สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วินิจฉัยได้เร็ว หัวใจ (ไม่) วาย

จากประชาชาติธุรกิจ

มีคนเคยเสนอว่า ปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือดน่าจะเป็นวาระแห่งชาติ
อาการหลอดเลือดแข็งตัวตีบตันสามารถเกิด ขึ้นได้ทั่วร่างกายและอันตรายจริง ๆ
เพราะหากเกิดที่สมองก็จะทำให้เป็น อัมพฤกษ์หรืออัมพาต
หากเกิดที่เท้าจะทำให้เท้าเน่าต้องตัด ทิ้ง

หากเกิดที่ไตจะทำให้ไตขาดเลือดเกิดโรค ความดัน  โลหิตสูง
และเมื่อหลอดเลือดแดงที่มาเลี้ยงกล้าม เนื้อหัวใจจะทำให้เกิดอาการหัวใจวาย
เมื่อพลิกดูเห็นตัวเลขผู้ที่เป็นโรคนี้ แล้วต้องบอกว่าเสียวไส้จริง ๆ

มีรายงานจากองค์การอนามัยโลกว่า แต่ละปีมีประชากรกว่า 7.2 ล้านคนทั่วโลก และในประเทศไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจเกือบ 30,000 คนต่อปี
โดยภาวะหัวใจวายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ เกิดการเสียชีวิต ซึ่งจะเกิดขึ้นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ย    ตั้งแต่ 50-60 ปีขึ้นไป ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น แต่ปัจจุบันพบว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายเกิดขึ้นกับคนที่อายุน้อยมากขึ้นตาม ลำดับ

นั่นแปลว่าการคุกคามของโรคนี้นับวันจะ ขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ

′ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย′ หรือที่รู้จักกันว่า ′ภาวะ  หัวใจวาย′ เกิดจากการลดลงอย่างรวดเร็วของปริมาณเลือดและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงหัวใจ ซึ่งเรียกกันว่า ′ภาวะหัวใจ  ขาดเลือด′ เนื่องจากมีการอุดตันของการไหลเวียนเลือดสู่กล้ามเนื้อหัวใจ

นายแพทย์วศิน พุทธารี อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กล่าวว่า ในปัจจุบันแนวทางในการวินิจฉัยและรักษามีวิวัฒนาการให้สามารถตรวจได้เร็ว ด้วยการใช้สารชีวเคมีบ่งชี้ภาวะที่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ อันเป็นสารที่ถูกหลั่งออกมาในกระแสเลือดเมื่อหัวใจเกิดการบาดเจ็บ เพื่อช่วยในการตรวจหา วินิจฉัย ประเมินผล     และ ติดตามผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีภาวะที่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยขณะนี้ได้มีการคิดค้นสารทดสอบไฮเซ็น ซิทีฟ โทรโปนิน ที (high sensitive troponin T) ซึ่ง เป็นการทดสอบโทรโปนิน ที ความไวสูง (troponin T highly-sensitive)/โทรโปนินความไวสูง (highly sensitive  troponin) ในการวินิจฉัยภาวะหัวใจวาย ที่ช่วยให้ตรวจพบและวินิจฉัยได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ การวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นภาวะหัวใจวายก็ต่อเมื่อตรวจพบระดับของสารโทรโปนิ นจากหัวใจ เนื่องจาก     โทรโปนินเป็นส่วนประกอบของ โปรตีนที่ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ และจะถูกหลั่งออกมาในกระแสเลือดเมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย แม้ว่าจะมีการใช้การตรวจหาสารบ่งชี้ภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจตายมานานแล้ว หากแต่ที่ใช้กันอยู่ยังมีความแม่นยำไม่เพียงพอต่อการตรวจหาความเข้มข้นของ สารโทรโปนินในกระแสเลือดตามที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่ามาตรฐานสากลใหม่ โดยจะมีค่าความแปรปรวนน้อยกว่า 10% ณ ระดับของโทรโปนินที่ตรวจวัดได้สูงสุด 99 จาก 100 คนในกลุ่มประชากรที่มีสุขภาพแข็งแรง

สำหรับการทดสอบทำได้โดยเจาะเลือดมาตรวจ ผ่านกระบวนการทดสอบด้วยโทรโปนิน ที ความไวสูงในห้องแล็บใช้เวลาประมาณ 20 นาที แต่ถ้ารวมขั้นตอนการตรวจทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง ซึ่งห้องแล็บจะส่งผลกลับมาว่าได้ค่าเท่าไร การทดสอบด้วย ′โทรโปนิน ความไวสูงนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นวิวัฒนาการใหม่ แต่เป็นการพัฒนาจากเดิมให้สามารถให้ค่าออกมามีความแม่นยำ คือ ไม่ว่าจะใช้ทดสอบกี่ครั้งค่าที่ได้นั้นจะคงที่ โดยในการวินิจฉัยคือถ้าได้ค่าต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ถือว่าไม่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจเลย แต่ถ้าค่าออกมาสูงกว่าที่กำหนดไว้ แสดงว่ามีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดขึ้น′

การทดสอบด้วยวิธีนี้จะสามารถพยากรณ์คน ไข้ได้ว่าอยู่ในภาวะใด และการวินิจฉัยของแพทย์จะไม่อาศัยการทดสอบนี้เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องรวบรวมหลักฐานอื่นประกอบด้วย เช่น อาการของคนไข้ กราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ร่วมด้วย เพราะคนไข้บางส่วนอาจจะขาดเลือดเฉย ๆ แต่กล้ามเนื้อหัวใจไม่เสียหายหรือไม่ตาย

"คนไข้ส่วนหนึ่งที่ขาดเลือดอย่างรุนแรง จนกระทั่งกล้ามเนื้อหัวใจมีความเสียหายหรือตาย โดยกล้ามเนื้อหัวใจที่เสียหายจะมีความเสียหายในระดับที่ต่างกัน คือ อาจจะตายเพียงไม่กี่เซลล์ จนกระทั่งตาย หลายกรัม"

การทดสอบ ′ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย′ ด้วยการตรวจระดับสารโทรโปนิน เพื่อวินิจฉัยแยกให้เร็วและแม่นยำตามค่ามาตรฐานสากลที่กำหนดถือเป็น วิวัฒนาการเพื่อป้องกันไม่ให้หัวใจวายอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจในยุคนี้ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าสำหรับทุกท่าน คือ อย่างน้อยจะต้องตระหนักรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงหรือไม่ เพราะเรื่องการสูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง การไม่ออกกำลังกาย หรือ ความอ้วนล้วนมีความเสี่ยงต่อหัวใจของท่านทั้งนั้น


view