เปิดเพลงจาก Youtube ในร้านค้าอาจเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์! แต่กรมทรัพย์สินฯ แนะเน้นเจรจา เตือนของในเน็ตไม่ใช่ของฟรีทั้งหมด
จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันนี้ (1 ก.ค.) จากกรณีปัญหาเจ้าของร้านกาแฟรายหนึ่ง ถูกเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์เพลง หลังมีการเปิดงานเพลงของศิลปินจากค่ายแกรมมี่ ผ่านยูทิวบ์ในร้าน จนกลายเป็นประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กเพจกรมทรัพย์สินทางปัญญา ก็ออกมาให้ความเห็นถึงกรณีดังกล่าว ว่า การเปิดเพลงในร้านกาแฟ ร้านอาหาร ไม่ว่าจากสื่อใด ๆ เช่น ซีดี ดีวีดี Youtube ถือเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน เพราะอาจเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ กฎหมายลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่ซับซ้อน การอ้างคำพิพากษาศาลฎีกาเดิมนั้นเป็นกรณีเฉพาะคดี และมีรายละเอียดซึ่งไม่อาจปรับใช้ได้กับการเปิดเพลงในร้านอาหารกรณีอื่น ๆ เสมอไป
ดังนั้น กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงให้ความเห็นว่า ฝั่งเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือบริษัทตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจ ควรใช้การเจรจา และวิธีการที่อะลุ่มอล่วยก่อนที่จะใช้วิธีการจับกุมดำเนินคดี เพราะสังคมไทยยังเข้าใจกฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ตรงกัน ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็พึ่งระลึกว่าทุกสิ่งที่อย่างมีเจ้าของ สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต หรือโซเชียลมีเดีย อาจไม่ใช่ของฟรี
“การเปิดเพลงในร้านกาแฟ ร้านอาหาร ไม่ว่าจากสื่อใด ๆ เช่น ซีดี ดีวีดี Youtube ถือเป็นการ #เผยแพร่ต่อสาธารณชน ที่ต้อง #ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน เพราะอาจเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์
และจากฎีกาที่ศาลได้เคยพิพากษา ว่า การเปิดเพลงในร้านอาหารโดยไม่มีการเก็บค่าฟังเพลงด้วยถือว่า ไม่ได้หากำไรจากการเปิดเพลง ย่อมไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ #เป็นฎีกาเฉพาะคดีนั้น ซึ่งมีรายละเอียดข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่อง #ไม่อาจปรับใช้ได้กับการเปิดเพลงในร้านอาหารกรณีอื่น ๆ ได้เสมอไป
#ย่อหน้านี้ก็สำคัญนะครับ
#ฝากถึงเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือบริษัทตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจ ในสังคมไทยเราส่วนใหญ่อาจยังเข้าใจในประเด็นนี้ เพราะกฎหมายลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่ซับซ้อน จึงอยากให้วิธีการคือเข้าไปคุยเข้าไปเจรจา ให้มีการอนุญาตสิทธิ์ก่อน อย่าเพิ่งใช้วิธีการจับกุมดำเนินคดี #ผู้ประกอบการบางรายไม่ทราบ จริง ๆ ก็มีนะครับ ใช้วิธีการที่อะลุ่มอล่วย ก่อนดีกว่า กับภาวะที่คนไทยยังเข้าใจไม่ตรงกันในตอนนี้
สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ใน social media เราอาจจะคิดว่าเป็นของฟรี แต่พึงระลึกไว้เสมอว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีเจ้าของ ซึ่งการใช้ในบางลักษณะจะมีข้อยกเว้น
แต่มีมากมายที่ถือว่าเป็นการละเมิด แต่เราอาจจะคิดว่า ก้ไม่เห็นมีใครมาว่าอะไร เพราะบางครั้งเจ้าของอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย หรือเจ้าของอาจจะคิดว่าถือว่าเป็นการช่วยเผยแพร่” เฟซบุ๊กเพจกรมทรัพย์สินทางปัญญา ระบุ
สวนกระแสดราม่า! ศิลปินพร้อมใจกันโพสต์ อนุญาตฟังเพลงได้ฟรีไม่คิดค่าลิขสิทธิ์
เป็นประเด็นดราม่าติดต่อกันมาหลายวัน สำหรับเรื่องการจัดเก็บลิขสิทธิ์เพลงในร้านค้าต่างๆ หลังจากหนุ่มเมืองแพร่ ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่าถูกจับลิขสิทธิ์หลังเปิดเพลงจากยูทูปในร้านกาแฟของ ตนเองให้ลูกค้าฟัง จนทำให้ถูกจับและปรับ 20,000 บาทนั้น ทำให้กลายเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมมาต่อเนื่องว่า การเปิดเพลงโดยที่ไม่ได้คิดค่าบริการจากลูกค้าในส่วนของเพลงนั้นต้องจ่ายค่า ลิขสิทธิ์หรือไม่ ในขณะที่ผู้ประกอบการก็สะท้อนถึงต้นทุนการทำงานและช่องทางที่ถูกต้องซึ่งควร จะเกิดขึ้นในอุตสาหรรมเพลงไทย
โดยหลังจากเกิดประเด็นการถกเถียงกันก็เริ่มมีศิลปินออกมาประกาศว่าให้ฟัง เพลงได้โดยไม่เก็บค่าลิขสิทธิ์ เช่น วงทีโบน และล่าสุด ก็มีศิลปินรุ่นใหญ่ และศิลปินที่วัยรุ่นชื่นชอบออกมาประกาศด้วยเช่นกัน เช่น เฟซบุ๊ก Lipta ระบุว่า "เรายังไม่ได้เก็บลิขสิทธิ์ค่าเปิดเพลง และไม่มีแผนที่จะทำ บางเพลงก็พยายามลองทำคาราโอเกะให้ไปร้องเล่นกัน อยากให้งานที่เราทำด้วยใจไปสู่คนฟังเยอะ ๆ พร้อมระบุเพิ่มเติมด้วยว่า เพลงของวงที่อยากขอไปร้องไปเล่นกัน บางคนก็ทำจดหมายมาขอไปใช้ แต่อยากบอกไว้ตรงนี้เลยว่าทุกเพลงที่เราแต่ง สามารถนำไปใช้ได้เลย ไม่ได้ใจดีอะไร แต่เวลาเห็นคลิปที่คนเอาไปร้องแล้วมันตื้นตันใจ"
ศิลปินรุ่นใหญ่ เบิร์ดกับฮาร์ท ก็โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กเช่น กันว่า "ผู้ประกอบการธุรกิจที่ไหน ไม่มีเพลงเปิดให้ลูกค้าฟังเพราะกังวลเรื่องลิขสิทธิ์ ก็เอาเพลงของ Byrd & Heart ไปเปิดได้เลยนะครับ ... ไม่มีเจ้าหน้าที่ไปจับ แต่เบิร์ดกับฮาร์ท อาจจะขอไปแจกลายเซ็นต์ถึงที่ #หาฟังได้ตามYoutubeทั่วไป #มีคนอัพไว้เยอะ #ไม่เคยได้ค่าลิขสิทธิ์เลย"
ที่มา ข่าวสดออนไลน์
สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน