วิศวกรเผยฐานรากพระเมรุมาศ "เทคอนกรีต-ใช้โครงทัช" เพิ่มความแข็งแรงพื้นรองรับ
จากประชาชาติธุรกิจ
นายพีระพงษ์ พีรสมบัติ วิศวกรโยธา กลุ่มวิศวกรรม สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร กล่าวว่า ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงเรื่องฐานรากพระเมรุมาศว่าจะรับน้ำหนักได้หรือไม่ เนื่องจากพระเมรุมาศมีความสูงกว่า 50 เมตรนั้น การก่อสร้างพระเมรุมาศครั้งนี้ ใช้วิธีเทพื้นคอนกรีตใต้ดินตรงฐานรากบริเวณที่สร้างพระเมรุมาศ ไม่ได้ปูพื้นสำเร็จรูปเหมือนที่ผ่านมา อีกทั้งที่ฐานรากบุษบกองค์ประธานทั้ง 4 เสา จะมีโครงทัชช่วยตรึงทั้ง 4 เสา เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ป้องกันกรณีที่เกิดลมแรง นอกจากนี้ ยังได้จ้างบริษัทเอกชนเจาะชั้นสำรวจดินเพื่อตรวจสอบการรับน้ำหนักพระเมรุมาศ และผลการตรวจสอบชั้นดิน พบว่ารับน้ำหนักได้ตามที่ออกแบบ ซึ่งออกแบบให้รับน้ำหนักได้ที่ 4 ตันต่อตารางเมตร ขณะที่ชั้นดินสามารถรับน้ำหนักได้ 4 ตันครึ่งต่อตารางเมตร
“ส่วนที่วิศวกรได้กราบบังคับทูลแสดงความเป็นห่วงถึงแรงลมในการติดตั้งม่านสูง 15 เมตร รอบพระเมรุมาศ ว่าเมื่อเจอลมแล้วจะแกว่ง โดยพระองค์พระราชทานคำแนะนำให้หาอะไรตรึงนั้น ในส่วนนี้ทางสถาปนิก สำนักสถาปัตยกรรม ได้ใส่โซ่ซ่อนอยู่ขอบในผ้าม่านยึดกับตัวเสาโครง ป้องกันเวลาที่เกิดลมแรง จะได้ถ่วงน้ำหนัก ไม่แกว่ง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์คำนวณแรงลมต่างๆ เพื่อป้องกันไว้ทุกรณีแล้ว” นายพีระพงษ์ กล่าว
ที่มา มติชนออนไลน์
สุดปราณีต เบื้องหลังการทำงานสร้างประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศสวยสมจริง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หอประติมากรรมต้นแบบ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้เผยแพร่ ภาพระหว่างการปั้นประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศ โดยระบุว่า “ในการปั้นแต่ละรูป ประติมากรจะดูตัวอย่างการนุ่งผ้าแบบเทวดา เพื่อให้ประติมากรได้เห็นรอยผูก รอยมัด รอยริ้วผ้า ชายผ้าที่ห้อย ความงามสง่าท่วงท่าเทพเทวาลักษณะยืน เพื่อประกอบการปั้นให้งานประติมากรรมนั้นสวยเสมือนจริง”
ขอบคุณที่มาจาก หอประติมากรรมต้นแบบ
ที่มา ข่าวสดออนไลน์
สำนักงานสอบบัญชี,#สอบบัญชี,สำนักงานบัญชี,#ทำบัญชี,#ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน