จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ประกาศใช้กฎกระทรวง กําหนดการจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2558
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ (16มี.ค.) กฎกระทรวง กําหนดการจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗
ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการการแพทย์หรือคณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการการแพทย์มอบหมายเป็นผู้มีอํานาจพิจารณาความจําเป็นในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานของลูกจ้าง
ข้อ ๓ ให้ลูกจ้างที่ประสงค์จะขอรับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานภายหลังประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ยื่นคําขอตามแบบที่เลขาธิการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมด้วยหลักฐาน ตามที่ระบุไว้ในแบบดังกล่าว ณ สํานักงานประกันสังคม สํานักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สํานักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสํานักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานของลูกจ้างเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็น ตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังต่อไปนี้
(๑) ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานด้านอาชีพ ให้จ่ายได้เฉพาะที่เป็นการฝึกตามหลักสูตรที่หน่วยงานของสํานักงานประกันสังคมเป็นผู้ดําเนินการ ไม่เกินสองหมื่นสี่พันบาท
(๒) ค่าใช้จ่ายในกระบวนการเวชศาสตร์ฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานด้านการแพทย์ โดยเป็นค่าใช้จ่ายทางกายภาพบําบัด ไม่เกินวันละสองร้อยบาท และค่าใช้จ่ายทางกิจกรรมบําบัด ไม่เกินวันละหนึ่งร้อยบาท แต่รวมแล้วไม่เกินสองหมื่นสี่พันบาท
(๓) ค่าใช้จ่ายในกระบวนการบําบัดรักษาและการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางาน ไม่เกินสี่หมื่นบาท
(๔) ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู หน่วยละไม่เกินอัตราตามที่กระทรวงการคลังกําหนดแต่รวมแล้วไม่เกินหนึ่งแสนหกหมื่นบาท
ข้อ ๕ ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานด้านอาชีพตามข้อ ๔ (๑) ให้จ่ายได้ ตามหลักสูตรและอัตรา ดังต่อไปนี้
(๑) หลักสูตรฝึกเตรียมเข้าทํางาน ให้จ่ายได้เฉพาะงานใดงานหนึ่งและไม่เกินอัตรา ดังต่อไปนี้
(ก) งานเครื่องมือกล หกพันหกร้อยบาท
(ข) งานสํานักงาน สามพันห้าร้อยบาท
(ค) งานไม้ เจ็ดพันบาท
(ง) งานพิมพ์ ห้าพันบาท
(จ) งานไฟฟ้าเบื้องต้น สี่พันบาท
(ฉ) งานสิ่งประดิษฐ์ สี่พันบาท
(ช) งานเกษตร ห้าพันบาท
(๒) หลักสูตรฝึกอาชีพ ให้จ่ายได้เฉพาะงานใดงานหนึ่งและไม่เกินอัตรา ดังต่อไปนี้
(ก) งานเครื่องมือกล เจ็ดพันบาท
(ข) งานช่างโลหะ หนึ่งหมื่นเจ็ดพันบาท
(ค) งานช่างไม้ หนึ่งหมื่นหกพันบาท
(ง) งานเครื่องยนต์เล็ก หกพันบาท
(จ) งานสํานักงาน สี่พันบาท
(ฉ) งานพิมพ์ ห้าพันบาท
(ช) งานช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ หนึ่งหมื่นบาท
(ซ) งานเครื่องทําความเย็นและปรับอากาศ หกพันบาท
(ฌ) งานตัดเย็บเสื้อผ้า หกพันบาท
ข้อ ๖ ค่าใช้จ่ายในกระบวนการบําบัดรักษาและการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางาน หากเกินกว่าอัตราที่กําหนดไว้ในข้อ ๔ (๓) ให้นายจ้างจ่ายค่าใช้จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นบาท โดยให้คณะกรรมการการแพทย์หรือคณะอนุกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการการแพทย์มอบหมายเป็นผู้มีอํานาจพิจารณาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ข้อ ๗ ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูตามข้อ ๔ (๔) หากหน่วยใดกระทรวงการคลัง ไม่ได้กําหนดอัตราไว้ ให้คณะกรรมการการแพทย์หรือคณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการการแพทย์ มอบหมายเป็นผู้มีอํานาจพิจารณาตามความจําเป็น เป็นรายกรณี ในกรณีที่ลูกจ้างมีความจําเป็นต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูให้คณะกรรมการการแพทย์หรือคณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการการแพทย์มอบหมายเป็นผู้มีอํานาจพิจารณาความจําเป็นดังกล่าว
ข้อ ๘ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับรวมถึงลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยซึ่งอยู่ระหว่างเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ โดยให้ใช้อัตราค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานตามกฎกระทรวงนี้นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป
ข้อ ๙ คําขอรับค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทํางานที่ได้ยื่นไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้ถือเป็นคําขอตามกฎกระทรวงนี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน