อจูงใจให้ประชาชนมาใช้สิทธิ กำหนดให้มีการให้ผลตอบแทนกับผู้มาใช้สิทธิเช่น ลดหย่อนภาษี และให้ส่วนราชการจัดรถรับ -ส่ง หรือจัดหน่วยเลือกตั้งเคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับการลงคะแนนแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ

สำหรับการสืบสวนสอบสวนกรณีทุจริตนั้น แก้ไขกฎหมายให้กกต.เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มีอำนาจตรวจค้น เรียกพยาน มีมาตรการคุ้มครองพยาน ใช้สำนวนกกต.เป็นสำนวนหลักในการดำเนินคดีเลือกตั้ง เพิ่มมาตรการให้เงินสินบนนำจับแก่ผู้ชี้ช่องเบาะแสจนสามารถดำเนินคดีกับผู้ที่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ขยายระยะเวลาสอบสวนก่อนการประกาศรับรองผลจาก 30 วัน เป็น 60 วัน แก้ไขพ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้การสั่งเลือกตั้งใหม่ หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ทั้งก่อนและหลังประกาศรับรองผลใช้มติเสียงข้างมากทุกกรณี ขณะที่ในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน เปิดโอกาสให้องค์กรเอกชนที่มีความเข้มแข็งเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการเลือกตั้ง สร้างมาตรการที่เป็นรูปธรรมเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรเอกชนกับกกต. อย่างมีประสิทธิผล มีมาตรการคุ้มครองประชาชนที่ให้การสนับสนุนการทำงานของกกต.


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เปิด10ประเด็นหลัก ปัญหา แนวทางแก้ไขจัดเลือกตั้ง

view